"ท่านคิดว่า KM จะประยุกต์กับด้านสาธารณสุขได้อย่างไรบ้าง"


 "ท่านคิดว่า KM จะประยุกต์กับด้านสาธารณสุขได้อย่างไรบ้าง

การบริหารจัดการความรู้ในสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจะต้องทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดเวลา  
การพัฒนาความรู้ในการปฏิบัติงานให้เป็นความรู้จริงรู้ชัดเจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ในทุกสภาพปัญหา ถ่ายทอดความรู้ให้คำปรึกษาได้ เป็นการเรียนรู้จากประสบการณ์การทำงาน ซึ่งเป็นความรู้ที่ดีที่สุด  ปัญหาที่เกิดในการปฏิบัติงานเนื่องจากความไม่รู้ต้องได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จากผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบงาน  มีการเรียนรู้ร่วมกันกับผู้มีความรู้ มีประสบการณ์การทำงานเป็นทีมมีความจำเป็นต้องรู้ร่วมกันจะไม่เกิดประโยชน์ถ้าผู้ร่วมงานคนใดคนหนึ่งขาดความรู้ ความชำนาญในการทำงานและจะต้องทำให้มีการเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร

 ซึ่งมีหลักการ 4 ประการ ของการจัดการความรู้   ดังนี้

1 ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ การจัดการความรู้ที่มีพลัง ต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อ หรือวิธีคิดแตกต่างกัน ( แต่มีจุดรวมพลัง คือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน ) ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือนๆ กัน การจัดการความรู้จะไม่มีพลัง

ในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย (heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน (homogeneity)

2 ร่วมกันพัฒนาวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้ หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วย องค์ประกอบ 4 ประการ คือ

2.1 การตอบสนองความต้องการ (responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กร

2.2 นวัตกรรม (innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือวิธีการใหม่ๆ ก็ได้

2.3 ขีดความสามารถ (competency) ขององค์กร

2.4 ประสิทธิภาพ (efficiency) ในการทำงาน

3 ทดลองและเรียนรู้ เนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ ซึ่งหมายความว่าต้องคิดแบบ " หลุดโลก " จึงต้องมีวิธีการดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงในโลก หรือในสังคม โดยการทดลองทำเพียงน้อยๆ ซึ่งถ้าล้มเหลว ก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น ถ้าได้ผลดี จึงขยายการทดลองเป็นทำมากขึ้น จนในที่สุด ขยายเป็นวิธีทำงานแบบใหม่ หรือได้ best practices ใหม่นั่นเอง

4 นำความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม โดยต้องถือว่า ความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยัง " ดิบ " อยู่ ต้องเอามาทำให้ " สุก " ให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป

 

 


หมายเลขบันทึก: 521113เขียนเมื่อ 1 มีนาคม 2013 23:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มีนาคม 2013 23:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

 .... มาเยี่ยม...อ่านบทความค่ะ .... 

... KM จะประยุกต์กับด้านสาธารณสุขได้อย่างไรบ้าง...???

I had a wrong impression about this article. I expected to read about patients, nurses, doctors, hospitals and community collaboration... but I found a copy of a textbook here. ;-)

Can see some expansion of this KM with respect to Health? ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท