อิเหนาชมดง


ประวัติอิเหนาชมดง

              ในปลายรัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงปรับปรุงบทละครเรื่องอิเหนา ตอน ตัดดอกไม้ฉายกริช เพื่อแลดงเป็นละครดำดึกดำบรรพ์ เนื้อเรื่องกล่าวถึงอิเหนา  สังคามาระตา พร้อมพี่เลี้ยง และเสนากิดาหยัน พากันเที่ยวป่า และได้พบนางยุบลค่อมที่พลัดหลงกับหมู่นางกำนัลขณะออกไปหาดอกลำเจียกถวายนางบุษบา ทรงนำเพลงแม่ศรีของเก่าซึ่งเดิมเป็นเพลงพื้นเมืองที่ขับร้องในการแสดงละครมาแต่งขยาย และสอดแทรกเสียงนก เสียงไก่ ให้เข้ากับทำนองร้อง และดนตรีอย่างสนิทสนมกลมกลืน เรียกชื่อว่าเพลงแม่ศรีทรงเครื่อง นักดนตรีนิยมเรียกกันว่า “ตับนก” นับเป็นเพลงไทยเพลงแรกที่สอดแทรกเสียงสัตว์ให้เข้ากับทำนองเพลง

  สำหรับกระบวนท่ารำของอิเหนา และสังคามาระตา มีมาแต่เดิม ครูศิริวัฒน์ ดิษยนันทน์ รับถ่ายทอดมาจากปรมาจารย์ด้านนาฏศิลป์ไทย และนำมาถ่ายทอดให้กับศิษย์ของกรมศิลปากรและบรรดาศิลปิน มักเรียกการแสดงชุดนี้ว่า  “อิเหนาชมดง”


หมายเลขบันทึก: 520179เขียนเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2013 00:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กุมภาพันธ์ 2013 00:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท