ประวัติขุนแผน


ประวัติของขุนแผน

          ขุนแผนหรือพลายแก้ว เป็นลูกของขุนไกรพลพ่าย และนางทองประศรี เกิดที่จังหวัดสุพรรณบุรี ขุนไกรพลพ่ายเป็นทหารในสมเด็จพระเจ้าพันวษาแห่งกรูงอยุธยา รับราชการอยู่ที่เมืองสุพรรณบุรี ขุนไกรพลพ่ายทำความผิดจึงโดนสมเด็จพระพันวษาสั่งประหารชีวิต นางทองประศรีกลัวความผิดจึงพาขุนแผนหนีไปอยู่บ้านญาติฝ่ายขุนไกรพลพ่ายที่เมืองกาญจนบุรี

           พลายแก้วบวชเป็นเณรที่วัดส้มใหญ่จนสำเร็จวิชาเมื่ออายุ 15 ปี จากนั้นย้ายกลับมายังวัดป่าเลไลยก์วรวิหาร โดยเป็นศิษย์ของสมภารมี จังหวัดสุพรรณบุรีแล้วไปเรียนต่อที่วัดแค โดยเป็นศิษย์ของสมภารคง และได้พบกับขุนช้างและนางพิมซึ่งเป็นเพื่อนบ้านกันมาในสมัยเด็กอีกครั้ง พลายแก้วชอบพอกับนางพิม สุดท้ายได้สึกจากเณร และได้นางพิมเป็นภรรยา รวมถึงนางสายทอง พี่เลี้ยงของนางพิมในคืนเดียวกัน

           พลายแก้วแต่งงานกับนางพิมได้ไม่นานก็ได้รับการแต่งตั้งจากสมเด็จพระพันวษาไปตีเมืองเชียงทอง และเชียงอินทร์พลายแก้วได้นางลาวทอง ลูกสาวนายแคว้นบ้านจอมทองมาเป็นภรรยาคนที่สาม หลังจากรบชนะกลับมา สมเด็จพระพันวษาได้ปูนบำเหน็จให้เป็น ขุนแผนแสนสะท้าน

            ผู้แต่ง คือ รัชกาลที่ ๒:: แต่งตอนพลายแก้วเป็นชู้กับนางพิม ขุนแผนขึ้นเรือนขุนช้าง ขุนแผนเข้าห้องนางแก้วกิริยา ขุนแผนพานางวันทองหนี รัชกาลที่ ๓:: แต่งตอนขุนช้างขอนางพิมและขุนช้างตามนางวันทอง สุนทรภู่  แต่งตอนกำเนิดพลายงาม ครูแจ้ง  แต่งตอนกำเนิดกุมารทอง ขุนแผนพลายงามแก้พระท้ายน้ำ สะกดพระเจ้าเชียงใหม่และยกทัพกลับ จระเข้เถรขวาด

ภรรยาและบุตร

ขุนแผนมีภรรยาทั้งหมด 5 คน เรียงตามลำดับดังนี้

1.  พิมพิลาไลย หรือวันทอง (ลูกสาวของนางศรีประจันกับพันศรโยธา) มีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ พลายงาม

2.  สายทอง พี่เลี้ยงของนางพิมพิลาไลย

3.  ลาวทอง(ลูกสาวของนางศรีเงินยวงกับแสนคำแมนนายบ้านแห่งจอมทอง) มีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ พลายณรงค์

4.  บัวคลี่ (ลูกสาวของหมื่นหาญกับสีจันทร์) มีลูกกับขุนแผนหนึ่งคน แต่ขุนแผนได้ผ่าท้องออกมาก่อนเกิด และปลุกเสกเป็น กุมารทอง

5.  แก้วกิริยา (ลูกสาวของพระยาสุโขทัยกับเพ็ญจันทร์)มีบุตรด้วยกันหนึ่งคนคือ พลายชุมพล

คาถาและของวิเศษ

ขุนแผนได้เรียนรู้วิชาต่างๆต่างๆ ในสมัยที่บวชเป็นเณร ตัวอย่างคาถาที่มีได้แก่ คาถามหาละลวย วิชาคงกระพันชาตรี วิชามหาสเน่ห์ วิชาสะเดาะกลอน การเสกกุมารทอง การควบคุมผีพรายหรือโหงพราย

นอกจากนี้ขุนแผนยังมีของวิเศษ 3 อย่างสำคัญ ดังนี้

ม้าสีหมอก

เป็นม้าแสนรู้ พาหนะประจำตัวขุนแผน มีแม่เป็นม้าเทศ พ่อเป็นม้าน้ำ ตัวสีหมอก ตาสีดำ สีหมอกเป็นม้ารุ่นหนุ่มจึงซุกซน เที่ยวไล่กัดม้าตัวอื่นๆ อยู่เสมอ ถูกคนดูแลม้าไล่ตี ขุนแผนไปพบม้าสีหมอกที่เพชรบุรี เห็นมีลักษณะดีต้องตามตำรา จึงขอซื้อแล้วเสกหญ้าให้สีหมอกกิน สีหมอกจึงเชื่องติดตามขุนแผนไปแต่โดยดี

ดาบฟ้าฟื้น

กุมารทอง

ส่วนหนึ่งบทเสภาจากวรรณคดี ขุนช้าง-ขุนแผนที่แต่งขึ้น ซึ่งกล่าวถึงการเรียนวิชาอาคมของขุนแผน เป็นบทเสภาที่ไพเราะแสดงถึงพรสวรรค์และความชำนาญในการใช้คาถาอาคมของขุนแผน


หมายเลขบันทึก: 520830เขียนเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2013 08:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท