อารักขา
กลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ

เตือนภัยเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, เพลี้ยกระโดดหลังขาว ในพื้นที่จังหวัดบึงกาฬ


ด้วยสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
จะเริ่มเกิดการระบาดตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม และจะเกิดการระบาดรุนแรงในเดือนเมษายน
พฤษภาคม เป็นประจำทุกปี ซึ่งในขณะนี้เริ่มพบการระบาดในพื้นที่จังหวัดอ่างทอง
พิษณุโลก ชัยนาท สุพรรณบุรี นครปฐม พระนครศรีอยุธยาและจังหวัดหนองคาย



จังหวัดบึงกาฬ พบการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
และเพลี้ยกระโดดหลังขาวในพื้นที่อำเมืองบึงกาฬ และอำเภอปากคาด โดยเพลี้ยกระโดดจะเริ่มเข้าทำลายตั้งแต่ข้าวอายุ๓๐ วัน และจะพบการระบาดมากในข้าวอายุมากกว่า ๖๐ วัน

  ดังนั้นขอแจ้งเตือนให้เกษตรกร สำรวจเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล, เพลี้ยกระโดดหลังขาว ในแปลงของตนเอง ในกรณีที่ต้นข้าวยังไม่แสดงอาการให้สังเกตบริเวณโคนต้นข้าวเหนือระดับน้ำ หากมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จะพบตัวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเกาะดูดน้ำเลี้ยงอยู่บริเวณโคนต้นข้าวเหนือระดับน้ำ



หากเกษตรกรสำรวจพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว มีจำนวนมากกว่า ๑๐ตัวต่อกอ ควรแนะนำให้เกษตรกรปฏิบัติดังนี้ 

๑.ระบายน้ำออกจากแปลงให้แห้ง ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วจึงสูบน้ำเข้าแปลงนาอีกครั้ง ทำสลับกันเป็นครั้งๆไป 

 ๒.ฉีดพ่นด้วยสารเคมี อิมิดาคลอพริดหรือฟิโปรนิล อัตรา ๔๐ ซีซีต่อน้ำ ๒๐ ลิตร เวลาช่วงเย็น ๒ ครั้งห่างกัน ๒-๓ วัน หรือเชื้อราบิวเวอเรีย
  ๓.ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่เกษตรตำบลสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ  หากเกษตรกรสำรวจพบเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เพลี้ยกระโดดหลังขาว ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่เกษตรตำบล
สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดบึงกาฬ




หมายเลขบันทึก: 522143เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2013 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2013 11:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท