ฉลองอุตสาหกรรมน้ำยางข้น


กิตติยาณีย์/ศูนย์ข่าวหาดใหญ่

สู้เพื่อรวย

 

สัมผัสชีวิตคุณฉลอง เตชะภัทรกุล

ชีวิตนี้ต้องสู้กว่าจะมาเป็นฉลองอุตสาหกรรมน้ำยางข้น

 

 

ไม่บ่อยนักที่เราจะได้เข้าไปพูดคุยกับเจ้าของโรงงานขนาดใหญ่ โดยเฉพาะบ้างโรงงานนั้นไม่เปิดโอกาสให้สื่อเข้าไปด้วยซ้ำ แต่ครั้งนี้ถือว่าโชคดี เพราะหลังจากเจอคุณฉลอง เตชะภัทรกุล ในงานสวดมหาชาติที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลาก็ได้แนะนำตัวตั้งใจว่าจะขออนุญาตเข้าเยี่ยมชมโรงงานและสัมภาษณ์ถึงที่มาธุรกิจ

ก็บริษัท ฉลองอุตสาหกรรมน้ำยางข้น จำกัด ภายใต้การบริหารงานของ คุณฉลอง เตชะภัทรกุล นักบริหารผู้มีวิสัยทัศน์กว้างไกลท่านนี้ถือว่าเป็นโรงงานน้ำยางข้นรายแรกของจังหวัดสงขลาเลยก็ว่าได้  เริ่มดำเนินธุรกิจด้วยทุนจดทะเบียนเพียง 10 ล้านบาท และปัจจุบันเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 50 ล้านบาท บนเนื้อที่กว่า 200 ไร่ ปัจจุบันบริษัทแห่งนี้สามารถส่งออกยางแท่งและน้ำยางข้น กว่าร้อยละ 80 ไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ประเทศในทวีป อเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ถือว่าไม่ธรรมดา!!

บรรยากาศแรกต้องบอกว่าประทับใจกับสวนภายในบ้านซึ่งจัดได้โดนใจสำหรับคนชอบน้ำตก และสายน้ำ โดยเฉพาะในช่วงที่ภาคใต้ฝนตกหนักแบบนี้ดูเหมือนธรรมชาติยิ่งกว่าสร้างสรรค์ด้วยมือจริงๆ คุณฉลองเล่าให้เราฟังหลังจากเราไปถึงตัวบ้านว่าตัวท่าน ตนเองเป็นคนจะนะ จบประถมที่โรงเรียนศรีนครและต่อมาไปเรียนด้านบัญชีจบที่โรงเรียนเอกชนบีบุนนาค หลังโรงแรมเจ.บี แต่ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้ไม่มีแล้ว

        ครอบครัวนั้นไม่ได้ร่ำรวยอะไร พ่อแม่ทำอาชีพยี่ปั๊วรับซื้อยางหลังจากจบ ปี 2503 ก็ทำงานทำหมดมาตั้งแต่ขายผลไม้ ขับรถบรรทุก รับจ้างขนยาง หลังจากมาช่วยงานพ่อแม่ และช่วยงานพี่ชายรับซื้อยาง  ก็ทำเรื่องยางมาตลอด  จนกระทั่งมาหยุดทำสวนยางของที่บ้านอยู่พักหนึ่ง

        หลังจากนั้นก็ได้กลับมาทำร้านรับซื้อยางเองนช่วงนี้ไม่มีต้นเวลาวิ่งรับซื้อยางก็ต้องวิ่งหยิบยืมเงิน คนรู้จัก บ้างครั้งไปซื้อยางเจ้าของสวนก็ขอให้เราช่วยจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างไปก่อน เมื่อขายได้แล้วก็มาจ่ายเจ้าของสวน ซึ่งคนสมัยนั้นอัธยาศัยน่ารัก ช่วยเหลือกันและกัน ทำอยู่ประมาณ 5 ปี  ด้วยความที่เราต้องสู้เมื่อได้เงินมาแล้วก็เก็บหอบรอมริบ

        ต่อปี ปี 2529 เพื่อมาชวนทำโรงงานน้ำยางข้นก็ลงทุนไป 5 ล้านบาท ส่วนหนึ่งก็เป็นเงินเก็บอีกส่วนก็เป็นเงินกู้จากธนาคาร เริ่มต้นทำธุรกิจซื้อเครื่องปั่นน้ำยางมา 5 ตัว จากไม่รู้อะไรทำให้ต้องเรียนรู้งานทุกอย่างด้วยตนเอง และโชคดีหน่อยว่าในเรื่องการติดต่อประสานงานกับลูกค้า ได้ภรรยา คือคุณลัดดาวัลย์ ซึ่งเป็นอาจารย์ที่วิทยาลัยเทคนิคเข้ามาช่วยในเรื่องเอกสาร  ซึ่งเขาเก่งเรื่องภาษา ในตอนแรกก็ซื้อที่ดินไป 16 ไร่

        ทำในช่วงแรกชาวบ้านก็บ่อนว่าโรงงานปล่อยน้ำเสียเหม็น ต่อมาทำให้เราเห็นว่า บ่อบำบัดน้ำเสียจำเป็นก็เลยซื้อที่ดินข้างหลังซึ่งเจ้าของที่ดินขายให้จนปัจจุบันมีที่ดิน 200 ไร่  มีเครื่องปั่นน้ำยาง 30 ตัว และมีเตาอบยาง 2 เตา

        คุณฉลองเล่าต่อว่าในการทำธุรกิจนี้ต้องใช้เงินหมุนเวียนค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องซื้อน้ำยางใหม่ทุกวัน และเมื่อราคาน้ำยางผันผวนโรงงานได้รับผลกระทบมากเพราะสินค้าที่ส่งให้กับต่างประเทศเป็นราคาที่ตกลงกันล่วงหน้า บ้างปีส่งมอบยางให้ลูกค้าขาดทุน40-50 ล้านบาท แต่ก็ต้องยอม เพราะลูกค้านั้นติดต่อกันมาตั้งแต่เริ่มตั้งโรงงาน เรานั้นไม่เบี้ยวลูกค้า แต่ลูกค้ามีเหมือนกันที่เบี้ยวเรา

        ขณะเดียวกันธนาคารเจ้าหนี้ไม่เข้าใจทำให้การทำธุรกิจต้องชะลอ บ้างครั้งก็ถึงชะงัก เพราะไม่ยอมปล่อยสินเชื่อปัจจุบันเปลี่ยนการใช้บริการมาถึง3 ธนาคารแล้ว การทำธุรกิจของเราเป็นลักษณะเอากำไรมาลงทุนต่อ แต่เงินหมุนเวียนก็สูง และค่อนข้างจะไม่นิ่ง อย่างยางกิโลกรัมละ 160 บาทจากเดิมที่เราเคยลงทุน 80-90 บาทก็เพิ่มขึ้นสูงมากเกือบเท่าตัวเป็นต้น สถานการณ์ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

        เมื่อถามถึงวิกฤติชีวิตคุณฉลองบอกว่าน่าจะเป็นช่วงปี 2532-2533 ตอนนั้นส่งมอบยางซื้อแพง แต่ส่งมอบราคาต่ำกว่าขาดทุนไปถึงกับต้องหยุด และในช่วงนั้นเราเพิ่งนำเข้าเครื่องจักรอีก 7 ตัวเข้ามา  เครียดแต่ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร คิดแต่ว่านอนให้หลับผ่านพ้นไปแต่ละคืนๆไป รุ่งขึ้นวันใหม่ค่อยแก้ปัญหา และได้บทเรียนได้ประสบการณ์  และในที่สุดสถานการณ์เลวร้ายนั้นก็ผ่านพ้นไป เพราะเราไม่ท้อเดินไปข้างหน้า

ปี 2538 ในช่วงนั้นมีทุนจากอินโดนีเซียและมาเลเซียมาชวนทำโรงงานถุงมือยางมาดูทำเลที่ตั้งโรงงานแล้ว แต่ก็ต้องพับโครงการไปเพราะปี 2540 เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ฉลองน้ำยางข้นก็เดินหน้ามาเรื่อยๆ เมื่อถามถึงหุ้นส่วนคุณฉลองบอกว่าเมื่อทำมาสักพักหนึ่งหุ้นส่วนมองว่าไม่ได้เข้ามามีส่วนในการดูแล เพราะเขาไม่มีเวลาก็เลยขายหุ้น เราก็ซื้อมาตั้ง 2 บริษัท

มาถึงวันนี้คุณฉลองบอกว่าภาคภูมิใจในการสร้างธุรกิจ เพราะไม่เคยคิดเลยว่ามาถึงวันนี้จะกลายเป็นโรงงานใหญ่ปัจจุบันมีกำลังผลิตอยู่ที่ 200-300ตันต่อวัน และได้ส่งมอบกิจการต่อให้กับคุณอภิชาตลูกชายสานต่อ ซึ่งคุณอภิชาตซึ่งนั่งอยุ่ไกล้ๆ ก็บอกกับเราว่านอกจากสานต่อธุรกิจแล้วก็อาจจะแตกไลน์ธุรกิจเพิ่มเข้ามาในเร็วๆนี้ซึ่งกำลังศึกษาอยู่และก็เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับยาง

ก่อนจากกันคุณฉลองพาเราไปดูโรงงาน บอกย้ำว่าในการทำธุรกิจปรัชญาที่ตนเองยึดมาตลอดชีวิตคือซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน และทำงานกินกำไรน้อยๆ แต่ทำให้มาก จะดีกว่าทำกำไรมากๆ แต่ของน้อย ตรงนี้เราจะได้ใจลูกค้า และเพื่อนคู่ค้า

ภายในโรงงานช่วงฝนตกน้ำยางเข้ามาในโรงงานน้อย เสียดายไม่ได้เห็นกระบวนการทำงานเต็มรูปแบบ แต่ทว่าเราได้เห็นว่าน้ำยางข้นที่ฉลองส่งออกนั้นมีสต็อกไว้อยางเพียงพอ และยางแท่งที่จะต้องส่งมอบลูกค้าในช่วงเดือนฝนตกก็มีอย่างเพียงพอ นี่คือคำมั่นระหว่างฉลองกับลูกค้า การวางแผนล่วงหน้า ไม่ขาดแคลนวัตถุดิบยากวิกฤติมาถึง

        ก่อนจบการสัมภาษณ์คุณฉลองบอกกับเราว่าต้นปี 2555 จะเพิ่มการลงทุนอีก 50 ล้านบาท ขยายพื้นที่เตาเผาซึ่งสั่งเข้ามาอีก 2 หัวในเนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ ยางราคาตกจริงหรือไม่ จะแย่ขนาดไหน แต่คุณฉลองบอกว่ากำลังซื้อในตลาดต่างประเทศยังมี และมั่นใจว่าจะดีขึ้นหลังจากนี้ และเชื่อมั่นว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ถูกน้ำท่วมสำหรับนักธุรกิจไทยจะฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

 

สถานที่: สงขลา

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/892/332/original_SAM_2418.JPG?1363604798

http://cdn.gotoknow.org/assets/media/files/000/892/335/original_SAM_2433.JPG?1363604807

คำสำคัญ (Tags):
หมายเลขบันทึก: 529373เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2011 12:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2011 07:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท