ประวัติขุนช้าง



ประวัติขุนช้าง

  ขุนช้างเป็นลูกของขุนศรีวิชัยกับนางเทพทอง เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ขุนศรีวิชัยเป็นเศรษฐีของเมืองสุพรรณบุรี รับราชการเป็นนายกรมช้างนอก ขุนช้างเป็นเพื่อนเล่นกับพลายแก้ว(ขุนแผน)และนางพิมพิลาไลยมาตั้งแต่เด็กแล้ว

  แต่แล้วก็เกิดเรื่องเลวร้ายกับครอบครัวขุนช้าง(เช่นเดียวกับครอบครัวพลายแก้วและครอบครัวพิมพิลาไลย)เมื่อมีโจรกลุ่มหนึ่งบุกเข้ามาปล้นเรือน ขุนศรีวิชัยได้ถูกโจรฆ่าตาย โจรก็เอาทรัพย์สมบัติไปจำนวนหนึ่งเพราะทรัพย์สมบัติของขุนศรีวิชัยมีจำนวนมากทำให้พวกโจรขนไปไม่หมด หลังจากนั้นนางเทพทองก็ปกครองดูแลบ้านแทนสามีที่ตายและเลี้ยงดูขุนช้างเป็นอย่างดี

  เวลาผ่านไป ขุนช้างก็ได้เติบโตเป็นผู้ใหญ่และก็ได้เป็นเศรษฐีดูแลกิจการแทนแม่ของตน ขุนช้างก็มีภรรยาหนึ่งคนแต่นางนั่นก็สิ้นใจไปไม่ถึงปี ขุนช้างก็จึงคิดที่จะมีภรรยาคนใหม่โดยคิดจะจีบนางพิมพิลาไลย เพื่อนสมัยเด็ก แต่นางพิมก็ไม่เล่นด้วย ต่อมาขุนช้างก็ได้ไปเข้าร่วมฟังเทศน์มหาชาติที่วัดป่าเลไลย์ โดยมีเณรพลายแก้ว(เพื่อนสมัยเด็กอีกคนหนึ่ง) เทศน์กัณฑ์มัทรี ซึ่งนางพิมพิลาไลยเป็นเจ้าของกัณฑ์เทศน์ นางพิมเลื่อมใสมากจนเปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศ์ ขุนช้างเห็นเช่นนั้นก็เปลื้องผ้าห่มของตนวางเคียงกับผ้าสไบของนางพิม อธิฐานขอให้ได้นางเป็นภรรยา ทำให้นางพิมโกรธ

  ขุนช้างยังไม่ลดละความพยายามที่จะเอานางพิมมาเป็นภรรยาจึงขอให้นางเทพทองผู้เป็นมารดาไปสู่ขอนางพิมที่บ้านของนาง นางพิมก็เห็นท่าไม่ดีจึงเร่งรัดให้เณรพลายแก้วให้มาสู่ขอตนโดยเร็ว ซึ่งนางก็ยื่นเงินมาถุงหนึ่งมาให้พลายแก้วเป็นค่าสิดสอด หลังจากนั่นเณรพลายแก้วก็สึกแล้วให้นางทองประศรีมาสู่ขอนางพิมและแต่งงานกัน เมื่อขุนช้างทราบข่าวก็โกรธแค้นพลายแก้วและคิดหาวิธีที่จะแย่งนางพิมไปจากพลายแก้วให้ได้ไม่ว่าจะถูกหรือผิดก็ตาม

  ทางกรุงศรีอยุธยาได้ข่าวว่ากองทัพเชียงใหม่ตีได้เมืองเชียงทอง ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระพันวษาถามหาเชื้อสายของขุนไกร ขุนช้างซึ่งเข้าไปรับราชการอยู่จึงเล่าเรื่องราวความเก่งกล้าสามาราถของพลายแก้ว เพื่อหวังจะพรากพลายแก้วไปให้ห่างไกลนางพิม สมเด็จพระพันวษาจึงให้ไปตามตัวมาแล้วแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพไปรบกับเมืองเชียงใหม่

  ต่อมาขุนช้างทำอุบายนำหม้อใหม่ใส่กระดูกไปให้นางศรีประจันกับนางวันทอง(เปลี่ยนจากนางพิม)ดูว่าพลายแก้วตายแล้วและขู่ว่านางวันทองจะต้องถูกคุมตัวไว้เป็นม่ายหลวงตามกฎหมาย นางวันทองไม่เชื่อ แต่นางศรีประจันคิดว่าจริง ประกอบกับเห็นว่าขุนช้างเป็นเศรษฐีจึงบังคับให้นางวันทองแต่งงานกับขุนช้าง นางวันทองจำต้องตามใจแม่แต่นางไม่ยอมเข้าหอ

  ต่อมาเมื่อนางวันทองทราบว่าพลายแก้วยังไม่ตาย เดินทางกลับมาจากรบศึกและได้รับยศถาบรรดาศักดิ์เป็นขุนแผนแสนสะท้าน แต่ขุนแผนก็ได้นางลาวทอง บุตรสาวของแสนคำแมน นายบ้านแห่งจอมทองกับนางศรีเงินยวงมาเป็นภรรยา ทำให้นางวันทองโกรธด่าทอโต้ตอบกับนางลาวทองและลืมตัวพูดก้าวร้าวขุนแผน ทำให้ขุนแผนโมโหพานางลาวทองไปอยู่ที่กาญจนบุรี นางวันก็ยอมตกเป็นภรรยาของขุนช้างด้วยความจำใจ

  ต่อมาขุนช้างและขุนแผนเข้าไปรับราชการอบรมในวังและได้มหาดเล็กเวรทั้งสองคน วันหนึ่งนางทองประศรีให้คนมาส่งข่าวว่า นางลาวทองป่วยหนัก ขุนแผนจึงฝากเวรไว้กับขุนช้างแล้วไปดูอาการของนางลาวทอง ตอนเช้าสมเด็จพระพันวษาถามถึงขุนแผน ขุนช้างก็ใส่ร้ายว่าขุนแผนปีนกำแพงวังหนีไปหาภรรยา สมเด็จพระพันวษาโกรธจึงสั่งให้นำตัวนางลาวทองมากักไว้ในวังและสั่งไม่ให้ขุนแผนเข้าวังอีกทำให้ขุนแผนแค้นขุนช้างมาก

  เวลาผ่านขุนแผนก็ได้กลับมาที่เมืองสุพรรณบุรีเพื่อมาแย่งชิงนางวันทองจากขุนช้าง ขุนแผนก็ไปที่บ้านของขุนช้างสะกดคนให้หลับหมดแล้วขึ้นไปบนบ้านก็ไปปลุกนางวันทองพาขึ้นม้าหนีเข้าป่าไป ขุนช้างไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา พระองค์ให้ทหารตามจับขุนแผน แต่ถูกขุนแผนฆ่าตายไปหลายคน ขุนแผนกับนางวันทองหลบซ่อนอยู่ในป่าจนนางตั้งท้องจึงพากันออกมามอบตัวสู้คดีกับขุนช้างจนขุนช้างแพ้คดี เวลาต่อมาขุนแผนก็ถูกจองจำคุก ขุนช้างจึงพาพรรคพวกมาฉุดนางวันทองไปเป็นภรรยาอีกครั้ง ต่อมานางวันทองก็คลอดลูกชาย แล้วตั้งชื่อให้ว่าพลายงาม ขุนช้างก็รู้ว่าไม่ใช่ลูกของตนก็เกลียดชังพลายงาม วันหนึ่งจึงหลอกพาพลายงามเข้าไปในป่าทุบตีจนสลบแล้วเอาท่อนไม้ทับไว้จึงคิดว่าพลายงามตายแล้วจึงกลับบ้านไปด้วยความดีใจ แต่แท้จริงพลายงามก็ไม่ตายเพราะโหงพรายช่วยไว้และหนีไปอยู่กับนางทองประศรีผู้เป็นย่าที่เมืองกาญจนบุรีและร่ำเรียนวิชาอาคมจนแก่กล้าและไปรับราชการในวัง

  เวลาผ่านไปเป็นช่วงที่หลังจากขุนแผนออกจากคุก และพลายงามหรือจมื่นไวยวรนาถได้รับความดีความชอบเป็นอย่างมาก ขุนช้างก็ได้เข้าร่วมงานแต่งงานของพระไวย แต่กลับเมาสุราบุกเข้าไปชกต่อยกับพระไวย ทำให้สมเด็จพระพันวษาตัดสินให้ประหารชีวิตขุนช้าง แต่นางวันทองได้ขอให้พระไวยไปกราบทูลสมเด็จพระพันวษาให้ขออภัยโทษขุนช้าง พระไวยก็ทำตามนั่นทำให้ขุนช้างรอดตาย

ความสิ้นสุดบทบาทของขุนช้าง

  ต่อมาพระไวยต้องการให้แม่มาอยู่กับตนและคืนดีกับพ่อ จึงไปลักพานางวันทองมา ขุนช้างเคืองมากไปฟ้องสมเด็จพระพันวษา จึงมีการไต่สวนคดีกันอีกครั้งหนึ่ง ในที่สุดสมเด็จพระพันวษาก็ถามความสมัครใจของนางว่าจะเลือกอยู่กับใคร นางตัดสินใจไม่ได้ สมเด็จพระพันวษาหาว่านางเป็นหญิงสองใจจึงสั่งให้นำตัวไปประหารชีวิต แม้พระไวยพยายามอ้อนวอนขออภัยโทษได้ แต่ไปห้ามการประหารไม่ทัน

หลังงานศพของนางวันทองสิ้นสุดไปแล้ว ขุนช้างก็อาลัยในตัวนางวันทองเป็นอย่างมากจึงตัดสินใจออกบวชเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่นางวันทอง และไม่คิดจะสึกอีกเลย

บุคลิก

  ขุนช้างเป็นคนหน้าขี้เหล่ หัวก็ล้านมาตั้งแต่กำเนิด รูปร่างก็อ้วน


หมายเลขบันทึก: 520832เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 08:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท