สังเคราะห์งานวิจัย เรื่องที่ 1


นาย ศราวุธ  อยู่เกษม4814030625

ชื่อเรื่องงานวิจัย :ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดปทุมธานี                           

The Effectiveness of Health Education Program for the Health Promotion in Hypertension Elderly Patient Pathum Thani Province.

ผู้วิจัย : พรทิพย์  ธีรกาญจน์

แหล่งที่พิมพ์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2544 

 

หัวข้อ รายละเอียด
Research objectiveวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาในการส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ในปทุมธานี
วัตถุประสงค์เฉพาะ เพื่อศึกษาประเด็นสำคัญที่ชี้ให้เห็นประสิทธิผลโปรแกรมสุขศึกษาดังต่อไปนี้
1.       การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการได้รับโปรแกรมสุขศึกษา
1.1    ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง
1.2    การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ
1.3    การรับรู้ผลจากการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
1.4    การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของผู้สูงอายุ
1.5    ทัศนคติต่อการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ
1.6    ความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
1.7    แรงสนับสนุนทางสังคม
1.8    พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
2.       ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ผลของการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง กับพฤติกรรมส่งเสริมการดุแลสุขภาพตนเอง
3.       ศึกษาความสัมพันธ์ปัจจัยทางชีวสังคมกับพฤติกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
4.       ศึกษาปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง
Research Designรูปแบบการวิจัย / ระดับของงานวิจัย  Quasi Experimental Research ( ระดับIII )
Sampleกลุ่มตัวอย่าง ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยการเลือกแบบเจาะจง Purposive Sampling แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อย่างละ 30 คน
Research Instrumentsเครื่องมือที่ใช้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่-          ลักษณะทางชีวสังคม(เพศ อายุ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยของครอบครัวต่อเดือน ระดับการศึกษา อาชีพปัจจุบัน ระยะเวลาที่เป็นโรค การเข้ารับบริการที่สถานบริการสาธารณสุข การได้รับข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ และการเข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน)-          ข้อมูลความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุเป็นแบบสัมภาษณ์ที่ให้เลือกตอบถูก-ผิด ไม่ทราบ ไม่แน่ใจ จำนวน 18 ข้อ โดยมีค่าคะแนนระหว่าง 0-18 คะแนน  มีค่าความเชื่อมั่นที่ตรวจสอบความตรง Validity = 0.740-          ข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ถึงผลของการปฏิบบัติตัวที่ถูกต้อง มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า Rating Scale มี 3 ตัวเลือก เห็นด้วย ไม่แน่ใจ ไม่เห็นด้วย ข้อคำถามมีลักษณะทางบวกและทางลบ จำนวน 28 ข้อ มีคะแนนอยู่ในช่วง 0-28 คะแนน มีค่าความเชื่อมั่นที่ตรวจสอบความตรง Validity = 0.861-          ข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติต่อการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ความเชื่อ ความรู้สึกนึกคิดในด้านสุขภาพของตนเองต่อโรคความดันโลหิตสูง ลักษณะแบบสัมภาษณ์เป็นแบบประมาณค่า Rating Scale ประโยคบอกเล่า 18 ข้อ แต่ละประโยคมีมาตราวัด 6 หน่วย มีช่วงคะแนนระหว่าง 18-108 คะแนน คะแนนสูงแสเงว่ามีทัศนคติที่ดีต่อการส่งเสริมสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นที่ตรวจสอบความตรง Validity = 0.857-          ข้อมูลด้านความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง มีลักษณะของแบบสัมภาษณ์เป็นแบบมาตราประมาณค่า Rating Scale ประโยคบอกเล่า จำนวน 15 ข้อ แต่ละประโยคมีมาตราวัด 6 หน่วย มีช่วงคะแนนระหว่าง 15-19 คะแนน มีค่าความเชื่อมั่นที่ตรวจสอบความตรง Validity = 0.833-          ข้อมูลด้านแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง สิ่งสนับสนุนจากบุตรหลาน สามีหรือภรรยา สมาชิกในครอบครัว เจ้าหน้าที่สาธารณสุข เพื่อนบ้าน ลักษณะของแบบสอบถามเป็นแบบประมาณค่า Rating Scale ประโยคบอกเล่าจำนวน 15 ข้อ แต่ละประโยคมีมาตราวัด 6 หน่วย มีช่วงคะแนนระหว่าง 15-90 คะแนน มีค่าความเชื่อมั่นที่ตรวจสอบความตรง Validity = 0.611-          ข้อมูลด้านพฤติกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเอง ลักษณะแบบสัมภาษณ์ Rating Scale จำนวน 20 ข้อ แต่ละประโยคมีมาตราวัด 6 หน่วย มีช่วงคะแนนระหว่าง 20-120 คะแนน มีค่าความเชื่อมั่นที่ตรวจสอบความตรง Validity = 0.871 ส่วนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในโปรแกรมสุขศึกษา เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะภายในตัวบุคคลที่คาดว่าจะส่งผลต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง-          องค์ประกอบด้านเนื้อหาความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ถึงผลของการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ทัศนคติต่อการส่งเสริมสุขภาพ ความคาดหวังในผลดีของการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง แรงสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการส่งเสริมการดุแลสุขภาพตนเอง-          องค์ประกอบด้านกระบวนการ เน้นการใช้กระบวนการกลุ่มและการสนับสนุนทางสังคมได้แก่ กระบวนการเสริมสร้างความรู้ การรับรู้ และทัศนคติ โดยการอภิปรายกลุ่ม การบรรยายประกอบสื่อ สไลด์ วีดีทัศน์ การอภิปราย การสาธิต การใช้สื่อเสมือนจริง การสนทนากลุ่มย่อย การใช้ต้นแบบที่เป็นบุคคลจริงที่ดี-          สื่อ/อุปกรณ์ ได้แก่ สมุดบันทึกสุขภาพประจำตัวผู้สูงอายุ คู่มือการดุแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ลไลด์เรื่องโรคความดันโลหิตสูง การดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ-          กระบวนการกระตุ้นเตือน โดยการใช้จดหมายกระตุ้นเตือนผู้สูงอายุและบุคคลในครอบครัว ร่วมกับการใช้บัตรเชิญมารับการตรวจสุขภาพในแต่ละสัปดาห์การรับรู้ทั้ง 3 ด้านโดยรวมได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ผลในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง เกณฑ์การให้คะแนนตอบเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ไม่แน่ใจ (1,0,0 ตามลำดับ) เกณฑ์ในการพิจารณาให้คะแนนระดับความรู้ มีความรู้ระดับสูง ได้คะแนนในช่วงระหว่าง 75.01 – 100.00 %  มีความรู้ระดับปานกลาง ได้คะแนนในช่วง 50.01-75.00%  มีความรู้ระดับต่ำ ได้คะแนนในช่วง 0.01-50.00 %
Research setting สถานีอนามัยคลองสี่ หมู่ 6  ตำบลคลองสี่  อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
Method / Contentระเบียบวิธีวิจัย โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดปทุมธานี จัดทำในรูปแบบการสอน 3 ครั้ง  แต่ละครั้งห่างกัน 1  สัปดาห์ และเก็บข้อมูลแบบสอบถามก่อนการทดลอง และสิ้นสุดการทดลองครั้งที่ 3 และติดตามการเยี่ยมบ้านต่อจากนั้นอีก 6 สัปดาห์ ดังนี้ ครั้งที่ 1   โดยการบรยายประกอบสไลด์เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นครั้งที่ 2   โดยการเสนอต้นแบบบุคคลจริงจากผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง และการใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นครั้งที่ 3   โดยการสาธิตจากอุปกรณ์ต่างๆและสื่อการสอน สไลด์ วีดีทัศน์ การออกกำลังกาย และการใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น สรุปการทำกิจกรรมกลุ่มทั้งโครงการ และกิจกรรมอำลา
Data collectionการเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บข้อมูลทั้งหมด 3 ครั้ง แบ่งเป็นครั้งที่ 1 ก่อนการใช้โปรแกรมสุขศึกษา ครั้งที่ 2  หลังจากการให้สุขศึกษาครั้งที่ 3 และครั้งที่ 3 หลังจากครั้งที่ 3 โดยมีการติดตามเยี่ยมบ้านในอีก 6 สัปดาห์ต่อมา
Research findingsผลการวิจัย 1.       การรับรู้ของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ภายหลังได้รับโปรแกรม คะแนนอยู่ในระดับสูงร้อยละ 80  2.       ระดับความรู้ของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง  หลังทดลองอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 53.3 ระดับสูงร้อยละ 40 ระดับต่ำร้อยละ 6.7  อีก  6 สัปดาห์ต่อมา ระดับสูงร้อยละ 38.7 ระดับปานกลางร้อยละ 48.4 ระดับต่ำร้อยละ  12.93.       การรับรู้ทั้ง 3 ด้านโดยรวมได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ผลในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ภายหลังได้รับโปรแกรมสุขศึกษาอยู่ในระดับสูงร้อยละ 93.5 4.       ความคาดหวังในผลต่อการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง หลังได้รับโปแกรมสุขศึกษา มีคะแนนอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 83.3  ระดับต่ำร้อยละ 16.75.       แรงสนับสนุนทางสังคมของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงหลังได้รับโปรแกรม มีระดับคะแนนอยู่ในระดับสูงร้อยละ 70  6.       พฤติกรรมส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง ภายหลังได้รับโปรแกรม ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการปฏิบัติมากที่สุดอยู่ในระดับสูงร้อยละ 76.7  
การสกัดเพื่อการนำไปใช้  จากผลการวิจัยครั้งนี้เกี่ยวกับโปรแกรมสุขศึกษาเพื่อส่งเสริมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง จัดทำในรูปแบบการสอน 3 ครั้ง  แต่ละครั้งห่างกัน 1  สัปดาห์ และเก็บข้อมูลแบบสอบถามก่อนการทดลอง และสิ้นสุดการทดลองครั้งที่ 3 ครั้งที่ 1   โดยการบรยายประกอบสไลด์เกี่ยวกับความรู้เรื่องโรคความดันโลหิตสูง และการใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นครั้งที่ 2   โดยการเสนอต้นแบบบุคคลจริงจากผู้สูงอายุที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงและการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้อง และการใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็นครั้งที่ 3   โดยการสาธิตจากอุปกรณ์ต่างๆและสื่อการสอน สไลด์ วีดีทัศน์ การออกกำลังกาย และการใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดเห็น สรุปการทำกิจกรรมกลุ่มทั้งโครงการ และกิจกรรมอำลา
เพราะการใช้กระบวนการกลุ่มเพื่อให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในด้าน การับประทานอาหาร การออกกำลังกาย  การผ่อนคลายความเครียดการรับประทานยาที่ถูกต้อง ทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น
Utilization criteriaการประเมินคุณภาพเพื่อนำไปใช้  
1. Clinical relevanceความสอดคล้องกับปัญหาทางคลินิก มีความสอดคล้องและตรงกับปัญหาที่กำหนดไว้ และโปรแกรมการให้ข้อมูลดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติ
2. Scientific meritการมีความหมายหรือมีคุณค่าในเชิงของศาสตร์ ในรายงานมีความชัดเจนในเรื่องวิธีการเก็บข้อมูล อธิบายเนื้อหาในโปรแกรมได้ชัดเจน ใช้เครื่องมือที่มีคุณภาพสามารถประเมินได้ตรงกับตัวแปรที่ต้องการศึกษาจริงๆ การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากผลการวิจัยใช้สถิติเหมาะสม
Implementation potentialแนวโน้มที่จะนำไปใช้ได้ในการปฏิบัติจริง  
1. Transferabilityการเทียบเคียงองค์ความรู้สู่การปฏิบัติจริง มีโอกาสที่จะนำโปรแกรมลงสู่การปฏิบัติได้
2. Feasibilityความเป็นไปได้ในการนำวิธีการไปปฏิบัติในสถานการณ์จริง มีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง
3. Cost – benefit ratioความคุ้มทุน คุ้มประโยชน์เมื่อนำไปใช้ ประหยัดค่าใช้จ่ายและเหมาะสมกับผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูง
 
หมายเลขบันทึก: 52252เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2006 03:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 14:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

อรุณสวัสดิ์คุณจ๊อด

ครูอ้อยต้องไปอยู่เวรที่สนาม  เดี๋ยวจะมาชมนะคะ

เรียน คุณศราวุธ อยู่เกษม

ผมกำลังศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการสร้างเสริมสุขภาพ ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

ได้อ่านงานวิจัยของคุณแล้ว รู้สึกชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง และอยากรบกวนให้ส่งต้นฉบับงานวิจัย มาตามอีเมล แอดเดรส ของผมด้วย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากคุณนะครับ

ธีรบูลย์

เรียน คุณศราวุธ อยู่เกษม

สวัสดีคะ เนื่องจากดิฉันกำลังศึกษาปริญญาโท ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจะทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จึงอยากใคร่ขอวิทยานิพนธ์ต้นฉบับเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นประโยชน์แก่งานวิจัยต่อไป กรุณาส่งมาตามอีเมล ของดิฉัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากคุณน่ะคะ ขอบคุณมากคะ

เรียน คุณศราวุธ อยู่เกษม

สวัสดีครับ เนื่องจากผมกำลังศึกษาปริญญาโท ที่ ม.สารคาม กำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ จึงอยากใคร่ขอวิทยานิพนธ์ต้นฉบับเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นประโยชน์แก่งานวิจัยต่อไป มาตามอีเมล แอดเดรส ของผมด้วย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากคุณนะครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

จิรพงษ์

เรียน คุณศราวุธ อยู่เกษม

สวัสดีครับ เนื่องจากผมกำลังศึกษาปริญญาโท ที่ ม.สารคาม กำลังทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ จึงอยากใคร่ขอวิทยานิพนธ์ต้นฉบับเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นประโยชน์แก่งานวิจัยต่อไป กรุณาส่งมาตามอีเมล แอดเดรส ของผมด้วยนะครับ

หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความอนุเคราะห์จากคุณนะครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าครับ

จิรพงษ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท