GotoKnow: การใช้ Social media เพื่อสนับสนุนการเป็นองค์กรที่น่าไว้วางใจ


เมื่อสองวันก่อนดิฉันไปรับการตรวจสุขภาพที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในหาดใหญ่ค่ะ พยาบาลเรียกหมายเลขผู้ป่วยของดิฉันแทนการเรียกชื่อนามสกุลจริงอย่างที่เคยทำเมื่อเดือนก่อน เขาบอกว่าเป็นระบบใหม่ที่ทาง รพ. เพิ่งจะนำมาใช้เพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวให้แก่ผู้ป่วยค่ะ

หลายๆ องค์ประกอบของโรงพยาบาลทำให้ดิฉันรู้สึกถึงความใส่ใจในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญมากที่ผู้ป่วยและครอบครัวอาจจะมองข้ามไปค่ะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่กล่าวไปแล้วด้านบน หรือเรื่องที่มีเจลล้างมือวางทั่ว รพ. หรือแม้แต่การโทรศัพท์มาสอบถามอาการหลังออกจาก รพ. 

ความปลอดภัยของผู้ป่วยจะมีเพียงแค่ใน รพ. อย่างนั้นหรือ ดิฉันตั้งคำถามว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นทางโลกออนไลน์ได้อย่างไรบ้าง เพราะผู้คนรับข่าวสารได้รวดเร็วกว่าแต่ก่อนมากโดยผ่านทางสื่อออนไลน์ต่างๆ

ดิฉันได้ลองวิเคราะห์ GotoKnow และเชื่อมโยงเรื่องราวของ การใช้ Social media เพื่อสนับสนุนการเป็นองค์กรที่น่าไว้วางใจ หรือ องค์กรที่ออกแบบมาเพื่อความไม่ผิดพลาดต่อชีวิตมนุษย์ เพราะการผิดพลาดนั้นหากเกิดขึ้นจะใหญ่หลวงมากสำหรับคนหนึ่งคนหรือคนในสังคมใหญ่ค่ะ

ดิฉันจะนำเรื่องราวเหล่านี้ไปนำเสนอและแลกเปลี่ยนร่วมกันกับสมาชิก GotoKnow อีกหลายท่านที่ล้วนแต่เป็นบุคลากรทางการแพทย์ในงานประชุมวิชาการ HA National Forum ครั้งที่ 14 วันพุธที่ 13 มีค. เวลา 9:00-10:00 น. ณ ห้อง Sapphire 106/107: Future Society อาคาร IMPACT Forum เมืองทองธานี (เฉพาะผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน HA National Forum  ครั้งที่ 14 เรียบร้อยแล้วค่ะ)

คงบอกกันตรงๆ ว่า อดตาหลับขับตานอนเค้นความคิดอยู่นานหลายวันทีเดียวค่ะ แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าจะมีสมาชิก GotoKnow เข้าร่วมแลกเปลี่ยนกับดิฉันมากน้อยแค่ไหน เพราะส่วนใหญ่ถูกเชิญเป็นวิทยากรกันทั้งนั้นเท่าที่รู้ก็มี น้าบังวอญ่า คุณชลัญธร คุณทิมดาบ คุณอรพรรณ ค่ะ แหม

ไฟล์นำเสนออยู่ที่นี่ค่ะ  (gotoknow_ha14_01_white.pdf) และตัวอย่างหน้าสไลด์ด้านล่างบางส่วนเท่านั้นค่ะ อย่างไรก็ตามต้องได้นั่งฟังและร่วมแลกเปลี่ยนจึงจะได้รับทั้งความรู้และความสนุกอย่างแท้จริงค่ะ อยากให้มีสมาชิก GotoKnow มาให้กำลังใจกันเยอะๆ ค่ะ ห้องประชุมใหญ่มากๆ ชักตื่นเต้นค่ะ :)

แล้วพบกันนะคะ

ขอบคุณค่ะ











หมายเลขบันทึก: 522113เขียนเมื่อ 11 มีนาคม 2013 23:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 ตุลาคม 2015 12:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

อาจารย์จัน ;)...

มี "องค์กรที่น่าไว้วางใจ"

แล้วมี "องค์กรที่ไม่น่าไว้วางใจ" บ้างหรือเปล่าครับ ;)...

อันนี้ ผมสงสัยเองแหละ ;)...

It sounds like "how do we use advertisement to gain trust" to me.

I am (very) old fashioned and think that people will trust other people/organizations if they provide trust-worthy services or benefits --consistently-- (not just a vote buying exercise). Repeating one good thing over and over in places and times may intensify people's perception and make them trust (by the number). But really, real trust comes from real consistent service -- not a million talks.

Let us look at something simple like how can use social media to provide public services such as fire or flood or outbreak of disease warnings, public information such as traffic incidents, healthy diets and habits, ... From consistent delivery of these services, people learn to trust the service organizations --if they don't make too many or serious mistakes. Social media can be an amplifier of trust-worthiness in the background. We can trust that "trust comes from worthy deeds".

When social media is used to promote something without "substance" (that is a hype --hyperbola  or public con), social media will help to quickly spread counter-reaction and downfall of that promotion.

:-)

เรียนอาจารย์ จัน  คืนนี้นอนที่ สวนสายน้ำ TPBS

พรุ่งนี้เดินทางเข้ากทม.

13 พบกันรวมพลคน  กทน.


เรียนท่านอาจารย์ ดร.จันคู่ชัย

  • ต้องกราบขออภัยที่ไม่ได้เข้าไปร่วม ลปรร เนื่องจากติดภาระกิจ เป็นวิทยากร สร้างทีมงานผู้ประเมินคุณภาพที่ มฟล 
  • ประเด็นที่จะฝากคือ การใช้ Social Media เฉกเช่น G2K คงเป็นเรื่อง กระจายข่าวดี หรือ Best Practice ของกิจกรรม ในองค์กรที่ดูแลสุขภาวะ ว่าน่าไว้วางใจในประเด็นอะไร เพื่อให้กำลังใจ กระตุ้น และ เรียนรู้ว่าที่ใดมีจุดดี จุดเน้น จุดเด่น และ ที่สำคัญ คือ พัฒนาการ ที่ดีขึ้น มากกว่าจะไปแหย่จุดด้อย นะครับ

อ.วัตค่ะ องค์กรที่น่าไว้วางใจเป็นศัพท์เฉพาะค่ะ อ.ลองอ่านที่นี่นะคะ http://en.wikipedia.org/wiki/High_reliability_organization


อ. sr ค่ะ 

ขอบคุณมากค่ะที่ต่อยอดบันทึกนี้ การใช้  social media สำหรับองค์กรลักษณะนี้จะเห็นได้ชัดยิ่งขึ้นเมื่อมีเหตุภัยพิบัติเกิดขึ้นนั่นแหละค่ะ 

แต่ในชีวิตประจำวันทั่วๆ ไป องค์กรเหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์จาก  social media เพื่อสร้างความปลอดภัยสูงสุดได้ดีค่ะหากรู้จักใช้อย่างถูกต้องค่ะ เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวัง การสื่อสารสร้างความเข้าใจกับผู้ป่วย เป็นต้นค่ะ 

สิ่งสำคัญคือพฤติกรรมขององค์กรที่ใช้สื่อเหล่านี้ค่ะ จะต้องทำให้เห็นถึงความสม่ำเสมอ ความน่าเชื่อใจ และความโปร่งใสค่ะ 

และแน่นอนค่ะ องค์กรเหล่านี้จะสร้างความปลอดภัยได้ต้องมาพร้อมคุณภาพที่ผู้ใช้ได้รับอย่างดีค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

    

น้าบังค่ะ แล้วพบกันนะคะจะขอเรียนเชิญแลกเปลี่ยนด้วยนะคะ

ได้ค่ะอาจารย์ มีพูดไว้ค่ะ แต่จะเติมลงในสไลด์ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นนะคะ

ขอบคุณค่ะ

สไลด์บรรยายของอาจารย์น่าติดตามมากครับ...ตรงใจผมมากเลยครับ...ผมอยากเขียนสิ่งที่อาจารย์บันทึกไว้เช่นบันทึกนี้....แต่อาจารย์เขียนได้ลงตัว...เมื่อผมเขียนบันทึกที่โกทูโนว์...ความตั้งใจแรก คือ ...ไว้วางใจตนเอง...และก้าวออกมาเพื่อไว้วางใจกัลยาณมิตรทุกท่านที่นี้....แต่เมื่อนึกๆ ไปแล้ว....เพราะโกทูโนว์มีโครงสร้าง (ที่อาจจะไม่ได้สร้างไว้ล่างหน้า) ที่ทำให้เราไว้วางใจกันต่อกัน....สุดท้าย คือ ผมสามารถมีความอุ่นใจที่ได้เขียน และบันทึกที่ผมเขียนถึงการดูแลผู้ป่วย และการทำงานของทีมสุขภาพ...สามารถส่งผลต่อการทำงาน เพราะการเขียนบันทึกเหมือนครุ่นคิด (มุมคิดที่สร้างสรรค์และเอื้ออาทร)  และมีบันทึกของผู้รู้ ณ ที่นี้หลายท่าน....ทำให้ผมมีทักษะในการทำงานได้ลุล่วงและราบรื่นด้วยครับ

แล้วพบกันค่ะอาจารย์จัน  

ถึง ดร.จันทวรรณ

ดิฉันเดินทางจากอุบลฯ มาถึงกรุงเทพฯ ตั้งแต่คืนวันที่ 11 มี.ค.56 แล้ว มาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ปกติมาร่วมประชุมทุกปี (แบบผิดกฎหมาย เพราะต้องใช้เวลาและค่าใช้จ่ายส่วนตัวของตนเองทั้งหมด จนไม่มีเงินเหลือค่าลงทะเบียน) สรุป.. พรุ่งนี้จะแอบไปชื่นชมอาจารย์และทีมงานนะคะ พบกันแน่นอนที่ห้อง Sapphire 106/107 ถ้าไม่ขอดูบัตรลงทะเบียน

ขอบคุณที่แบ่งปันค่ะ

ชื่นชมอาจารย์มากค่ะ..รู้สึกได้รับประโยชน์และมีความสุขจริงๆจากการที่ได้มาหัดคิด หัดเขียน หัดอ่านจากบันทึกต่างๆในโกทูโนว์แห่งนี้ค่ะ..ความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งต้องใช้เวลาและการทำอย่างสม่ำเสมอจริงๆเหมือนดังที่อาจารย์และบล็อกเกอร์คุณภาพหลายๆท่านได้ทำให้เห็นค่ะ ขอบคุณที่มีโกทูโนว์เพราะทำให้คนที่ไม่ชอบการบันทึกหรือกลัวการเขียน เช่น ดิฉัน ได้กล้าทดลองทำ ทดลองเขียน และรู้สึกว่ามันเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยสื่อสารความรู้สึกนึกคิดทั้งที่มีภายในตัวเองและร่วมกันกับผู้อื่น

เรียนอาจารย์ จัน ผมยังอยู่ต่อพรุ่งนี้อีกวัน

วันนี้ได้คุยกับอาจารย์หมอสกล  มีข้อคิดเห็นว่าปีหน้าหากมีโอกาส โอทูโนซ์ ต้องมีเวลาสักครึ่งวัน เปิดเวทีแบบเวร์คช็อบ คงจะเป็นประโยชย์ในการแลกเปลี่ยนมากยิ่งขึ้น

วันนี้โชคดีที่ได้เจอบล็อกเกอร์รางวัลสุดคะนึงยุคแรกๆ อาจารญสมบูรณ์ เทียนทอง

ขอบคุณมากครับอ.จัน แวะมาชื่นชมว่า Go to Know ก็เป็นสื่อกลางแห่งความไว้วางใจ เช่นกันครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท