ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง


       เมื่อวานดิฉันได้รับ case suicide หรือ case ที่พยายามฆ่าตัวตายสองราย เป็นสุภาพสตรีทั้งสอง ลักษณะปัญหาก็คล้ายๆ กัน หรือแม้แต่การมองปัญหาก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก และที่สำคัญการมองตนเองที่มองว่าตนเองนั้นไร้ค่า ไม่มีคุณค่า (Low self-esteem)...ที่ดิฉันบอกว่าคล้ายๆ และไม่แตกต่างแต่อย่างไรก็ตามก็ยังมีความแตกต่างอยู่ไม่ใช่จะเหมือนกันเสียทีเดียว...case ทั้งสองนี้ไม่ได้มาพร้อมกัน รายหนึ่งเป็นผู้ป่วยที่ทางหอผู้ป่วยส่งมา และอีกรายหนึ่งพี่เบิร์ดนักจิตวิทยาส่งต่อมาให้

       รายแรกอายุ 18 แต่งงานมาประมาณปีกว่า ไม่เคยมีปากเสียงหรือขัดแย้งอะไรกับสามี แต่เมื่อคืนเกิดเหตุสามีมาขอว่าอยากจะไปเที่ยวและไปชอบพอกับนักร้อง ดังนั้นจึงเกิดปากเสียงและถึงขั้นทะเลาะรุนแรง ฝ่ายภรรยาน้อยใจและเสียใจจึงตัดสินใจดื่มสารเคมีฆ่าวัชพืชเข้าไป ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาล ในความรู้สึกของ case รู้ว่าเสียใจ น้อยใจ และมองว่าตนเองนั้นไร้ค่า หากไม่มีสามีตัวเองก็ไม่รู้จะอยู่อย่างไรต่อไป... ในบางคนอาจมองว่า case ทำไมอ่อนแอจัง ทำไมต้องไปทุ่มเทอะไรทั้งหลายให้สามี แต่ในห้วงเวลานั้นเราในฐานะผู้บำบัดไม่ควรที่จะแทรกทัศนะคติที่เป็นส่วนตัวเข้าไป หน้าที่เราเพียงให้ case ได้ระบายความรู้สึก (ventilation) พร้อมให้การดูแลทางด้านจิตใจ (mental support) จากนั้นกู้คืนความรู้สึกแห่งความมีคุณค่าในตนเอง(self-esteem) ของ case ให้เพิ่มขึ้น ดิฉันค่อนข้างจะถนัดทางด้าน RET Counseling (Reational-Emotional Therapy คือการพิจารณาเหตุผลและอารมณ์) แต่ในบางครั้งก็จะใช้แบบผสมผสาน  และ

       case รายที่สองเป็นหญิงสาวอายุประมาณ 24 ปี แต่งงานมีครอบครัวและมีบุตรหนึ่งคน รายนี้จะมีความขัดแย้งในครอบครัว สามีและแม่ยายไม่ชอบพอกันมีเรื่องทะเลาะ และปะทะกันเป็นประจำ และมักมาระบายอารมณ์ที่ผู้ป่วย รายนี้น่าเป็นห่วงเพราะดิฉันประเมินภาวะซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายซ้ำ case มีแนวโน้มที่จะกระทำอีก และรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังในชีวิต ไม่อยากจะเจอสภาพปัญหาเดิมๆ ซ้ำๆอีก รายนี้ทำร้ายตนเองด้วยการดื่มยาฆ่าแมลงเข้าไป และเวลานั่งเงียบๆ ก็มักจะร้องไห้ และบ่นน้อยใจตนเอง

       สอง case นี้มองการแก้ปัญหาด้วยการหนี หรือไม่เผชิญ หรือทักษะต่อการเผชิญปัญหานั้นน้อยมาก ใน section แรกดิฉันเน้นการให้ mental support จากนั้นร่วมกับการพิจารณาเหตุผลและอารมณ์ที่ case รู้สึกและเผชิญ ว่าอะไรคือ อารมณ์และความคิดที่มีเหตุผลและไร้เหตุผล...และในตอนท้ายดิฉันร่วมใช้กับ Reality approach counseling คือการเผชิญต่อปัญหา...และสอง case นี้ยังคงต้องมารับการบำบัดอีกหลายครั้ง...และใน case ที่สองนั้นแพทย์พิจารณาให้ยาร่วมด้วยกับการทำ psychotherapy และที่สำคัญอาศัยความร่วมมือกับคนในครอบครัว...ให้เฝ้าระวังการทำร้ายตนเองและการฆ่าตัวตายซ้ำของผู้ป่วย

หมายเลขบันทึก: 52062เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2006 08:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2013 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

มาเยื่ยม...ตามเส้นทางจากวันสารทเดือน 10...

เห็นความสุขุมในการให้คำปรึกษา...ทั้ง 2  กรณีนั้นแล้ว...ชี้แนะ...เรื่องความอยู่รอดของชีวิตที่อยากตาย...ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะครับ...ต้องน้ำนิ่ง...ไหลลึกจริง ๆ...ทำให้ผมเห็นกระแสทางโลกนี้...มันรุนแรงจริง ๆ...บางครั้ง...คงต้องหลบเข้าถ้ำ...แห่งสัจธรรมสักพัก...

 

วันหลังจะเข้ามา Consult  case บ้างค่ะ

จาก พยาบาล PCU 

สวัสดีคะ....ท่าน umi

ขอบพระคุณมากนะคะที่อาจารย์แวะเวียนมาเยี่ยมบันทึกนี้...ความยากง่ายในการช่วยเหลือ case แต่ละรายจะไม่เหมือนกัน แม้บางครั้งปัญหาจะคล้ายๆ กัน...การช่วยให้ case มองถึง..การมีชีวิตอยู่อย่างมีความหวังนั้นเราผู้บำบัดต้องใช้พลังแห่งใจร่วมด้วย...เราจะไม่บำบัดเพียงตามหน้าที่เท่านั้น หากแต่เราจะใช้ใจแห่งการช่วยเหลือนี้ตามด้วย...ดังนั้นการที่กะปุ๋ม หรือผู้บำบัดฝึกจิตและคิดเชิงบวกอยู่เสมอจะช่วยเป็นอีกพลังหนึ่ง..ที่จะถักทอและเชื่อมถึง caseหรือใครก็ได้ที่ติดต่อปฏิสัมพันธ์กับเรา...สามารถรับรู้สัมผัสได้แห่งพลังชีวิตนั้น...

กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลง...ต่างๆ ทำให้คนมีความอดทนและเผชิญต่อปัญหาน้อยลง...ดังนั้นใดใดก็ตามที่ช่วยให้เกิดความมั่นคงแห่งจิตและใจ..ได้..น่าจะเป็นสิ่งที่เราต้องทำร่วมกันไปในทุกๆ ชีวิตที่เรามีโอกาสได้รู้จัก

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

คุณอมรรัตน์คะ...

ยินดีอย่างยิ่งนะคะ...เรามาแลกเปลี่ยนกันนะคะ...กะปุ๋มมองเห็นประโยชน์ที่ก่อเกิดได้อีกมากมายเลยคะ...เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุดที่ตามมาต่อผู้ป่วยและผู้มารับบริการจากเรา...

กะปุ๋มแวะไปตามรอยทาง...ไปแวะชมที่ Blog พี่แล้วนะคะ...

ยินดีที่ได้รู้จักกันนะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

อยากถามพี่ Dr. Ka-Poom ค่ะ

ว่ารู้สึกเหนื่อยไหมคะ กับการที่ต้องมานั่งรับฟังปัญหาของคนอื่น มานั่ฟังคนอื่นเขาระบายความรู้สึกออกมา หรือกับการที่ต้องมาทำงานแบบนี้ค่ะ เพราะว่างานลักษณะนี้ต้องใช้ทั้งสมาธิและจิตที่นิ่งมากๆ (เป็นหว่งค่ะ)

ที่ถามเนี่ยก็ไม่ใช่อะไรหรอกค่ะ ตอนนี้หนูรู้สึกว่าจิตตกไปนิดนึงค่ะ เผื่อว่าจะปรึกษาพี่ไงคะ (ยิ้มๆ)

 

สวัสดีคะน้องไออุ่น...

เวลาที่รับ case พี่ขอใช้คำว่าหมดพลังมากกว่าคะ...ยิ้มๆ...แต่สิ่งที่ได้กลับคืนมาคือ ความอิ่มใจ...ที่เราได้ร่วมเผชิญและให้เขามองหา..เห็นหนทาง..แห่งทางแก้ปัญหาเขาได้..

จิตตกหากเรารู้..ว่าตก...ก็จงรีบดึงจิตนั้นกลับคืนนะคะ..

มีอะไรคุยกับพี่ได้นะอุ่น...

*^__^*

กะปุ๋ม

 

  • ปัญหาฆ่าตัวตาย ผมว่าซับซ้อนมากกว่าที่คิดนะครับ เพราะผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่มองว่าปัญหาฆ่าตัวตายก็เกิดจาก low self-esteem และไม่อยากอยู่ แบบที่พูดบ่อยๆ ในตำรา จนจำขึ้นใจ
  • แต่ผมมาพบว่า หลายคน ไม่ได้มีปัญหาอย่างที่กล่าว บางคนฆ่าตัวตายเพราะอารมณ์ชั่ววูบ หรือการตัดสินใจไม่เหมาะสม
  • จุดบอดของบ้านเรา น่าจะเกิดจากการมองข้ามปัญหาเรือง personality disorder นะ เพราะหลายคนมองปัญหาทีเจอ แต่ไม่ได้มองถึงบุคลิกภาพที่ซ่อนอยู่ ผลที่ตามมาก็คือ การแก้ปัญหาไม่ตรงจริตของคนไข้ เลยทำให้ไม่ได้ผลตามที่หวังมากนัก หลังๆ ก็เลยแค่ประคับประคองกันไป
  • ผมกำลังคิดว่า ถ้าเราลองประเมินคนไข้ในสามแกนแรกของ Multi Axial และบันทึกหาความสัมพันธ์ น่าจะเจอความอัศจรรย์หลายอย่างเลยล่ะครับ
  • แล้วผลของการบำบัด ไปถึงไหนแล้วครับ น่าสนใจดี
  • ขอบคุณนะครับสำหรับประสบการณ์ดีๆ

คุณคนไกลคะ...

  • ใช่เลยคะ...personality disorder ที่มักมีความรู้สึกในเรื่องของ low self-esteem ร่วมด้วยและเมื่อเราใช้ personality test จะพบว่ามี factor หลายตัวที่จัดว่าเป็นปัจจัยรวมในผู้ป่วยที่มีประวัติฆ่าตัวตาย...
  • สำหรับ case สองรายนี้กะปุ๋มนัด follow up อีก..หากอย่างไรจะติดตามและเล่าสู่กันฟังนะคะ...แล้วที่นั่นคุณคนไกลเจอ case อะไรบ้างคะ...เล่าสู่กันฟัง ลปรร. นะคะ

ขอบคุณคะ

กะปุ๋ม

Dr.Ka-Poom  ครูอ้อยคิดถึงมากค่ะ

  • จะบอกว่า  งานการบ้านของครูอ้อยเริ่มทะยอยส่งแล้วนะคะ  โดยส่งเป็นอันดับต้นๆ  ดีใจ ภูมิใจจัง  เลยมาเล่าให้ฟัง 
  • คุยกับครูอ้อยอีกนะ  จะได้ไม่เหงา  และมีเพื่อนให้กำลังใจ  ทำงานได้ค่ะ
  • ตอนเช้า จะได้มีพลังในการทำงานได้อีก

ยิ้มๆ...ครูอ้อยขา...ค่ำคืนนี้กะปุ๋มนอนไม่หลับคะ

คิดถึงคุณปู่..สงสารท่านคะ...

เพิ่งกลับมาจากมูลนิธิ...ทราบนะคะว่าตอนนี้ท่านได้หลับสบายแล้ว...ก็นั่งฟังเพลง...ทำงานไปเรื่อยๆ แบบไม่เร่งรีบ...เท่ากับเมื่อสองสามสัปดาห์ที่ผ่านมา...

....

กะปุ๋มขอเอาใจช่วยครูอ้อยที่รักของกะปุ๋มนะคะ...

เมื่อคืนวานกะปุ๋มก็เร่งส่งงาน...หลับคาโต๊ะทำงานเลยคะ...แต่พองานเสร็จ...สารสุขหลั่งอย่างมีความสุขคะ...

*^__^*

เป็นกำลังใจให้นะคะ

กะปุ๋ม

  • นอนหลับให้เยอะๆค่ะ 
  • ครูอ้อยมีเรื่องและปัญหาเยอะมาก
  • บางเรื่องหยิบยกมาพูดได้  บางเรื่องพูดไม่ได้  ก็พยายามไม่คิดถึง 
  • เห็นครูอ้อยแบบนี้  มีแผลในใจที่ต้องเลียแผลค่ะ  ทำเหมือนหมาเลย อิอิ
  • อ่านเรื่องนี้ซีคะจะได้ยิ้มค่ะ
  • หรือเรื่องนี้ก็ได้ค่ะยิ้มเหมือนกัน
  • ยิ้มยิ้ม  คิดถึงมากค่ะ

ครูอ้อยขา...ถ้าอย่างงั้นกะปุ๋มฝากสิ่งนี้ให้เลยนะคะ...

ยามค่ำคืน...ที่ยังไม่หลับใหล...

ก้าวเดินผ่านสิ่งที่รบกวนในจิตใจนะคะ

*^__^*

กะปุ๋ม

ตามมาจากบันทึกคุณจ๊อด  

  • ครูอ้อยยังนอนไม่หลับ 
  • จะทำสถิติการบ้านอีกวิชาหนึ่ง  เรื่องวิวัฒนาการเทคโนโลยีการศึกษา  ทำมาได้ร้อยละ 60 แล้วค่ะ 
  • Dr.Ka-Poom ไม่เคยเล่าให้ครูอ้อยฟังเลยว่า  เรียนที่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นอย่างไร  ครูอ้อยอยากอ่านค่ะ

ครูอ้อยคะ...

กะปุ๋มเคยเล่าไว้บ้างแล้วในบันทึกไหนนี่แหละจำไม่ได้คะ...เดี๋ยวกะปุ๋มจะเล่าให้ฟังใหม่นะคะ...มีเรื่องสนุกได้เรียนรู้มากเลยคะ...กะปุ๋มตัดสินใจเรียนที่ ม.รามฯ และสละสิทธิ์ ป.เอกที่ คณะพยาบาล มข. นี่เพราะใฝ่ฝันอยากเรียนที่นี่ ทั้งๆ ที่ตอนนั้น...แม่บอกว่าไปเรียนที่ต่างประเทศไหมแต่กะปุ๋มก็ปฏิเสธ เพราะไม่อยากจากเมืองไทย..ไปกลัวสูญเสียห้วงเวลาบางส่วนของชีวิตไปคะ...

กะปุ๋มเป็นรุ่นแรกที่เรียนที่นี่...ได้เรียนกับปรมาจารย์ทางด้านจิตวิทยาเก่งๆ  หลายท่าน เช่น ท่าน รศ.ดร.นวลศิริ เปาโลหิตย์ ท่าน รศ.ดร.ศิริบูลย์ สายโกสุม ท่าน รศ.ดร.ลัดดา กิตติวิภาค ลูกศิษย์สายตรงของครู Satir (Satir Model) และมี co-advisor เจ้าพ่อ be-mod (Behavior modicatio)ท่าน รศ.ดร.สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต...และที่สำคัญได้มีโอกาสเรียนวิจัยและร่วมงานในทีมวิจัยกับท่าน ศ.ดร.สุชาติ  ประสิทธิ์รัฐสินธุ์คะ...รุ่นกะปุ๋มมีสามคนคะ...เสียชีวิตไปแล้วท่านหนึ่ง คือ พี่อุ๊ (อ.นิ่มนวล  ศุภกำเนิดคะ) อีกท่านหนึ่ง คือ ท่าน อ.ดร.อุบล  เล่งวารีคะ...

ยิ่งสนุกและท้าทายกว่านั้นคือ...การวิ่งเรียนระหว่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยรามคำแหง...โดนตำรวจจราจรที่อนุสาวรีย์ชัยฯโบกเตือนหลายครั้งคะโทษฐานที่วิ่งผิดเลนส์บ่อยครั้ง...แหม!! ก็เส้นจราจรท่านเลือนลางเหลือเกินนี่คะ....

เอาพอหอมปากหอมคอก่อนนะคะ

*^__^*

เดี๋ยวกะปุ๋มมาเล่าใหม่นะคะ

กะปุ๋ม

อรุณสวัสดิ์ค่ะ Dr.Ka-Poom

  • นึกออกแล้วค่ะ  เคยได้อ่านแล้วค่ะ 
  • ครูอ้อยนี่แย่มาก  ขออภัยค่ะ  ขอแก้ตัวค่ะ 
  • เมื่อคืนนี้ครูอ้อยทำรายงานชิ้นที่ 2 เกือบเสร็จแล้ว  เหลืออีก 1 หัวข้อ  สรุป  และบรรณานุกรมค่ะ  คิดว่าในพุธจะได้ส่งอาจารย์  เพราะวันจันทร์และอังคารจะทำงานคะแนนนักเรียนอย่างเดียวค่ะ  ขอบคุณนะคะที่อ่านรายงานการปฏิบัติงานของครูอ้อย
เวลาเจอ case ที่ประเมินแล้วเหนือความสามารถการฟังแบบธรรมดา มักจะมีปัญหาว่าเมื่อแนะนำเขาไปคุยกับนักจิตวิทยา..เขาจะปฏิเสธและเข้าใจผิดว่าไปแนะนำเขา เขาไม่ใช่บ้า..ตรงเนี่ยค่ะ..ยังแก้ไม่ตกว่าเวลาแนะนำคนที่เขามีปัญหาที่ควรได้รับการบำบัดแต่เจ้าตัวไม่เห็นเป็นปัญหา...ควรทำอย่างไรดีคะ...ขออนุญาตปรึกษาเลยนะคะ

ได้ความรู้และข้อคิดอาไรดีดีจากพี่กะปุ๋มมากมายเลยค่ะขอบคุณมากนะค่ะที่มีcaseอาไรดีๆแบบนี้ในเราได้อ่านและศึกษาค่ะหนูสนใจเรื่องจิตวิทยามากค่ะเพราะเป็นเรื่องที่หนูเรียนอยู่ด้วยหนูเรียนอยู่ที่                 คณะสาธารณสุขศาสตร์ ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์     มหาวิทยาลัยมหิดล ว่างๆจาเข้ามาเยี่ยมนะคะ

สวัสดีค่ะ...คุณนฎาประไพ (มะตูม)

....

ดีจค่ะที่ได้แบ่งปัน...สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ...ได้พอเกิดประโยชน์ได้บ้างคะ...

แต่ทุกอย่างไม่มีสูตรสำเร็จตายตัวนะคะ... และนักบำบัดแต่ละคนก็จะมีแนวทางและกลวิธีที่แตกต่างกันไปตามฐานความคิดความเชื่อ... ของตนเอง แต่ที่ไม่แตกต่างกัน ก็คือ ความคิดความรู้สึกที่อยากช่วยเหลือกัน เพื่อให้เขาพ้นจากความทุกข์และปัญหา...ของตนเองค่ะ...

ขอบคุณค่ะ

(^_____^)

ยินดีที่ได้รู้จักกันนะคะ

กะปุ๋ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท