Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

พื้นที่การเรียนรู้เรื่องกฎหมายแรงงานข้ามชาติในบริบทอาเซียนที่กระทรวงแรงงาน


พื้นที่การเรียนรู้กฎหมายว่าด้วยการทำงานคนต่างด้าวภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกระทรวงแรงงาน

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

บันทึกการทำงานภายใต้โครงการทบทวนกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกระทรวงแรงงาน

เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=10151548384903834

----------------------------------------------------

ตั้งแต่วันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ พื้นที่การเรียนรู้กฎหมายว่าด้วยการทำงานของคนต่างด้าวในบริบทอาเซียนได้ถูกสร้างขึ้นที่กระทรวงแรงงานภายใต้ “โครงการทบทวนกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” ภายใต้ความร่วมมือระหว่างคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกระทรวงแรงงาน โดยมีเป้าหมาย ๖ ประการ กล่าวคือ (๑) เพื่อทบทวนกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยเกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ อันจะทำให้ทราบถึงทั้งโอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (๒) เพื่อตรวจสอบสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติเพื่อจัดการปัญหา อุปสรรค และผลกระทบที่จะมีต่อแรงงานข้ามชาติ และประเทศไทย (๓) เพื่อทบทวนพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งผูกพันประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี (๔) เพื่อสร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาควิชาการและภาคปฏิบัติในเรื่องการจัดการแรงงานข้ามชาติอาเซียน อันที่จะนำไปสู่เวทีระดมสมองเมื่อต้องการจัดการปัญหาหรือโอกาสในเรื่องดังกล่าว (๕) เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ให้แก่ผู้ร่วมโครงการ โดยเฉพาะนักศึกษา ผู้ปฏิบัติงานทั้งในภาคราชการและภาคเอกชนที่ร่วมงาน และ (๖) เพื่อสร้างฐานข้อมูลด้านกฎหมาย นโยบาย และกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแรงงานข้ามชาติอาเซียน ตลอดจนภูมิปัญญาในการจัดการความมั่นคงทางแรงงานในบริบทของประชาคมระหว่างประเทศ

ผู้รับผิดชอบโครงการมีอยู่ ๕ คน กล่าวคือ (๑) รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร รองศาสตราจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (๒) ผศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (๓) อ.ดร.ชาติชาย เชษฐสุมน อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (๔) อ.ดร.รัชนีกร ลาภวณิชชา อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ (๕) นายอนุสรณ์ ไกรวัตนุสสรณ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรี กระทรวงแรงงาน

ส่วนเลขานุการโครงการฯ ประกอบด้วยนักศึกษาปริญญาโทจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒ คนและข้าราชการจากกระทรวงแรงงาน ๑ คน อันได้แก่ (๑)  นางสาวพวงรัตน์ ปฐมสิริรักษ์ ผู้ช่วยทางวิชาการ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักศึกษาปริญญาโทสาขากฎหมายระหว่างประเทศ และ (๒) นางสาวศิวนุช สร้อยทอง ผู้ช่วยทางวิชาการ ผศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนักศึกษาปริญญาโทสาขากฎหมายอาญา และ (๓) ร.อ.กานต์ ตระกูลสม นิติกร สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน กระทรวงแรงงาน

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมการทบทวนกฎหมายและนโยบายมาจากบุคคลที่เกี่ยวข้อง ๓ กลุ่ม กล่าวคือ  (๑) บุคคลในภาควิชาการที่สนใจศึกษาการข้ามชาติของแรงงานและประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะคณาจารย์และนักวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนนักศึกษาปริญญาโท ตรี และเอกที่ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (๒) บุคคลในภาคราชการที่สนใจศึกษาปัญหาดังกล่าว และ (๓) บุคคลในภาคประชาสังคมที่สนใจศึกษาปัญหาดังกล่าว

สถานที่ประชุมทบทวนกฎหมายและนโยบาย ก็คือ ห้องประชุมของกระทรวงแรงงาน

การประชุมทำมาแล้ว ๔ ครั้ง อันได้แก่ (๑) ในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. (๒) ในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕ เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๓๐ น. (๓) ในวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๗.๓๐ น.  และ (๔) ในวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๗.๓๐ น. ครั้งที่ ๕ นั้นคงต้องรอการหารือกันต่อไป

ผลที่คาดว่าจะได้รับมี ๕ ประการ กล่าวคือ (๑)  ทราบและเกิดความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับกฎหมายและนโยบายของรัฐไทยว่าด้วยเรื่องแรงงานข้ามชาติ อันจะทำให้ทราบถึงทั้งโอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ตลอดจนเกิดแนวทางในการปฏิรูปกฎหมายที่จำเป็น (๒) ทราบและเกิดความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยเรื่องของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งผูกพันประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี (๓) ทราบถึงสถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติและสามารถจัดการปัญหา อุปสรรค และผลกระทบที่จะมีต่อแรงงานข้ามชาติ และประเทศไทยได้ (๔) เกิดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาควิชาการและภาคปฏิบัติในเรื่องการจัดการแรงงานข้ามชาติอาเซียน อันที่จะนำไปสู่เวทีระดมสมองเมื่อต้องการจัดการปัญหาหรือโอกาสในเรื่องดังกล่าว (๕) เกิดนักวิชาการทั้งในภาควิชาการ ภาคราชการ และภาคเอกชนที่มีศักยภาพด้านวิชาการนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ และ (๖) เกิดฐานข้อมูลด้านกฎหมาย นโยบาย และกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการแรงงานข้ามชาติอาเซียน ตลอดจนภูมิปัญญาในการจัดการความมั่นคงทางแรงงานในบริบทของประชาคมระหว่างประเทศโดยเฉพาะในบริบทของประชาคมอาเซียน

แหล่งงบประมาณในการทำงานมาจาก ๓ แหล่งทุน กล่าวคือ (๑) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (๒) กระทรวงแรงงาน และ (๓) กองทุนศาสตราจารย์คนึง ฦๅไชย คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

------------------------------------------------------

พื้นที่แลกเปลี่ยนบน facebook

https://www.facebook.com/archanwell/posts/10151546166046425 

-----------------------------------------------------

การประชุมครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๕

-----------------------------------------------------------------------
การประชุมครั้งที่ ๒ เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๕

---------------------------------------------------------------------------
การประชุมครั้งที่ ๓ เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๕

--------------------------------------------------------------------------------
การประชุมครั้งที่ ๔ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖

-------------------------------------------------------------------------------
การประชุมครั้งที่ ๕ - รอการนัดต่อไปค่ะ 
หมายเลขบันทึก: 523513เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2013 18:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2013 19:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท