"คาร์โบไฮเดรต " ไม่ควบคุมให้พอเหมาะ ก็เสี่ยงต่อการเกิดโรคในร่างกาย .....ชวนทบทวนอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรต


คาร์โบไฮเดรตเพื่อสุขภาพที่ถูกต้อง


คาร์โบไฮเดรต

เป็นสารอาหารซึ่งมีบทบาทต่อร่างกายหลายอย่าง คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ น้ำตาล และแป้ง

น้ำตาลมี ๒ ชนิด ชนิดแรกเมื่อกินแล้ว ร่างกายดูดซึมจากลำไส้ไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ไม่ต้องผ่านการย่อย พบในผัก ผลไม้ น้ำผึ้ง ส่วนชนิดที่สองต้องผ่านการย่อยก่อน พบในน้ำนม

แป้ง มีโมเลกุลที่ประกอบด้วยน้ำตาลชนิดแรกอยู่หลายโมเลกุล และมีโครงสร้างซับซ้อน จึงต้องย่อยนานกว่าน้ำตาลชนิดที่สอง พบในพืชประเภทข้าว และพืชหัว

นอกจากแป้งแล้วยังมีคาร์โบไฮเดรตซึ่งพบในเนื้อสัตว์และเครื่องในสัตว์ มีชื่อเรียกว่า ไกลโคเจนซึ่งบางคนเรียกว่า แป้งในสัตว์

บทบาทของคาร์โบไฮเดรตต่อร่างกาย

คาร์โบไฮเดรต ๑ กรัม ให้พลังงาน ๔ กิโลแคลอรี่

ทำให้การเผาผลาญไขมันเป็นไปตามปกติ ถ้าร่างกายได้รับคาร์โบไฮเดรตไม่เพียงพอ ร่างกายจะเผาผลาญไขมันมากขึ้นจนเกิดสารบางชนิดมากเกินไป และอาจเกิดอันตรายต่อชีวิตได้

ช่วยเปลี่ยนสารพาที่เข้าสู่ร่างกาย ให้มีพิษน้อยลงและอยู่ในสภาพที่ขับถ่ายออกไปได้

ช่วยการทำงานของสมอง

แหล่งที่มาของคาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่ได้จากพืช โดยเฉพาะข้าว เผือก มันถั่วเมล็ดแห้ง ผัก ผลไม้และผลิตภัณฑ์จากสิ่งเหล่านั้น เช่นแป้ง น้ำตาลทราย นอกจากนี้ได้จากสัตว์บ้าง เช่น น้ำผึ้ง น้ำนม

ความต้องการของร่างกาย

ในแต่ละวันร่างกายควรได้รับคาร์โบไฮเดรตร้อยละ ๔๕-๖๕ ของพลังงานที่ร่างกายได้รับต่อวัน แต่ควรเป็นคาร์โบไฮเดรตที่ได้จากการกินพืช ผัก ผลไม้ มากกว่าน้ำตาลที่ได้จากการแปรรูป



ขอบคุณ คาร์โบไฮเดรต จากหนังสือ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน

โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฉบับเสริมการเรียนรู้ เล่ม ๒


คาร์โบไฮเดรต

สารอาหาร ที่เรียกว่า คาร์โบไฮเดรต ( Carbohydrates ) ประกอบด้วยคาร์บอน ออกซิเจน และไฮโดรเจน เป็นแหล่งที่ให้พลังงานเป็นส่วนใหญ่ คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม ให้ค่าพลังงานแก่ร่างกาย 4 กิโลแคลอรี่ คาร์โบไฮเดรตยังให้วัตถุดิบในการสร้างส่วนของเซลล์

คาร์โบไฮเดรตแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

โดยใช้โครงสร้างทางเคมีเป็นเกณฑ์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

คาร์โบไฮเดรตเชิงเดียว

คาร์โบไฮเดรตเชิงเดียว เป็นที่รุ้จักอีกชื่อหนึ่งว่า น้ำตาล น้ำตาลมีอยู่หลายชนิด มักพบตามธรรมชาติในผลไม้ นม และผักบางชนิดเรามักจะใส่น้ำตาลผสมลงไปในอาหาร เช่น ขนมคุ๊กกี้ ลูกอมต่างๆและน้ำหวาน กลูโคส ( glucose) เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานใหญ่สำหรับเซลล์ในร่างกาย อย่างไรก็ตามอาหารส่วนใหญ่ไม่ได้ประกอบด้วยกลูโคสในปริมาณที่ไม่มากมายนัก ร่างกายจึงต้องทำการเปลี่ยนน้ำตาลชนิดอื่นๆ ให้เป็นกลูโคส ซึ่งเป็นน้ำตาลชนิดที่ร่างกายใช้ได้

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน ประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำตาลหลายชนิดเชื่อมติดต่อเชื่อมติดต่อกันเป็นสาย แป้งเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนซึ่งพบในพืชที่ใช้เป็นอาหาร เช่น มันฝรั่ง ข้าว ข้าวโพด และผลิตภัณฑ์จากเมล็ดพืชอื่นๆ เช่น พาสต้า ธัญพืช และขนมปัง ถ้าจะใช้แป้งเป็นแหล่งพลังงาน ก่อนอื่นร่างกายจะต้องแยกสลายแป้งออกเป็นโมเลกุลของน้ำตาลเดี่ยวขนาดเล็ก จากนั้นร่างกายจึงจะสามารถนำพลังงานจากโมเลกุลออกมาใช้ได้

เส้นใยอาหาร( fiber ) ก็เหมือนกับแป้งคือเป็นคาร์โบไฮเดรต เชิงซ้อนที่พบในอาหารประเภทพืช อย่างไรก็ตาม เส้นใยไม่เหมือนกับแป้งทีเดียวเพราะร่างกายไม่สามารถย่อยสลายเส้นใยให้เป็นโมเลกุลของน้ำตาลได้ ดังนั้นเส้นใยจึงถูกขับออกจากร่างกาย เนื่องจากร่างกายไม่สามารถย่อยสลายเส้นใยได้ เราจึงไม่นับเส้นใยเป็นสารอาหาร เส้นใยเป็นส่วนสำคัญของอาหารก็เพราะว่าเส้นใหญ่ช่วยทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้ด้วยดี ผลไม้ ผัก และถั่วต่างๆ มีเส้นใยเป็นองค์ประกอบด้วยเช่นกัน

นักโภชนาการแนะนำว่าพลังงานที่ได้จากอาหารประมาณร้อยละ 50 ถึง 60 ของแคลอรี่ควรจะได้จากอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต เมื่อเลือกรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตควรเลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนมากกว่าคาร์โบไฮเดรตเชิงเดียว น้ำตาลอาจจะให้พลังงานได้ในทันทีทันใด แต่แป้งให้พลังงานได้นานและสม่ำเสมอกว่า นอกจากนี้อาหารที่มีแป้งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่มักจะมีองค์ประกอบของสารอาหารชนิดอื่นๆด้วย อาหารซึ่งทำด้วยน้ำตาลในปริมาณมาก เช่น ขนมอบ ขนมหวานต่างๆ คุกกี้และเครื่องดื่ม ปกติแล้วมีสารอาหารที่มีคุณค่าน้อยมาก



 ขอบคุณ คาร์โบไฮเดรตจากหนังสือ สำรวลโลกวิทยาศาสตร์ สุขภาพและชีววิทยามนุษย์


       ส่วนใหญ่แล้วเราจะลืมกันนะคะ สารอาหาร 5 หมู่และน้ำ เราได้รับคำเตือนเสมอว่าควรกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ทุกๆวันแล้วร่างกายจะแข็งแรง ก็คงมีทั้งขาดและเกิน แต่ละวันไม่ได้นั่งตรวจสอบจดอย่างการทำบัญชี ว่าแต่ละหมู่แต่ละมื้อกินไปเท่าไหร่ แม้กระทั่งเกิดโรคขึ้นมาในร่างกายแล้ว มาคุมก็คงยังทำได้ไม่ครบ 5 หมู่อาหาร รวมทั้งการใส่ใจดื่มน้ำในแต่ละวัน เราคงต้องค่อยๆทบทวนแล้วตั้งใจปฏิบัติ เลือกให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพร่างกาย เราเป็นลักษณะทราบดีท่องได้ทั้ง 5 หมู่ แต่ทำยากใช่ไหมค่ะ ก็ขอฝากชื่นชมครอบครัวที่ทำได้สม่ำเสมอไม่มีโรคเกิดขึ้นก่อนแล้วค่อยมาปฏิบัติ หมู่ 1 คาร์โบไฮเดรตนี้ หากไม่ระวังเกิดโรคได้เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน ฯ ทั้ง 2 โรคที่กล่าวเมื่อเป็นเรื้อรังก็ต่อเนื่องถึงโรคอื่นๆตามมาเป็็นโรคกลุ่มได้อีก เช่น ความดันโลหิตสูง โรคไต ฯ อาหารแป้งกับน้ำตาล ระวังมากๆ นะคะ

ด้วยความปรารถนาดี   กานดา แสนมณี



หมายเลขบันทึก: 520673เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2013 15:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มีนาคม 2013 07:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

โอโหพี่กานดา  มีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากเลยนะครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

ค่ะเราต้องชวนกันทบทวน เมินเฉยไม่ได้แล้ว

และปฏิบัติให้ถูกต้องไว้เสมอด้วยนะคะ

เพราะเราทานอาหารกันทุกวัน วันละหลายอย่าง

อายุมากขึ้นทุกปี ยามชราจะได้เป็นโรคน้อยๆนะคะ

    ขอบคุณค่ะ อาจารย์   ที่มีข้อมูลดีๆ  มาให้อ่านค่ะ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรตมากๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท