520. ความแตกต่างระหว่าง AI และ Problem Solving


ว่าด้วยความแตกต่างระหว่าง Problem Solving และ Appreciative Inquiry

ผมชอบหนังเรื่อง Pirate of the Caribbean ครับ คาดว่าหลายท่านก็ชอบ ตัวเอกคือกัปตันแจ๊ค สแปร์โร่  ที่มีบุคลิกกวนโอ๊ย แต่ฉลาดเวอร์ โจรสลัดคนนี้ผจญภัยไปสุดขอบโลก พาเราไปเจออะไรที่น่าตื่นเต้นในจินตนาการมากมาย  แน่นอนกับตันแจ็ค มีวลีเด็ดๆกับเขาด้วยคือ

          


"ปัญหาจริงๆแล้วไม่ใช่ปัญหา

จริงๆ แล้วปัญหาคือ

ทัศนคติของคุณที่มีต่อปัญหานั่นเอง

เข้าใจไหม"


คมมากจริงๆ กัปตันแจ๊ค ในฐานะผมทำ Appreciative Inquiry (AI) รู้สึกว่ากับตันแจ๊คเข้าใจ AI เลยละ AI คือศาสตร์ว่าด้วยการค้นหาสิ่งดีๆ ร่วมกันผ่านกระบวนการตั้งคำถามดีๆ เมื่อพบเรื่องดีๆ แล้วก็เอามาขยายผล โดยเราเชื่อว่า “ทุกคน ทุกระบบ มีเรื่องราวดีๆ ซ่อนเร้นอยู่เสมอ”

และลองดูทัศนคติในการมองปัญหาแบบ การแก้ปัญหา (Problem Solving พร๊อพเล่ม โซ๊ลวิ่ง) ในกระแสหลักที่เราเห็นอยู่ทุกวี่วัน กับทัศนคติในการมองปัญหาแบบ Appreciative Inquiry

                                 

Cr: http://www.alchemyformanagers.co.uk/topics/Z9tRKwXUYg6zDmJb.html

ดูภาพข้างบนนี้ครับ

สาย Problem Solving: จะเริ่มจากการ “รู้สึกว่าเรื่องนี้เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข

จากนั้น จะเริ่มทำการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา (Analysis of Causes) จากนั้นเริ่มต้นค้นหาทางออกที่จะเป็นไปได้ (Analysis of Possible Solutions) จากนั้นก็จะวางแผนแก้ไข (Action Planing)

ทัศนคติคือ : องค์กรคือปัญหาที่เราเราต้องแก้

สาย Appreciative Inquiry:  เริ่มจาก การให้คุณค่ากับสิ่งที่มีอยู่ อะไรดีๆ ที่มีอยู่แล้ว ดึงออกมาคิดว่าน่าจะเอาไปทำอะไรดีๆ ให้มากขึ้น (Envisioning เอ็นวิชั่นนิ่ง) จากนั้นมาหารือกันว่า สิ่งที่ควรจะทำคืออะไร (Dialoging ไดอะล๊อกกิ่ง) สุดท้ายมาร่วมสร้างสรรค์กันให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นมาจริงๆ (Innovating อินโนเวตติ้ง)

ทัศนคติคือ : องค์กรมีเรื่องราวดีๆ ที่ซ่อนเร้นอยู่ให้ค้นหาต่อยอดอยู่เสมอ


คุณอาจบอกว่าทางไหนก็ได้เหมือนกัน ลองพิจารณาดูประสบการณ์การให้คำปรึกษาโดยเลือกทัศนคติแบบ Appreciative Inquiry ดูนะครับ

ลูกศิษย์ผมสมัยก่อนทำงานธนาคารขนาดเล็ก

“อาจารย์ครับผมมีปัญหามาก” ทำไมล่ะ “ผมอยู่ธนาคารขนาดเล็กมันจะไปสู้แบ๊งค์ใหญ่ได้อย่างไร ดอกเบี้ยสินเชื่อเขาต่ำกว่า แถมยืดหยุ่นกว่า” ผมไม่รู้จะแก้ปัญหายังไง มันท้าทายเกินไป นี่ครับเมื่อกัปตันท่านนี้เลือกมองปัญหาด้วยทัศนคติแรก ลองมาดูกัปตันแจ๊คครับ กับตันแจ๊คบอกว่า เอ๊าคุณเรียน AI นะ เอาอย่างนี้ลองมาดูสิว่า คุณมีดีอะไร “ผมมีดีอะไรเหรอ อาจารย์”

ผมถามหน่อยตอนนี้คุณว่าคุณเสียเปรียบแบ็งค์อื่น แสดงว่าคุณต้องไม่มีลูกค้าเลย จริงไหม”

“ ตอนนี้มีอยู่ครับ”

“ลองไปถามสิว่า เขามาใช้สินเชื่อคุณด้วยเหตุอะไร”

ไม่นานก็กลับมา

“อาจารย์ครับ ถามไปสี่ห้าคนก็เริ่มรู้ครับ เช่นมีคนหนึ่งบอกว่า”

“...ผมเคยไปขอสินเชื่อแบ็งค์ยักษ์ ขอสินเชื่อ 20 ได้ 15  ล้าน ผมจะเอาไปทำอะไรได้ มาที่แบ็งค์คุณผมได้เต็มวงเงิน”

“อาจารย์ครับ เข้าใจแล้วแต่เดิมผมคิดว่าดอกเบี้ย จริงไม่ใช่มันคือวงเงิน ผมจะไปเน้นวงเงิน”

ว่งแล้วก็วางแผนกับไปดูแต่ก็เจอปัญหาเรื่องความเสี่ยง ก็ประเมินความเสี่ยงกันแบบเข้มข้น แล้วกลับไปหาลูกค้า

ตอนนั้นยอดสินเชื่อสูงกว่าเดิม 6 เท่า

นี่ไงครับวิธีที่ผมเชื่อว่ากัปตันแจ็คคิด (อ๊อ วันนี้ผมลองสวมบทบาทเป็นกับตันแจ๊คดู..ขำๆครับ) สาย AI เรามีทัศนคติต่อปัญหาที่แตกต่างๆไปอย่างสุดขั้วครับ และมันไปคนละทางจริงๆครับ


                   

   Cr: http://business901.com/blog1/appreciative-inquiry-instead-of-problem-solving/


ยกตัวอย่างทัศนคติด้าน Problem Solving นะครับ ล่าสุดมีองค์กรหนึ่งมาคุยกับผม เขาบอกว่าหลังการสำรวจความพึงพอใจลูกค้า ลูกค้าชอบองค์กรนี้ตรงที่ “มีความซื่อสัตย์และความเป็นมืออาชีพ”

ที่ปรึกษาองค์กรนี้บอกว่า เรื่องนี้ไม่ต้องทำอะไร ดีอยู่แล้วเรื่องซื่อสัตย์และมืออาชีพ ไปแก้เรื่องอื่น นี่แหละครับทัศนคติแบบ Problme Solving... แต่ฝั่ง AI จะบอก นี่แหละ ขยายจากเรื่องนี้สิ ตั้งแต่การสร้างวิสัยทัศน์ ค่านิยมองค์กร  KPI คุณสามารถเอามาจากจุดแข็งสองอย่างนี้เลย ยังสามารถคิดไกลกว่านั้นว่าที่นี่เป็นองค์กร ที่ส่งออกค่านิยมเรื่องความเป็นมืออาชีพและความซื่อสัตย์ ตอกย้ำเข้าไป ที่สุดอาจกลายเป็นองค์กร ที่กลายเป็นประทีปของสังคมไทยได้  แถมจะดึงดูดคนดีคนเก่งได้มากกว่า

เอาหล่ะ ลองคุณเองก็ได้ สมมติลูกคุณเก่งคำนวณ แต่ไม่เก่งอังกฤษ ถ้าสาย Problem Solving จะมีทัศนคติว่า องค์กร หรือคนมีปัญหาต้องแก้ ดังนั้นถ้าไม่ถนัดอังกฤษก็ไปแก้ก่อน เคี่ยวเข็ญเข้าไป พยายามไปลูก คณิตศาสตร์เอาไว้ก่อน เพราะเก่งแล้ว ถ้าเป็นผมผมประสาทกินแน่ เพื่อนผมไม่ถนัดภาษาอังกฤษ จำได้เพื่อนผมมันอ่านคำว่าพล็อบเล่ม ว่าพ๊อพเบิ้ม... ผมเก่งอังกฤษกว่ามัน เลยชอบหัวเราะเวลาเพื่อนสะกดภาษาอังกฤษผิดๆ  แต่เพื่อนผมไม่แคร์ครับ มันก็ทำฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ของมัน เพราะชอบมากๆ แก้โจทย์ทุกวัน ภาษาอังกฤษก็เรียนพิเศษประคองๆไปต่อมาเพื่อนจบวิศวะคอมพ์ ลาดกระบัง ตอนนี้เป็นหัวหน้าฝ่ายเขียนโปรแกรมให้บริษัทไมโครซ๊อฟ อเมริกา เขียนจดหมายมาหาผม ผมนี่อายเลย ภาษาอังกฤษมันบรรเจิดมากๆ นี่ไงครับมองแบบ AI อะไรดีๆ ขยายๆ ไมใช่ไปแก้ตรงไม่ดี โดยมองข้ามสิ่งดีๆ ไป 

เพราะสิ่งดีๆ ตามประสบการณ์ของผม มันคือสิ่งตรงข้ามกับสิ่งไม่ดี หรือ “ปัญหา” นั่นเอง ถ้าเราหาเรื่องดีๆ เจอมันก็คือคำตอบของปัญหาที่มีอยู่นั่นเอง ยิ่งหาดีๆ ได้เยอะก็จะเจอทางออก หรือแก้ปัญหาเยอะ...มันคือเหรียญสองด้านนั่นเอง สรุปอยู่ที่เราจะเลือกทัศนะคติไหน ในการแก้ปัญหา ปัญหาจึงไม่ใช่ปัญหา หากแต่อยู่่ที่ทัศนคติในการมองปัญหา จริงอย่างที่กับตันแจ็คพูดไว้ครับ


สำหรับคำคมวันนี้ชาว AI ขอคารวะกัปตันแจ็ค สแปโร่ว์ครับ


Cr: http://best-wallpaper.net/pirates-of-the-caribbean-4-captain-jack-sparrow_1280x1024.html


สำหรับผมวันนี้เพียงเล่าให้ฟัง ลองเอาไปพิจารณาดูนะครับ ขอบคุณครับ  


หมายเลขบันทึก: 530647เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2013 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2013 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ชอบบันทึกนี้ของอาจารย์มากครับ 

  • ปัญหา กับ ปัญญา คู่กันครับ 
  • มาแสดงความยินดีกับท่านอาจารย์ ครับ

บทความในฝันเลยครับ.........เพราะแนวคิดผมค่อนข้างไปทาง Problem Solving หรือ Negative thinking ที่ใช้ค้นหาจุดบกพร่องในการบริหารจัดการองค์กร

อ่านบทความนี้แล้วได้แนวคิดนำ AI ไปร่วมประสม ให้ได้กลยุทธ์การนำเสนอใหม่ ๆ ได้อีกหลายอย่างเลยครับ

ขอรับไปปรับใช้ครับ..........ขอบคุณครับ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท