สมาธิบำบัดในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เป็นจิตอาสามิตรภาพบำบัด


การจัดกิจกรรมสมาธิบำบัดระหว่างรอเข้ารับการรักษาจากแพทย์ โดยจิตอาสามิตรภาพบำบัด ได้จุดประกายขึ้นตามโครงการส่งเสริมมิตรภาพบำบัดของสปสช. และแม้ว่าโครงการได้เสร็จสิ้นไปแล้ว แต่งานจิตอาสาในโรงพยาบาลยังคงได้รับการสนับสนุึน ส่งเสริมจาก นายแพทย์โมลี วนิชสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง 

โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝ่ายการพยาบาล ฝ่ายปฐมภูมิ ที่มุ่งสร้างเสริมสุขภาพทั้งชุมชนเมือง และรพสต.ควบคู่ไป จึงเป็นโอกาสอันดีที่เปิดโอกาสให้จิตอาสาผู้ป่วยได้เรียนรู้ที่จะให้ และนำพาให้เกิดการอบรมให้ความรู้ สร้างองค์ความรู้เพื่อการดูแลและแบ่งปันสานเจตนาอันดีของผู้ก่อตั้งงานมิตรภาพบำบัด ของนายแพทย์สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ซึ่งฉันเองก็ไม่เคยได้มีโอกาสรู้จักตัวจริงของท่านด้วยท่านได้จากไปก่อนที่ฉันจะได้รู้จักคำว่า"มิตรภาพบำบัด เพื่อนช่วยเพื่อน" หากชีวิตการทำงานของท่านกลับนำพาให้ได้ใกล้ชิดการทำงานเพื่อผู้ป่วย โดยยอมรับ เข้าใจ และก้าวเดินบนถนนของจิตอาสาเพื่อนผู้ป่วย เพื่อเรียนรู้โลกภายในของตนเอง และแบ่งเบาความทุกข์กายใจ ผ่านกิจกรรมระลึกรู้ลมหายใจของตนเองให้ผู้ป่วยที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีโอกาสตระหนักรู้ในตนเอง ความรักและความศรัทธา สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโรคเห็นแก่ตัว เป็นประตูใจบานแรก ของการหันมาดูแลเอาใจใส่สุขภาพตนเอง กายนี้เป็นของเรา เงินทองหามาได้ เป็นของเรา เราเลือกซื้อเลือกกิน เลือกบริโภคได้เป็นของเรา เราเจ็บไข้ได้ป่วยได้ ...แต่กลับไม่ใช่ตัวเราดูแลรักษาตัวเรา 

.......ยาเม็ดแรกของการดูแลสุขภาพตนเอง จึงสำคัญ เพื่อเราทุกคนจะไม่ต้องใช้เส้นทางความเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จนไม่อาจนำพาความสุข ความเบิกบานให้กับชีวิตในบั้นปลายของตนเองได้ เงินทองหามาทั้งชีวิต ก็เพื่อการรักษาโรคที่อุบัติขึ้นเท่านั้นหรือ บนเส้นทางของชีวิต เรามิอาจยื้อความหนุ่มสาวไว้ได้ เพราะถึงอย่างไร เราก็หนีไม่พ้นความชรา และความเจ็บป่วยไข้ตามสภาพสังขารและสิ่งแวดล้อมของแต่ละคน   ก็แล้วทำไมพวกเราผู้ป่วยจึงไม่หันมามองสุขภาพของตนเอง เพื่อชีวิตที่เบิกบาน อย่างมีสติ และมีคุณประโยชน์มากยิ่งขึ้น


เปิดประตูใจ น้อมนำพระธรรม สร้างความเพียร เติมเต็มความพร่อง ความท้อถอย ขจัดความกังวล ความเครียด แล้วหันมาเรียนรู้และทำความเข้าใจตนเอง เข้าใจในอุบัติการของโรค รู้ทันโรคว่าต้องเปิดใจใฝ่รู้ใฝ่เรียน  แล้วเรียนรู้ได้อย่างไรในสภาพร่างกายที่อ่อนแอ หรือชราภาพ  จึงเป็นเรื่องที่ควรคำนึงถึงผู้ถ่ายทอดให้ความรู้จึงควรได้เปิดใจศึกษาหลักจิตวิทยาผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย  นอกเหนือจากการเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงที่ดี ความรักที่มีต่อเพื่อนมนุษย์จะช่วยให้การถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นได้อย่างมีค่ายิ่งแนวทางการน้อมนำธรรมะสู่จิตใจ พร้อมนำไปปฏิบัติตามพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยนิมนต์พระสงฆ์ ผู้สืบถอดเจตนาแห่งองค์พระศาสดามาเทศนาอบรมจิตใจ ชี้ทางสว่าง  หรือแม้แต่การเข้าถึงธรรมะจากสื่อต่างๆเช่น การเรียนรู้ธรรมะสำหรับผู้ป่วยทางอินเทอร์เน็ต จึงเป็นสิ่งทีช่วยให้เกิดการส่งเสริมสุขภาพตามแนววิถีพุทธ วิถีธรรมนำสุข แม้แต่การนำคำสอนของผู้นำศาสนาอื่นๆตามที่แต่ละท่านเคารพ ศรัทธามาใช้ในการดำรงชีวิต ยิ่งช่วยให้เกิดสุข สงบขึ้นในใจ ฝึกนั่งสมาธิ ทุกวันเพื่อสมองโล่ง เบิกบาน และนำพาสมองเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความสงบ ผ่านคลื่นTheta ซึ่งเป็นคลื่น ที่ 3 ในจำนวนคลื่นทั้ง 4 ประเภท คลื่น theta นี้เป็นคลื่นสมองอยู่ในช่วงของการเข้าสมาธิแบบลึก สมองก็จะมี Mental Imagery ซึ่งเป็นภาพที่เห็นได้จากความรู้สึก ได้ยินจากหัวใจของตนเอง สร้างสรรค์ความงดงามขึ้นภายในจิตใจ  

ร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้ป่วยให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง สร้างความตระหนักรู้ในตนเอง ยอมรับและเข้าใจถึงสาเหตุการเกิดโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ถูกต้องความซื่อสัตย์ต่อตนเองในการให้ความร่วมมือรักษาตนเอง เสริมสร้าง พลังแห่งชีวิตให้กับตนเอง


ลมหายใจเข้าคือพลังของจักรวาล     ลมหายใจออกคืนพลังให้กับจักรวาล

ยกแขนและมือขึ้นรับตะวัน ด้วยจิตวิญญาณรับรู้การเคลื่อนของลมปราณของตนเอง

เก็บพลังจักรวาลเข้าสู่ภายในด้วยความรู้สึกที่อิ่มเอม


ทุกลมหายใจจึงก่อให้เกิดพลังแห่งการเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน  

จงเปิดใจให้กว้าง แหงนหน้ามองตะวันทุกๆเช้า

และใช้สายตามองกว้าง 180 องศา 

ความสุขอยู่ในตัวเรานี่เอง

รับรู้แล้วจงปล่อยจิต และความคิดที่เกิดขึ้นเพื่อส่งให้นำพาความรัก 

ความปรารถนาดีไปยังผู้มีพระคุณ และมวลญาติมิตรเพื่อนร่วมโลกทุกจิตวิญญาณ


ความรัก และความศรัทธา มักเดินเคียงคู่กันมา และความอิ่มเอมในจิตใจจึงเปิดกว้าง

ดั่งตะวันเบิกฟ้า

หากตะวันละขอบฟ้าตามกาลเวลาที่หมุนเวียนพลัดเปลี่ยนไปตามธรรมชาติ


ทุกจิตวิญญาณก็ยังอบอุ่นไอรักและมีมิตรไมตรีจิตให้กันและกัน

แม้ยามอากาศวิปริต ทุกจิตวิญญาณยังส่งความรัก ความปรารถนาดี 

และความเมตตา กรุณาให้กันและกัน

ยามแสงทองส่องฟ้าอำไพ ทุกชีวิตย่อมเบิกบานและมุ่งหน้าหาความสำเร็จให้กันและกัน

ทุกจิตวิญญาณต่างแสดงมุทิตาจิต ให้กันและกัน

เมื่อสิ้นโรค และต้องจากไปพร้อมกายนี้ ทุกจิตวิญญาณ ต่างโศกเศร้า และปล่อยวาง

วันเวลาผ่านไปความเศร้าโศกเลือนลางดังเงา

เกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป

คือลมหายใจของทุกจิตวิญญาณ

การตั้งอยู่ด้วยการหยุดนิ่งระหว่างลมหายใจและหายใจออก


กลับสร้างความตระหนักรู้ในบทบาทและหน้าที่ของความเป็นมนุษย์ในตัวตน

และนี่คือความสว่างแห่งจิตวิญญาณที่เกิดขึ้น หากความเพียรมั่นและซื่อตรงต่อความมุ่งมั่น

ที่จะหันมาดูแลสุขภาพกายและจิตของตนเอง ผู้ป่วยแม้ต้องทุกข์กายกับความเจ็บป่วย

ก็ยังมีพื้นที่ใจให้ได้ระลึกรู้ลมหายใจอย่างมีสติ นำพาให้จิตเบิกบานได้


ความสงบ สบาย โล่ง โพล่ง และปล่อยวาง จึงมาสู่จิตวิญญาณของตนเองด้วยความเรียบง่าย

ภาพ: สปามือ ผ่อนคลายความเครียด กระตุ้นการทำงาน ลดอาการเหน็บชา และคลายอาการเกร็งนิ้วมือให้ผู้ป่วย

สถานที่ตึกใหม่ชั้น 11 รพ.สมุทรสาคร

ขอบคุณข้อมูลความรู้เพิ่มเติมจาก

http://plato.stanford.edu/entries/mental-imagery/

http://www.dmc.tv/forum/index.php?showtopic=1935

http://www.mohanamai.com/UserFiles/File/mnm19-6-53/P.44-46.pdf

http://en.wikipedia.org/wiki/Theta_rhythm

http://www.visalo.org/book/dhammaSumrupPuPuay.htm



หมายเลขบันทึก: 521424เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2013 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2013 21:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

สุขเมื่อได้อ่าน...เกิดพลังของจิตอาสาผู้ยิ่งใหญ่มากครับ

ขอบคุณค่ะน้องทิมดาบ

เพิ่งถึงบ้านค่ะ เพราะช่วยงานพยาบาลและคุณหมอ

จัดบู๊ธน่ารักๆให้ผู้ป่วยโรคไต "วันไตโลก" ค่ะ แต่ไม่ใช่วันโลกไต

กิจกรรมในบู๊ธของจิตอาสาคือรวมพลังสร้างความตระหนักรู้ในตนเอง

และให้มีความสุข แม้ "ไตวาย แต่ใจไม่วาย " รณรงค์ลดอาหารรสจัด 

โดยใช้ใจที่ตระหนักรู้แล้ว เข้าใจแล้ว กำกับและควบค

เริ่มพรุ่งนี้เช้า เป็นกิจกรรมกลางแจ้งท่ามกลางสายลมพัดผ่านกายาและใจ

สำหรับวันที่ 8 เป็นกิจกรรมที่เน้นเฉพาะการดูแล ไตไว้อย่าปล่อยปละละเลย

ในส่วนที่จิตอาสารับผิดชอบคือปูผ้าให้เพื่อนนอน แล้วเห๋กล่อมด้วยบทเพลงที่เบิกบาน

ให้ได้สแกนร่างกายตัวเองด้วยลมหายใจของตัวเอง....แล้วจะนำมาบันทึกนะคะ


พี่ต้อยครับ มาชื่นชมการทำงานครับ สุดยอดมากๆๆ

ภาพถ่ายสวยจัง

พระอาจารย์ในภาพชื่อพระอาจารย์อะไรครับ



นำภาพเขาล้อมหมวกมาฝากคุณครูจ้ะ

ขอบคุณน้องอ.ดร.ขจิต ที่ช่วยเติมเต็มให้บันทึกนี้เห็นคุณค่าของผู้ให้ 

พระสงฆ์ในภาพนี้ท่านคือพระธรรมวิทย์ ฐานธมฺโม (สุนทรชัย)จากวัดสระเกศ กทม.ค่ะท่านเทศนาธรรมเรื่อง

“พลังแห่งการเกื้อกูล  หัวใจแห่งการให้”(Give & Take)



ขอบคุณดร. จันทวรรณ น้องสามสัก(samsuk)และน้องtuknarak มากค่ะ

ดอกไม้กำลังใจยังคงเบิกบานตลอดเวลาค่ะ 



ตามมาให้กำลังใจ

รอดูภาพกิจกรรมอาสาสมัครครับ

ชอบงานบำบัดแบบนี้...ช่วยเสริมความสุขจากภายใจที่ลึกซึ้งมาก...ขออนุโมทนาบุญด้วยค่ะ...

                 

คำคมของพี่ใหญ่ "งานบำบัดแบบนี้...ช่วยเสริมความสุขจากภายใจที่ลึกซึ้งมาก"

ความสุขที่ลึกซึ้งช่วยทำให้เห็นทุกข์ในทุกข์ เห็นแล้วจึงปล่อยวาง

ปล่อยวางแล้วจึงโล่ง สบาย และนำพาจิตให้คิดสร้างกรรมดีต่อไป

ได้ฝึกละวาง โทสะ โมหะ และโลภะ

ขออนุโมทนาและขอบคุณพี่ใหญ่ด้วยค่ะ

ขอบคุณท่านปภังกร วงศ์ชิดวรรณ ค่ะ

บันทึกของท่านช่วยสะท้อน และขัดเกลาความคิด

และจิตให้ก้าวเดินตามพระธรรมคำสอน

แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แม้ยังเตาะแตะก็จะเพียรพยายามค่ะ

แวะมาชื่นชมคุณครูต้อย จิตอาสาคนเก่งและคนดี ขอบคุณมากๆครับ

ขอบคุณค่ะ น้องดร.ป๊อบ 

ขอบคุณที่แบ่งปันให้เรียนรู้

บนเส้นทางนักบำบัดมุ่งแก้ไข

ให้สังคมนี้อุดมคนงานครัน

อาทรกันเพื่อสังคมคนดีๆ


สวัสดีพี่ต้อย...

ความสุขที่สร้างได้ 

ได้มาอ่านยิ่งพบสุข

ชื่นชม นับถือ และขออนุโมทนาบุญค่ะ

น้อง วอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei--
คต่ะ ความสุขที่มีอยู่แล้วบนโลกใบนี้ เพียงเปิดโอกาสให้ตัวเอง

ได้เรียนรู้และทำในสิ่งที่หัวใจปรารถนาค่ะ

ขอให้มีความสุขยิ่งๆขึ้นไปนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ  คุณวริษา เจริญเวช

บุญเกิดขึ้นเมื่อคิดดี ทำดี และพูดดี ขอร่วมอนุโมทนาด้วยค่ะ



พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท