โรงพยาบาลปลอดบุหรี่สู่ชุมชน รพ.สูงเนิน นครราชสีมา


สรุปผลงานโดยย่อ :จัดกิจกรรมลด ละ  เลิกบุหรี่ 5 วัน 5 ชม. โดยบูรณาการร่วมกับการฝังเข็มให้แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่สูบบุหรี่และผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ตำบลสูงเนิน จำนวน 17ราย สมัครใจฝังเข็มร่วมด้วย จำนวน 10 ราย สามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ 13 ราย  คิดเป็นร้อยละ 76.74 สูบบุหรี่ลดลง 4 ราย  คิดเป็นร้อยละ 23.57 รวมเลิกและลดการสูบบุหรี่ลง ร้อยละ 100  กลุ่มที่สมัครใจฝังเข็มสามารถเลิกสูบบุหรี่ได้สำเร็จ 9 ราย   สูบบุหรี่ลดลง 1 ราย  ผู้เข้าร่วมกิจกรรมพึงพอใจต่อกิจกรรมร้อยละ 90

เป้าหมายการพัฒนา  เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่ในเขตตำบลสูงเนิน หมู่ที่ 1, 4, และ 8  เลิกหรือลดการสูบบุหรี่ลงอย่างน้อยร้อยละ 80

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ

  จากการจัดกิจกรรมโครงการเลิกบุหรี่ 5 วัน 5 ชม. ในกลุ่มเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลสูงเนิน ปี 2554 แบบบูรณาการด้านการแพทย์ทางเลือกร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพ เกิดผลสำเร็จผู้เข้าร่วมกิจกรรม 17 ราย เลิกสูบเด็ดขาด 3 ราย อีก 14 ราย สูบบุหรี่ลดลง  จึงเพิ่มกิจกรรม ปี 2555 มาขยายผลกลุ่มประชาชนในชุมชน ผลจากการสำรวจประชาชนที่ติดบุหรี่โดยอสม.ตำบลสูงเนินทั้งหมด 924 รายและหมู่ที่ 4 มีผู้สูบบุหรี่ถึง 99 ราย  คิดเป็น  ร้อยละ 4.7 ของประชากรทั้งหมดในหมู่ที่ 4 ทีมงานชุมชนได้จัดกระบวนการแผนที่ผลลัพธ์ เพื่อแก้ไขปัญหาแบบมีส่วนร่วมโดยกำหนดเป้าหมายปลายทางร่วมกับผู้นำชุมชน อสม. ประชาชน มีผู้สนใจต้องการเลิกบุหรี่ 22 รายบางคนเคยเลิกเองแต่ไม่สำเร็จ มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จึงมีผู้สนใจต้องการเลิกบุหรี่ในหมู่อื่นๆ ของตำบลสูงเนินร่วมด้วย

กิจกรรมการพัฒนา

  6.1 จัดกิจกรรมกลุ่ม 5 วัน 5 ชม. โดยทีมสหสาขาวิชาชีพ

  -ให้ความรู้เรื่องโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่เน้นโทษและพิษภัย เห็นภาพจากผู้ป่วยจริงโดยแพทย์

  -ฝึกการหายใจและบริหารปอดโดยนักกายภาพบำบัด

  -จัดกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์กระตุ้นให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ทบทวนพฤติกรรมมีการสร้างแรงจูงใจเสริมแรงใจทางบวก  โดยทีมสารเสพติด

  -ตรวจสมรรถภาพปอดและแปลผล ให้คำแนะนำเฉพาะราย โดยทีมคลินิกโรคปอดอุดกั้น

  -ตรวจสุขภาพฟันย้อมสีฟัน ให้ความรู้ปากปลอดกลิ่น ฟันแข็งแรง  โดยงานทันตกรรม

  -แนะนำการควบคุมอารมณ์ในการอยากบุหรี่ เทคนิคการหยุดบุหรี่ โดยนักจิตวิทยา

  -ความหวังของครอบครัวเป็นการสัมภาษณ์บุตรและภรรยา  เพื่อให้กำลังใจในการเลิกบุหรี่

  6.2 ฝังเข็มเลิกบุหรี่เป็นทางเลือกใหม่ที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจมาก  ฝังที่จุดพิเศษ Tiax Weixuec  (EX-UE21) อยู่บริเวณข้อมือจะช่วยให้รู้สึกสบายไม่อยากบุหรี่และเลิกเสพติดบุหรี่ได้ ฝังเข็มคาไว้นาน 15 นาที ฝังเข็มคนละ 1-2 ครั้ง

  6.3 แกนนำหรือตัวแทนจากกลุ่มเจ้าหน้าที่เลิกสูบบุหรี่ได้บอกเล่าประสบการณ์ การแก้ไขปัญหาในช่วงเวลาที่เลิกบุหรี่ได้ทุกคำถามชัดเจนพร้อมเสนอแนวคิด

  6.4  ชาหญ้าดอกขาว สมุนไพรที่มีสรรพคุณทำให้อยากบุหรี่น้อยลง ชาลิ้นบุหรี่จืด  ให้ความรู้โดยเภสัชกรให้ดื่มขณะร่วมกิจกรรมและนำไปดื่มต่อเนื่องที่บ้าน

  6.5  ติดตามประเมินพฤติกรรมรายวันและเสริมแรงในรายที่ไม่สูบ สำหรับรายที่ติดภารกิจก็มีทีมงานไปสัมภาษณ์พูดคุยทุกวันและติดตามผลหลังเสร็จสิ้นโครงการเป็นระยะต่อเนื่อง 1 สัปดาห์ เลิกสูบบุหรี่ 13 ราย สูบบุหรี่ลดลง 4 ราย ติดตาม 1 เดือน ยังเลิกได้ 12  ราย สูบลดลง  5 ราย

8.การวัดผลและผลของการเปลี่ยนแปลง

  พบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรม 5 วัน 5 ชม. ทั้งหมด 17 ราย สมัครใจฝังเข็มร่วมด้วย 10 ราย ในกลุ่มฝังเข็ม 2 ครั้ง 9ราย ฝัง 1 ครั้ง 1 ราย ทั้งหมดรู้สึกว่าการฝังเข็มดี รู้สึกสบาย ทำให้ไม่อยากสูบบุหรี่ อยากฝังเพิ่มอีก ประกอบกับการดื่มชาหญ้าดอกขาวด้วย ทำให้บุหรี่จืด สูบไม่อร่อยไม่อยากสูบอีก มีการสร้างแรงจูงใจเสริมแรงทางบวกให้เทคนิคการหยุดบุหรี่ หลังทำกิจกรรมครบ  5 วัน สาสมารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จ 13 ราย คิดเป็นร้อยละ 76.74 ซึ่งใน 13 รายนี้ไม่ได้ฝังเข็ม 1 ราย เข้าร่วมกิจกรรม 3 วัน แต่มีความตั้งใจอยากจะเลิกจากการเสริมแรงของทีมงานและผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วยกัน  มีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 90


การนำผลไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ:มีการจัดกิจกรรมเลิกบุหรี่เชิงรุกในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ลดภาวะเสี่ยงและการเกิดโรคแทรกซ้อนของประชาชนและผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่

บทเรียนที่ได้รับ :การจัดกิจกรรมเลิกบุหรี่ให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้ป่วยโรคเรื้อรังนั้นครั้งนี้ พบว่าคนเหล่านี้เคยเลิกบุหรี่ด้วยตนเองแล้วแต่ไม่สำเร็จ เพราะขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องโทษพิษภัยและโรคที่เกิดจากการสูบบุหรี่อย่างแท้จริง และยังเกิดแกนนำหรือตัวแทนจากกลุ่มที่เคยจัดสามารถเลิกบุหรี่ได้แล้ว เชิญชวนและตอบปัญหาที่เคยเลิกไม่ได้อย่างชัดเจน ยังมีพลังของกลุ่มที่เข้าร่วมกิจกรรมในการกระตุ้นกันเองให้ตัดสินใจเลิก  และผู้จัดกิจกรรมยังเสริมแรงทางบวกทั้งกำลังใจและการดูแล ประกอบกับการฝังเข็มเลิกบุหรี่เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสนใจมากและเมื่อฝังไปแล้วทำให้รู้สึกสบายและอยากบุหรี่น้อยลงจึงทำให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสามารถตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่ได้อย่างเด็ดขาดและสำเร็จ

นางหทัยภัทร  เสริมสุวรรณ  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ และทีมงาน


หมายเลขบันทึก: 520977เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2013 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท