สิ่งเล็กๆที่เรียกว่า กลยุทธ์การตลาดมหาวิทยาลัย


ต้นทุนไม่แพง แต่จะมาแรงตอนที่แสดงให้เห็นอยู่ทุกวัน

สวัสดีครับ


วันนี้ ผมจะมาเล่าถึงสิ่งเล็กๆที่เรียกว่า กลยุทธ์การตลาดมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปแลกเปลี่ยนกิจกรรมนักศึกษา ม.อ.ปัตตานี กับนักศึกษามหาวิทยาลัยอุตาระมาเลเซีย ในประเด็นอาเซียนและอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

ในช่วงลงทะเบียนเขาได้มอบ ๒ สิ่งให้กับเรา คือ สมุดบันทึกและปากกา ดังภาพที่ปรากฎด้านล่างนี้

สาเหตุที่ผมต้องมาพูดในที่นี้ เพราะมีประเด็นจากพ่อของผมเอง ที่ถามผมว่า ทำไมไม่หยิบมาให้เยอะ มาเลย์เขาชอบที่แจกของแบบนี้ หยิบเพื่อบอกต่อคนอื่น

ผมเลยบอกว่า ตามจริงแล้ว ผมเองก็หยิบเฉยๆนี้ละ ไม่ได้ลงทะเบียนอะไร เพราะเราไม่ใช่นักศึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ เลยใช้อภิสิทธิ์พิเศษหยิบเฉยๆเลย นิสัยดีจังเรา

ที่ฉุกคิดคือ พ่อบอกว่า แล้วเวลานักศึกษาเขามาบ้านเรา เราให้อะไรเขาบ้างที่เป็นลักษณะเช่นนี้

ผมเองก็นึกไม่ออก อาจจะเป็นเข็มกลัดเนกไทบ้าง แก้วบ้าง หรือว่าผมเองจำไม่ได้ว่า ม.อ.ปัตตานีเราก็ให้สมุดปากกาเหมือนกัน

คุยไปคุยมา เลยเอ๊ะใจหนักเขาไปอีกว่า เออ ทำไมมันต้องเป็นสมุดบันทึกและปากกา หรือว่าเขางบน้อย แล้วเขาคิดอะไรอยู่

หรือว่าเราคิดมากไป

หลายๆครั้งที่ผมไปมหาวิทยาลัยต่างประเทศ ผมมักจะมุ่งไปหอสมุดหรือศูนย์หนังสือของมหาวิทยาลัยเสมอ เพื่อดูความเคลื่อนไหวทางวิชาการของเขา ผมมักจะมุ่งเป้าไปที่หนังสือหรือตำราที่ตีพิมพ์ในนามมหาวิทยาลัยนั้นๆเป็น หลัก บ่งบอกว่าเขาสามารถทำเอกสารเป็นเล่มออกมาเป็นทางการอะไรบ้าง และเขาคิดอะไรอยู่

มารอบนี้ ผมได้สมุดบันทึกและปากกามา ก็ต้องมานั่งพิจารณากับพ่อว่า เอ๊ะอันที่ตรงกลางรูปนั้น มันคืออะไรกันแน่ ทำไมต้องเป็นเหมือนดวงอาทิตย์หรือโลหะร้อนๆอะไรสักอย่าง

คุยไปคุยมากับพ่อ ก็ได้ข้อสรุปจากพ่อว่า มันน่าจะเป็นรัศมีแห่งความรู้สู่ชุมชน และอาคารที่เห็นมันดูยิ่งใหญ่มาก ออกแนวมลายู น่าจะเป็นหอประชุม (ขอโทษนะครับ ผมไม่ทราบจริงๆทำการบ้านก่อนไปน้อยมาก ทั้งที่ไปหลายครั้งแล้ว แย่จัง)

ส่วนปากกานั้น พ่อผมก็บอกอีกว่า มาเลย์นี้ชอบใหญ่ๆแบบนี้จัง พ่อผมวิจารณ์ได้นะครับ เพราะท่านเรียนที่นั้นมาตั้งแต่เด็กๆแล้ว ทำให้ผมโดนสอบถามทุกครั้งว่า ซื้อหนังสือมาเลย์ให้พ่อไหม

ทุกท่านทราบไหมครับว่า ไปมาเลย์รอบนี้ ผมไม่ได้ซื้อหนังสือพิมพ์มาเลย์เลย หายากมากเลยรอบนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะหวังน้ำบ่อหน้า หวังเจอหลายหัวสำนักพิมพ์ เพราะปกติจะบริโภคหนังสือพิมพ์ Utusan มากกว่า บอกตรงๆมันสวย เรียบ เนียน และเนื้อหาคมมาก

อ้อ ลืมบอกทุกท่านไป หนังสือพิมพ์ไทยรัฐในมาเลเซียขายดีมากครับ ไม่น่าเชื่อเลย โดยเฉพาะที่ USM ปีนัง ครับ

สุดท้าย เช้านี้ก่อนจะส่งมอบ ผมก็ถ่ายลงสื่อให้เรียบร้อย แล้วมอบให้พ่อผมดำเนินการบันทึกต่อไป ท่านชอบจังบันทึกภาษามลายู อักษรยาวี ผมนี้อดอิจฉาไม่ได้เลย ว่าเขียนทำไมทุกวัน แต่ไม่ได้ตีพิมพ์ นึกๆก็เสียดายไม่หาย

เป็นงัยครับ กลยุทธการตลาดเล็กๆของเขา ที่เราก็ทำกัน แต่เขายังทำอยู่ต่อเนื่องไม่ว่าเหตุผลใดก็ตาม เจาะลึกทุกที่ๆเรานั่งอยู่ ทุกสายตาที่มองผ่าน แ่ค่นี้ก็สามารถยึดความคิดในใจแล้วว่า ต้องไปเรียนต่อที่นั้นให้ได้

ขอขอบคุณ กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยอุตาระมาเลเซียที่ให้การต้อนรับและมอบของที่ระลึกอันมีค่าต่อความคิด

ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 530636เขียนเมื่อ 19 มีนาคม 2013 10:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2013 10:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท