ผึ้งพันธุ์


ผึ้งที่นำเข้าจากต่างประเทศไม่มีอยู่ในเอเซีย

ผึ้งพันธุ์  ผึ้งที่ต่างประเทศไม่มีอยู่ในเรานำเข้าจากเอเซีย เป็นผึ้งที่มีในยุโรป และอเมริกา มีขนาดใหญ่กว่าผึ้งโพรงแต่เล็กกว่าผึ้งหลวง ลักษณะการดำรงชีวิตเหมือนผึ้งโพรง คือจะทำรังในที่มืด แต่เนื่องจากผึ้งพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่าผึ้งโพรง จำนวนประชากรมีจำนวนมากถึง 40,000 - 60,000 ตัวต่อรัง อุปนิสัยไม่ดุไม่ทิ้งรัง และมีการจัดการที่ดี ตลอดจนมีการศึกษาชีววิทยา พฤติกรรมของผึ้งพันธุ์อย่างละเอียด และมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยทำให้การเลี้ยงผึ้งพันธุ์ประสบความสำเร็จ ให้ผลตอบแทนที่คุ้มกว่าถึงแม้จะต้องลงทุนสูง
ผึ้งพันธุ์ที่อุตสาหกรรมการเลี้ยงผึ้งที่นิยมเลี้ยงกัน คือ 1. ผึ้งพันธุ์อิตาเลียน (Apis mellifera ligustica Spin) เป็นผึ้งตัวสีเหลือง พบครั้งแรกที่ประเทศอิตาลี รูปร่างอวบอ้วนกว่าผึ้งโพรงไทย แต่เล็กกว่าผึ้งพันธุ์สีดำที่มีอยู่ในประเทศเยอรมันเล็กน้อย ส่วนท้องค่อนข้างเรียว ช่วงท้องมีแถบสีเหลือง หรือสีทอง ขนตามตัวสีทอง จะเห็นเด่นชัดในผึ้งตัวผู้ นิสัยเชื่อง ปรับตัวได้เก่ง ให้ผลผลิตสูง แต่ใช้น้ำผึ้งเลี้ยงดูตัวอ่อนมากกว่าผึ้งพันธุ์สีดำ เป็นที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก มีชื่อพันธุ์ที่ได้รับการปรับปรุงในแต่ละประเทศ เช่น พันธุ์อเมริกัน พันธุ์ไต้หวัน พันธุ์ญี่ปุ่น พันธุ์ออสเตรเลีย 2. ผึ้งพันธุ์คาร์นิโอลาน (Apis mellifera carnica Pollman) เป็นผึ้งพันธุ์สีน้ำตาล ถิ่นกำเนิดของผึ้งพันธุ์นี้อยู่ทางตอนใต้ของออสเตรเลีย เมืองคาร์นิโอลาน และทางเหนือบอลข่านของยูโกสลาเวีย ตลอดจนตามบริเวณฝั่งแม่น้ำดานูบที่ไหลผ่าน ฮังการี่ รูมาเนีย บัลแกเรีย ผึ้งพันธุ์นี้เชื่องกว่าผึ้งพันธุ์อิตาเลี่ยน ไม่ตื่นตกใจง่าย เพิ่มจำนวนประชาชนได้ดี ไม่ค่อยแบ่งแยกรัง ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพดินฟ้าอากาศได้รวดเร็ว ไม่ชอบเข้าไปแย่งน้ำฝึ้งจากรังอื่น ลำตัวค่อนข้างเล็กเพรียว สีน้ำตาลขนที่ปกคลุมมักสั้น ส่วนหลังช่วงท้องผึ้งงาน มีจุดน้ำตาลเข้ม หรือน้ำตาลอ่อนส่วนผึ้งตัวผู้มีขนสีเทาและเทาปนน้ำตาล 3. ผึ่งพันธุ์คาเคเชียน (Apis mellifera caucasica Gorb) มีถิ่นกำเนิดเทือกเขาคอร์เคเชี่ยนในรัสเซีย เป็นผึ้งงานมีจุดสีน้ำตาลกระจายอยู่บนส่วนหลังของช่วงท้องปล้องแรก มีจุดน้ำตาลเข้มหรือสีน้ำตาล ขนสีเทาปนน้ำตาล ตัวผู้มีขนที่อกสีดำ ยาว 7.2 เมตร เป็นผึ้งที่เชื่องมากไม่ตกใจง่าย ชอบเก็บสะสมยางให้มากกว่าผึ้งอื่น ๆ ทำให้เหนียวเหนอะหนะยากต่อการยกคอนออกมาตรวจดู และชอบเข้าไปแย่งน้ำผึ้งจากรังอื่น 4. ผึ้งพันธุ์สีดำ (Apis mellifera mellifera L.) มีถิ่นกำเนิดในตอนเหนือของยุโรป และทางตะวันตกของเทือกเขาแอลป์กับรัสเซียตอนกลาง ลำตัวมีสีดำ มีจุดสีเหลืองอยู่ทางด้านหลังของช่วงท้องปล้องที่ 2, 3 ไม่มีแถบสีเหลือง บั้นท้ายของช่วงท้องของผึ้งงานมีขนยาวปกคลุมอยู่บนหลัง ตัวผู้มีขนสีน้ำตาลเข้มปกคลุมอยู่ตามส่วนอก บางทีเห็นเป็นสีดำ มีลิ้นสั้นเพียง 5.7 - 6.4 มิลลิเมตร เป็นผึ้งที่ทนทานต่อสภาพอากาศหนาว และแห้งแล้ง ให้ผลผลิตปานกลาง ไม่ดุร้าย แต่เพิ่มประชากรได้ช้า การนำผึ้งพันธุ์มาเลี้ยงในประเทศไทยหลาย ๆ พันธุ์ทำให้เกิดการผสมข้ามพันธุ์ เช่น ผึ้งพันธุ์สีเหลือง ผสมกับพันธุ์สีดำ ผึ้งพันธุ์สีดำผสมกับพันธุ์สีน้ำตาล ลูกผสมจึงมีรูปร่าง สีสัน ลักษณะนิสัยแตกต่างกันออกไป และเป็นลูกผสมมีหลาย ๆ ชื่อออกไป เพื่อให้ได้ผึ้งพันธุ์ที่มีลักษณะรูปร่างอวบอ้วนมากขึ้น ไม่ตื่นตกใจง่าย ให้ผลผลิตสูง มีความต้านทานโรคและทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศ  

หมายเลขบันทึก: 52566เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2006 13:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สงสารจังไม่มีใครมาเยี่ยมชมเลย

อยากรู้จังว่าผึ้งมีกี่ชนิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท