แม่แจ่มโมเดล


ห่างหายไปนานไม่ค่อยได้เข้ามาเขียนเล่าเรื่องราว เนื่องจากต้องเดินทางไปจัดกิจกรรมบ่อย ปีนี้ไปแม่แจ่ม เชียงใหม่มา 4 ครั้งแล้วเพื่อร่วมทำโครงการหมู่บ้านข้าวโพดลดหมอกควันซึ่งเป็นปีที่ 4 ของการดำเนินงานร่วมกันระหว่าง 4 ส่วน สำคัญ คือ ภาควิชาการ มหาลัยเชียงใหม่ ภาคงบประมาณ ก.วิทย์+ท้องถิ่น ภาคท้องถิ่น อำเภอ อบต. เทศบาล และที่สำคัญ ภาคประชาชน ผู้เป็นทั้งผู้ก่อและผู้กอบกู้ในเวลาเดียวกัน

พูดถึงแม่แจ่มทุกคนคงนึกเป็นอย่างเดียวกันว่าเป็นอำเภอที่ก่อให้เกิดหมอกควันมากที่สุด เพราะเป็นข่าวทั้งหน้าหนังสือพิพม์ โทรทัศน์อยู่บ่อย ๆ  หากมีปัญหาหมอกควันในภาคเหนือเมื่อไหร่ อ.แม่แจ่มต้องติดอยู่ในลิสต์กับเค้าด้วยเสมอ แล้วเราจะพลิกวิกฤตอันนี้มาเป็นโอกาสได้อย่างไร เป็นคำถามและเป็นปัญหาในเวลาเดียวกัน

ก.วิทย์ ก็ไปริเริ่มโครงการหมู่บ้านแม่ข่าย ว และ ท โดยตั้งชื่อว่าหมู่บ้าน ข้าวโพดลดหมอกควัน โดยเลือกที่บ้านบนนา ต.ช่างเคิ่ง เป็นหมู่บ้านนำร่องในการนำ ว และ ท เข้าไปแก้ไขปัญหา โดยชี้ให้ทุกภาคส่วนใน อ.แม่แจ่ม เล็งเห็นประโยชน์จากการนำเสษวัสดุเหลือทิ้ง เช่น เปลือก ตอซัง ต้น ข้าวโพด มาทำให้เกิดประโยชน์ได้มากมาย ตั้งแต่ ระดับครัวเรือน เช่น การเพาะเห็ด การใช้กับเตาชีวมวลเพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน การทำกระดาษทำมือ มาสู่ระดับหมู่บ้าน เช่น การอัดฟ่อน การทำอาหารหมัก TMR การทำเยื่อกระดาษระดับอุตสาหกรรม จนไปถึงระดับอำเภอ เช่น การนำไปใช้กับโรงไฟฟ้าชุมชนขนาดเล็ก  เทคโนโลยีทั้งหมดนี้มีให้หมด ขึ้นกับว่าชุมชนจะเลือกหรือไม่อย่างไร และทุกอย่างที่ทำก็ขายได้หมด อย่างเห็ดโคนน้อย  มีอยู่ 1 คนทำแล้วเก็บขายหน้าบ้าน ได้วันละ 1000 บาท 




จากการดำเนินงานในระดับหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่พ่อหลวงโจ และชาวนบ้านเริ่มให้ความสนใจทำกันมากขึ้น คำถามต้อมาคือ แล้วจะขยายไปสู่ระบบตำบล และไปสู่ระดับอำเภอ เพื่อสร้าง แม่แจ่มโมเดล  นำปสู่การขยายผลระดับจังหวัด ทั้ง 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้หรือไม่ และต้องทำอย่างไร นี้คือโจทย์ใหญ่ที่ต้องมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ


ข้างหลังคือกองข้าวโพดที่พร้อมจะถูกจุด หรือพร้อมจะแปรรูปเป็นรายได้กลับมายังชุมชน คุณสามารถเลือกได้ นี่แค่จุดเดียว ทั่วทั้งอำเภอมีประมาณ 20 จุด ปริมาณการปลูกข้าวโพดทั้งอำเภอแม่แจ่มประมาณ 80000 กว่าไร่ มีเศษวัสดุเหลือทิ้งไม่ต่ำกว่า 20000 ตัน

ท่านใดสนใจสามารถอ่าน การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสู่หมู่บ้านเป็นการศึกษาถึงกรอบความคิดในกระบวนการที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้นำผลงานวิจัยและพัฒนาจากหน่วยงานของกระทรวงวิทยาสตร์ฯและเครือข่าย(มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ไปสู่หมู่บ้านในรูปแบบของการถ่ายทอดเทคโนโลยี  

รองผู้ว่า จ.เชียงใหม่(เสื้อแดง) และนายอำเภอ(เสื้อสีฟ้า) ให้ความสนใจการแปลงเปลือกข้าวโพดเป็นกระดาษอย่างมาก

จากจุดเล็ก ๆ นำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน ขณะนี้กระบวนการแก้ปัญหาหมอกควัน เพื่อให้ทุกคนได้เก็นประโยชน์จากเศษวัสดุเหลือทิ้ง  นำไปสู่การจัดทำแผนพัฒนาชุมชน ผ่านกลไกของคณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ กม. ที่ ก.มหาดไทยได้ดำเนินการไว้

ล่าสุดได้ร่วมกับทางนายอำเภอแม่แจ่มและหัวหน้าส่วนราชการในการร่วมกันผลักดันแผนพัฒนาหมู่บ้านโดยใช้ ข้าวโพดเป็นตัวขับเคลื่อน และนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมและใช้ได้จริงมาให้ชุมชนเลือก ผ่านกระบวนการบริหารจัดการโดยชุมชนเอง และมีการจัดการผ่านระบบอินเตอร์เน็ต


ประชุมร่วมกัยหัวหน้าส่วนราชการอำเภอแม่แจ่ม เพื่อนำเสนอโครงร่างแผนพัฒนาชุมชนในการแก้ปัญหาหมอกควันด้วย วทน.


จุดเปลี่ยนของการจัดทำแผนพัฒนาชุมชน โดยการดึงกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาเข้าร่วมและร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านในการเดินตามแผนที่วางไว้

สุดท้าย คงสามารถเปลี่ยนจากผู้ร้าย มาเป็นพระเอกได้ในเร็ววัน หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน

หมายเลขบันทึก: 521664เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2013 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 12:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ลำปางเป็นอีกจังหวัดที่มีปัญหาหมอกควัน ถ้าขยายโครงการมาถึงก็คงดีค่ะ

เริ่มแสบตาแสบจมูกแล้วค่ะเวลาเดินทางผ่านดอย อยากให้มีการ ปชส.มากๆเพื่อสร้างความตระหนัก และฝึกอบรมให้ความรู้แบบนี้ดีมากเลยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท