การเพิ่มความสุข(well-being)ในผู้ป่วยBrachial plexus injury


สุขภาวะ(Well-Being)คือการมีสุขภาพดี มีความรู้สึกเป็นสุข ความสมดุล ความเป็นองค์รวมของ4มิติ คือ กาย จิต สังคม ปัญญาหรือจิตวิญญาณ ที่บูรณาการอยู่ในการพัฒนามนุษย์และสังคม เพื่อสร้าง“ความอยู่เย็นเป็นสุข” (ดวงกมล ศักดิ์เลิศสกุล, 2549อ้างถึงใน กองบรรณาธิการใกล้หมอ,2547)



                     


ความเป็นองค์รวมของ 4 มิติ


1.  ทางกาย >>> ก็ต้องให้ผู้ป่วยยอมรับกับลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนไปของตัวเองให้ได้ ภาคภูมิใจในตนเอง(self-esteem)รู้ว่าตัวเองมีคุณค่า(self-values) สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง (self-confident) รู้ถึงความสามารถของตน(self-efficancy)


2.  ทางจิตใจ >>> ปรับจิตใจของผู้ป่วยให้ดีขึ้นโดยการให้ความรู้เรื่องโรค หรือชักชวนให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมที่เขาสนใจเพื่อเป็นให้เขาได้รู้ว่าเขาก้อสามารถทำกิจกรรมได้ก็จะส่งผลให้จิตใจของเขาเข้มแข็งมากขึ้นและการทำกิจกรรมที่เขาชื่นชอบก็ส่งผลให้เขามีความสุขได้อีกด้วย


3.  ทางสังคม >>> ให้ผู้ป่วยได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในสังคมอย่างเช่น ชวนกันไปออกกำลังกาย จัดงานเลี้ยงสังสรรค์ตามเทศกาลต่างๆเพื่อทำให้เกิดความสุขทั่วทั้งสังคม


4.  ทางจิตวิญญาณ >>> ปรับเปลี่ยนจิตวิญญาณหรือความรู้สึกในความกลัวของผู้ป่วยออกไป อย่างเช่น ไม่กล้าทำกิจกรรมเพราะกลัวจะเจ็บ เราก็ควรจะเริ่มให้ผู้ป่วยค่อยๆกล้าทำโดยการทำกิจกรรมที่เบาก่อนแล้วค่อยๆหลังไปเรื่อยมันก็จะเป็นเพิ่มความสามารถของเขา เมื่อเขากล้าที่จะทำกิจกรรมแล้วเขาก็จะเกิดความพร้อมของร่างกายและจิตใจก็จะส่งผลให้เกิดคุณภาพของชีวิตตามมา พอผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มันก็จะเกิดความสุขตามมานั้นเอง 



                                       ^________^


เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน joe
หมายเลขบันทึก: 520444เขียนเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 08:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2013 08:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท