ประเด็นพื้นฐานเพื่อการเตรียมพร้อมทางความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชนในสังคมไทยเพือเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน



เอกสารในส่วนนี้มีเป้าหมายสำคัญก็คือ เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจถึงเหตุผลของเรื่องว่าเพราะเหตุใดในการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.๒๕๕๘ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล จึงได้หยิบยกประเด็นของการพัฒนาศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชนในสังคมไทยมาเป็นประเด็นหลักในการจัดประชุมวิชาการประจำปี พ.ศ.๒๕๕๖

อีกทั้งเพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในโจทย์หลักของการจัดประชุมวิชาการในครั้งนี้ว่า หากต้องมีการพัฒนาศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชนในสังคมไทยนั้น ศักยภาพที่สำคัญที่จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาให้กับเด็กและเยาวชนนั้นคือศักยภาพในด้านใดบ้าง ? อีกทั้งในการพัฒนาหรือการเสริมสร้างศักยภาพดังกล่าวนั้นมีกระบวนการหรือวิธีการอย่างใด ? และในการพัฒนาศักยภาพดังกล่าวนั้นใครจะเป็นผู้ทำให้เกิดการพัฒนาศักยภาพ ? เราจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะต้องทำความเข้าใจในประเด็นพื้นฐานสำคัญใน ๔ ประเด็น กล่าวคือ

() การทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายของอาเซียน () หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับความมีผลผูกพันของข้อตกลงต่างๆในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน () การสำรวจสถานการณ์หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความตกลงที่เกิดขึ้นในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนว่ามีอะไรบ้าง และ การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ () แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องที่จะใช้เป็นหลักคิดสำคัญในการพัฒนาศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชนในสังคมไทยเพื่อทำให้สามารถจัดการต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

() เป้าหมายและวัตถุประสงค์อันสำคัญของอาเซียนคือการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดความกินดีอยู่ดีอของมนุษย์ในอาเซียน1

หลังจาก เดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๑ ที่ได้มีการลงนามในกฎบัตรอาเซียน2ซึ่งถือเป็นธรรมนูญของอาเซียน โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรเป็นการประมวลบรรทัดฐาน (Norm) และค่านิยม (Value) ของอาเซียน ซึ่งหากพิจารณาในส่วนเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน สามารถจำแนกเป้าหมายและวัตถุประสงค์ได้เป็น3 ๕ เป้าหมายสำคัญ กล่าวคือ

(๑) ด้านเศรษฐกิจ มีเป้าหมายสำคัญในการสร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวและความสามารถในการแข่งขันสูง การรวมตัวทางเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนย้ายเสรีของสินค้า/บริการ การลงทุนและแรงงาน การเคลื่อนย้ายทุนเสรียิ่งขึ้น

(๒) ด้านความมั่นคงของมนุษย์ สร้างความเท่าเทียมและลดปัญหาช่องว่างการพัฒนาและลดปัญหาความเหลื่อมลำ้ในสังคม แก้ไขปัญหาความยากจนของคนในสังคม โดยส่งเสริมให้เกิดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านความร่วมมือด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

(๓) ด้านสังคม ส่งเสริมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง สร้างสังคมที่ปลอดภัยมั่นคงจากยาเสพติด เพิ่มพูนความกินดีอยู่ดีของประชาชนอาเซียน ผ่านโอกาสที่ทัดเทียมกันในการเข้าถึงการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการ และความยุติธรรม

(๔) ด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียนโดยเคารพความหลากหลายและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม

(๕) ด้านการเมืองความมั่นคง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เสริมสร้างประชาธิปไตย เพิ่มพูนธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม ตอบสนองต่อสิ่งท้าทายความมั่นคง เช่น การก่อการร้าย เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าหัวใจสำคัญของเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียน ก็คือ การสร้างความร่วมมือในระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อทำให้เกิดการพัฒนามนุษย์อย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดความกินดีอยู่ดีอของมนุษย์ในอาเซียน

() หลักการพื้นฐานเกี่ยวกับความมีผลผูกพันของข้อตกลงต่างๆในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

ภายใต้การรับรู้ของคนในสังคมเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เราคงต้องตระหนักถึงหลักการพื้นฐานสำคัญประการหนึ่งว่า การเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนนั้นเกิดขึ้นจากความตกลงในระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียนซึ่งความตกลงดังกล่าวก็คือ "สนธิสัญญาพหุภาคี" โดยมีสถานะเป็น "กฎหมายระหว่างประเทศ" ซึ่งส่งผลบังคับในทางกฎหมาย

โดยหลักกฎหมายระหว่างประเทศ มีหลักกฎหมายเกี่ยวกับสนธิสัญญาที่สำคัญ ๔ ประการคือ ประการแรก ข้อตกลงในระหว่างประเทศภาคีสมาชิกก็คือ "สนธิสัญญา" ประการที่ ๒ โดยข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนมีสถานะเป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ประการที่ ๓ ประเทศภาคีสมาชิกในสนธิสัญญาจะต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามพันธะกรณีที่ได้ตกลงไว้ในสนธิสัญญา และ ประการสุดท้าย การปฎิบัติการให้เป็นไปตามพันธะกรณี โดยหลักก็คือ การจัดทำกฎหมายใหม่ หรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย เพื่อให้สอดคล้องและบังคับการให้เป็นไปตามพันธะกรณีในข้อตกลง

หมายความว่า ประเทศไทยจะต้องมีการดำเนินการในด้านต่างๆ โดยโดยผลของข้อตกลงระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียนเป็นสนธิสัญญาพหุภาคีซึ่งมีสถานะเป็น "กฎหมายระหว่างประเทศ" ที่ประเทศไทยและประเทศภาคีสมาชิกในสนธิสัญญาจะต้องปฎิบัติให้เป็นไปตามพันธะกรณีที่ได้ตกลงไว้ในสนธิสัญญา

ดังนั้น เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับ ผลของข้อตกลงต่างๆที่มีผลผูกพันประเทศไทยในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชนในสังคมไทยนั้นมีอะไรบ้าง ในส่วนต่อไปจึงเป็นการนำเสนอถึง สถานการณ์หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความตกลงที่เกิดขึ้นในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ? และการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

() การสำรวจสถานการณ์หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความตกลงที่เกิดขึ้นในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนว่ามีอะไรบ้าง ? และการประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยพิจารณาจากความมีผลผูกพันของข้อตกลงในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีีต่อประเทศไทย

.สถานการณ์หรือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความตกลงที่เกิดขึ้นในในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน4

เมื่อเข้าไปสำรวจถึงข้อตกลงในระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชน ทั้งด้านการศึกษา ด้านสิทธิมนุษยชน ด้านการใช้สื่อเพืื่อการพัฒนา นอกเหนือไปจากข้อตกลงในการจัดตั้งประชาคมอาเซียนใน ๓ เสาหลักแล้ว5 พบว่า มีการจัดทำข้อตกลงในระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเด็ก และเยาวชนในอีก ๔ ฉบับ โดยมีสาระสำคัญอยู่ที่การพัฒนามนุษย์ในอาเซียน

..กรอบความร่วมมือในด้านการศึกษา เพื่อการพัฒนามนุษย์และสร้างประชาคมอาเซียนอย่างมีประสิทธิิภาพ มีการลงนามใน Cha-am Hua Hin Declaration on Strengthening Cooperation on Education to Achieve an ASEAN Caring and Sharing Community 6

  • ในส่วนของการศึกษาในระดับอุดมศึกษา มีความคืบหน้าในส่วนของการดำเนินงานที่สำคัญของเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network – AUN) คือ โครงการระบบการโอนหน่วยกิต (The ASEAN Credit Transfer System–ACTS) ซึ่งในขณะนี้มีสาขาวิชาที่นักศึกกษาสามารถเลือกลงเรียนในระบบการโอนหน่วยกิตในมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนได้จำนวน ๑๒,๒๗๐ สาขาวิชา

  • การจัดทำหลักสูตรอาเซียน (ASEAN Curriculum Source Book) อยางเปนทางการ โดยมีสาระสำคัญ ๕ ส่วนประกอบกัน คือ (๑) เรียนรู้เกี่ยวกับอาเซียน (๒) คุณค่าของอัตลักษณ์และความหลากหลาย (๓) ความเชื่อมโยงของโลกและท้องถิ่น (๔) การส่งเสริมความเท่าเทียมและความยุติธรรม (๕) ความร่วมมือเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน

..กรอบความร่วมมือด้านสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน หรือ e-ASEAN Framework Agreement ประกอบกับแผนแม่บนไอซีทีอาเซียน 2015 ASEAN ICT Masterplan 2015 จะพบว่า ประเทศสมาชิกอาเซียน ได้มองเห็นถึงโอกาสในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในอาเชียน โดยข้อตกลงฉบับนี้ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้คนในประชาคมอาเซียนสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาโอกาสและศักยภาพของคนได้อย่างเต็มที่ อีกทั้ง เน้นย้ำถึงบทบาทของไอซีทีในฐานะที่เป็นตัวขับเคลื่อนและนำไปสู่การปฎิรูปที่สำคัญเพื่อให้เกิดการรวมตัวทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมของอาเซียน

..กรอบความร่วมมือในด้านคนด้อยโอกาส มีการจัดทำ Bali Declaration on the Enhancement of the Role and Participation of Persons with Disabilities in the ASEAN Community, Bali, Indonesia, 17 November 2011

..กรอบความร่วมมือด้านสิทธิมนุษนชน กล่าวคือ ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน หรือ ASEAN Human Rights Declaration มีการลงนาม ที่กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๕ ซึ่งกำหนดให้มีการดำเนินการพันธะกรณีที่ปรากฎในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กฏบัตรสหประชาชาติ ปฏิญญา และแผนปฏิบัติการเวียนนา และตราสารว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ ซึ่งรัฐสมาชิก อาเซียนเป็นภาคีนอกเหนือไปกว่านั้น ปฎิญญาฉบับนี้ ได้ยืนยันเพิ่มเติม ในความสําคัญของอาเซียนที่จะส่งเสริมเรื่อง สิทธิมนุษยชน ซึ่งรวมถึงปฏิญญาว่าด้วยความก้าวหน้าของสตรี ในภูมิภาคอาเซียน และปฏิญญาว่าด้วยการขจัดความรุนแรง ต่อสตรีในภูมิภาคอาเซียน

ทั้งนี้ ได้มีการจัดตั้้งคณะกรรมการด้านการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนขึ้น กล่าวคือ ASEAN Commission on the Promotion and Protection of the Rights of Women and Children to be Established, Cha-Am Hua Hin, เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๒

.การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนโดยพิจารณาจากความมีผลผูกพันของข้อตกลงในระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีีต่อประเทศไทย

หากพิจารณาจากผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหลังจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ..๒๕๕๘ ซึ่งพิจารณาจาก ผลกระทบในด้านต่างๆที่เกิดขึ้นจากความตกลงในด้านต่างๆ โดยเฉพาะใน ๓ เสาหลัก คือ เสาประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ เสาการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ทำให้ประเมินสถานการณ์อันเป็นผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนในสังคมไทยได้เป็น ๕ ด้าน กล่าวคือ

() ผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนอันเกิดขึ้นจากการเคลื่อนย้ายถิ่นได้อย่างเสรี เช่น การเคลื่อนย้ายถิ่นได้อย่างเสรีอาจทำให้เกิดการตกหล่นในการจัดทำเอกสารพิสูจน์ตนซึ่งในที่สุดนำมาซึ่งปัญหาการใช้สิทธิในด้านต่างๆ

() ผลกระทบด้านความมั่นคงในชีวิตและอาชีพ เด็กและเยาวชนในสังคมไทยอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาการตกงานหรือตกอยู่ในสถานะลูกจ้างในสถานประกอบการหากไม่มีความรู้หรือความสามารถในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ ๙ เมื่อ ๗ ตุลาคม ๒๕๔๖ ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. ๒๕๕๘  ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว ๗ สาขา คือ (๑) วิศวกรรม (Engineering Services)  (๒) พยาบาล (Nursing Services) (๓) สถาปัตยกรรม (Architectural Services) (๔) การสำรวจ (Surveying Qualifications) (๕)  แพทย์ (Medical Practitioners) (๖) ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)  และ (๗) บัญชี (Accountancy Services)

() ผลกระทบด้านความปลอดภัยและความมั่นคงในสังคม อันเป็นผลจากการเคลื่อนย้ายถิ่นได้อย่างเสรี

() ผลกระทบด้านวัฒนธรรม ซึ่งอาจจะต้องเผชิญกับปัญหาทั้งความขัดเแย้งทางวัฒนธรรม หรือ ปัญหาอันเกิดจากการหลงลืมรากเหง้าจนอาจจะนำไปสู่การไม่เคารพในตนเอง

() ผลกระทบด้านสุขภาวะ การเคลื่อนย้ายแรงงานอย่างเสรีอาจส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายหาพาหะนำโรคติดต่อได้อย่างเสรีในเวลาเดียวกันด้วย

.สถานการณ์สำคัญที่มีผลต่อการพิจารณาถึงการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการจัดการต่อผลกระทบ

ข้อเท็จจริงสำคัญอันส่งผลต่อความจำเป็นเร่งด่วนของการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ก็คือ มีการย่นระยะเวลาของการเกิดขึ้นของประชาคมอาเซียนในทั้ง ๓ เสาหลัก จากเดิมในปี ๒๕๖๓ มาเป็น พ.ศ.๒๕๕๘ โดยผลของความตกลง ๒ ฉบับกล่าวคือ (๑) Declaration of ASEAN Concord II (Bali Concord II) ที่กำหนดผให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย ๓ เสาหลัก คือ (๑) ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community หรือ APSC) (๒) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) และ (๓) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community หรือASCC) ในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ต่อมาถูกย่นระยะเวลาลงจากกำหนดเดิมในปี พ.ศ.๒๕๖๓ มาเป็น ๒๕๕๘ โดยผลของ Bali Declaration on ASEAN Community in a Global Community of Nations, "Bali Concord III"(Bali, Indonesia, 17 November 2011) ทำให้ประเทศไทยมีเวลาในการเตรียมความพร้อมให้กับคนในสังคมไทยรวมทั้งการปรับปรุงกฎหมายหรือแก้ไขเพ่ิมเติมหรือการจัดทำกฎหมายภายในของประเทศไทยเพื่อให้เป็นไปตามพันธะกรณีที่ปรากฎในปฎิญญาฯลดน้อยลงไปด้วย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ มีความจำเป็นและมีความเร่งด่วนในการดำเนินการเพื่อสร้างความพร้อมให้กับเด็กและเยาวชนในสังคมไทยให้มีความสามารถรับมือและจัดการต่อผลกระทบที่จะเกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

() แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องที่จะใช้เป็นหลักคิดสำคัญในการพัฒนาศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชนในสังคมไทยเพื่อทำให้สามารถจัดการต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

จากการประเมินถึงผลกระทบที่อาจจเกิดขึ้นจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และ ผลจากความผูกพันตามข้อตกลงที่ได้ตกลงไว้ในข้อตกลงต่างๆ การเตรียมความพร้อมให้กับเด็กและเยาวชนไทยไม่ตกอยู่ภายใต้ผลกระทบในด้านลบ โดยสามารถจัดการต่อสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมไปถึงความสามารถในการสร้างโอกาสและใช้โอกาสในด้านต่างๆเพื่อสร้างทางเลือกหรือใช้ประโยชน์จากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้

การเตรียมความพร้อมในเรื่องที่สำคัญประการหนึ่งก็คือ "การพัฒนาศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชนในสังคมไทย" ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดพื้นฐานสำคัญ ๕ แนวคิดประกอบกัน กล่าวคือ

(๑) แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน โดยมีแนวคิดย่อยภายใต้แนวคิดนี้หลายส่วน กล่าวคือ แนวคิดเกี่ยกวับพัฒนาการ แนวคิดเกี่ยกวับการจำแนกกลุ่มประชากร จำนวนประชากร แนวคิดเกี่ยวกับการกำหนดช่วงวัยหรือช่วงอายุของเด็กและเยาวชน

(๒) แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพ ซึ่งหากพิจารณาจากหลักการพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับ "ศักยภาพ"​ จะพบถึงลักษณะทั่วไปของศักยภาพใน ๒ ส่วน กล่าวคือ ส่วนแรก ศักยภาพเป็นการยกระดับขีดความสามารถจากความรู้ความสามารถในระดับทักษะพื้นฐานทั่วไป และส่วนที่สอง การพัฒนาศักยภาพ ก็คือ กระบวนการหรือวิธีการที่จะทำให้เกิดการยกระดับจากทักษะพื้นฐานทั่วไปกลายเป็นศักยภาพนั้นจำเป็นจะต้องมีการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถจากทักษะพื้นฐานทั่วไป ประเด็นที่ ๒ ก็คือ กระบวนการหรือวิธีการที่เข้าไปสร้างหรือกระตุ้นให้เกิดการยกระดับจากทักษะไปสู่ศักยภาพ

(๓) แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการผลกระทบ การสร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำให้กับเด็กและเยาวชน ในสังคมไทย เพื่อนำไปสู่การสร้างโอกาสในความเท่าเทียมและเกิดความเป็นธรรม

(๔) แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการ เพื่อทำให้เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการต่อสถานการณ์

(๕) แนวคิดในการจัดการสังคมโดยกฎหมาย เพื่อทำให้เกิดการจัดการที่มีเสถียรภาพ มีความมั่นคง และมีความต่อเนื่องนั้นจำเป็นที่จะต้องมีการนำแนวคิดดังกล่าวมากำหนดเป็นกฎเกณฑ์ที่เรียกว่า “กฎหมาย” เพื่อเข้ามาช่วยทำให้แนวคิดพื้นฐานข้างต้นได้รับการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมและมีผลใช้บังคับทั่วไป

โดยในการประชุมของ ทางสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว อีกทั้ง หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ม.มหิดล รวมทั้ง การประชุมร่วมกับคณะผู้ทรงคุณวุฒิที่เรียกว่า "Law and Policy Working Group” ได้มีการหารือร่วมกันและได้บรรลุถึงการกำหนดศักยภาพที่สำคัญที่จำเป็นสำหรับเด็กและเยาวชนในสังคมไทยเพื่อใช้ในการสร้างความเข้มแข็งและจัดการต่อผลกระทบจากการเข้าเป็นประชาคมอาเซียน

โดยศักยภาพที่สำคัญดังกล่าว ประกอบด้วยศักยภาพที่สำคัญ ๔ ศักยภาพหลักคือ7 (๑) ศักยภาพในการเรียนรู้ 8(๒) ศักยภาพในการคิด9 (๓) ศักยภาพในทางสังคมและการบริหารจัดการ10 (๔) ศักยภาพในการใช้สื่อเพื่อการพัฒนา11 อันเป็นประเด็นหลักของการประชุมในจัดประชุมวิชาการประจำปี พ.ศ.๒๕๕๖ โดยโจทย์สำคัญของการประชุมในครั้งนี้เพื่อแสวงหาองค์ความรู้ในการพัฒนาศักยภาพในด้านสำคัญทั้ง ๔ ด้าน ตลอดจน การพัฒนากระบวนการหรือวิธีการนการขยายผลความรู้จากกรณีศึกษา และ นำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะในด้านกฎหมาย นโยบายที่มีประสิทธิภาพและใช้บังคับได้จริง

1 กฎบัตรอาเซียนได้รับการเสนอต่อผู้นำอาเซียนเพื่อลงนามในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ ๑๓ ที่สิงคโปร์ เมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ โดยกระบวนการจัดทำกฎบัตร เริ่มต้นจากคำประกาศ “วิสัยทัศน์อาเซียน ๒๐๒๐” (ASEAN Vision 2020) เพื่อพัฒนาความร่วมมือที่ใกล้ชิดขึ้นในปี ๒๕๖๓ จนในปี ๒๕๔๖ มีการลงนาม “ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน” (Bali Concord II) มีผลเป็นการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี ๒๕๖๓ และถูกย่นระยะจากกำหนดการเดิมมาเป็น พ.ศ.๒๕๕๘ โดยผลBali Declaration on ASEAN Community in a Global Community of Nations, "Bali Concord III"(Bali, Indonesia, 17 November 2011) โดยประชาคมอาเซียนจะประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน หลังจากนั้น ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๗ อาเซียนประกาศ “แผนปฏิบัติการเวียงจันทน์” สนับสนุนการจัดทำกฎบัตรอาเซียน เพื่อรองรับการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.๒๕๖๓

2โดยกฎบัตรอาเซียนได้กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของอาเซียนไว้ใน ข้อ ๑ ของกฎบัตรอาเซียนไว้ ๗ ข้อดังนี้

(๑) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริหาร (๒) เพื่อส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค (๓) เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค (๔) เพื่อเสริมสร้างให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดี (๕) เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในรูปแบบของการฝึกอบรมและการวิจัยและส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (๖) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขยายการค้า ตลอดจนปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม (๗) เพื่อส่งเสริมความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอก องค์การความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่นๆ และองค์การระหว่างประเทศ

3นอกจากนั้นยังมีอีก ๒ เป้าหมายสำคัญ กล่าวคือ (๑)ในด้านภาพรวมของประชาคมอาเซียน ทำให้เกิดการรักษาและเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ การเพิ่มความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (๒)ในด้านสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่คุ้มครองสภาพแวดล้อม ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ

4โดยข้อมูลในส่วนนี้ได้มีการศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการจัดทำมาตรการต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของทีมวิจัยและบริการวิชาการ อันประกอบด้วย (๑) (๒) ... โดยได้สรุปสาระสำคัญที่่น่าสนใจคือ ประเทศไทยมีการดำเนินการสร้างความเข้าใจในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการหรือรูปแบบของการจัดประชุมหรือการสัมมนาซึ่งอาจทำให้เกิดความเข้าใจในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนแต่ไม่สามารถทำให้เกิดความตระหนักถึงผลกระทบหรือโอกาสได้อย่างแท้จริง

5หากพิจารณาจากกรอบความร่วมมือในระหว่างประเทศสมาชิกในอาเซียน ที่ปรากฎในกฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) (๑) ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง มีเป้าหมายเพื่อการรวมตัวของรัฐสมาชิกอาเซียน ให้เป็นสังคมที่มีความไว้ใจซึ่งกันและกัน มีเสถียรภาพ สันติภาพ และมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมากขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานต่อการพัฒนาในด้านอื่นๆ(๒) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดี่ยว มีการเคลื่อนย้าย เงินทุน สินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมือระหว่างรัฐสมาชิกโดนเสรี ส่งเสริมขีดความสามารถ ด้านการแข่งขันของอาเซียน ลดช่องว่างด้านการพัฒนาของรัฐสมาชิก สร้างความกินดีอยู่ดี และส่งเสริมให้อาเซียนสามารถรวมตัวเข้ากับประชาคมโลกได้อย่างที่ไม่อยู่ในสภาวะที่เสียเปรียบ (๓) ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาสังคมที่ส่งผลกระทบในระดับภูมิภาค พัฒนาและยกระดับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคให้ดีขึ้น ลดผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจของอาเซียน ตลอดจนส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชนของรัฐสมาชิก

6 การประชุม ASEAN Summit, ครั้งที่ ๑๔ ที่ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ถึง ๑ มีนาคม ๒๕๕๑

7โปรดดูในเอกสารแนบท้าย เกี่ยวกับ แผนภาพรายละเอียดเกี่ยวกับศักยภาพ ที่จัดทำในรูปแบบของแผ่นพับ พัฒนาแนวคิดและรูปแบบของการนำเสนอโดย อ.อิทธิพล ปรีติประสงค์ และ อ.ดร.นนทสรวง กลีบผึ้ง สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล

8โดยผู้เขียน ได้นำเสนอแนวคิดในการกำหนดความหมายของคำว่า ศักยภาพในการเรียนรู้ หมายถึง ความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด รวมไปถึง ความสามารถในการบันทึกความรู้ และ จัดการความรู้ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

9โดยผู้เขียน ได้นำเสนอแนวคิดในการกำหนดความหมายของคำว่า ศักยภาพในการคิด หมายถึง ความสามารถในการจัดระบบความคิด รวมทั้ง ความสามารถในจัดการความคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ(๑) การคิดอย่างเป็นระบบ การคิดแบบเชื่อมโยง การคิดอย่างมีเหตุมีผล (๒) การคิดเชิงประยุกต์ในการต่อยอด และ (๓) การคิดอย่างสร้างสรรค์

10โดยผู้เขียน ได้นำเสนอแนวคิดในการกำหนดความหมายของคำว่า ศักยภาพในทางสังคมและการบริหารจัดการ หมายถึง ความสามารถในการจัดการชีวิตตนเอง รวมทั้ง การจัดการความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับบทบาทในสังคมและความสามารถในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

11โดยผู้เขียน ได้นำเสนอแนวคิดในการกำหนดความหมายของคำว่า ศักยภาพในการใช้สื่อเพื่อการพัฒนา หมายถึง ความสามารถในการ “ใช้สื่อเพื่อเป็นเครื่องมือ” ในการพัฒนาตนเอง หรือ ชุมชน และ สังคม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเป็นการใช้สื่อเพื่อตอบสนองต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่งใน ๕ ประเด็นคือ (๑) การใช้เพื่อการพัฒนาการศึกษาและการเรียนรู้ (๒) การใช้สื่อเพื่อการพัฒนาหรือขับเคลื่อนประเด็นทางสังคมรวมทั้งการสร้างกิจกรรมความเคลื่อนไหวทางสังคม (๓) การใช้สื่อเพื่อพัฒนารูปแบบของการสื่อสารภาคพลเมือง หรือ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชน (๔) การใช้สื่อเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ การประกอบการ หรือ การประกอบอาชีพในรูปแบบใหม่อย่างสร้างสรรค์ และ (๕)​ การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ซอฟท์แวร์เพื่อตอบสนองต่อการทำงาน โดยเฉพาะ ซอฟท์แวร์เพื่อพัฒนาคนและสังคม


หมายเลขบันทึก: 522115เขียนเมื่อ 12 มีนาคม 2013 01:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มีนาคม 2013 01:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท