Sbar


การสื่อสารกับสหวิชาชีพด้วย SBAR เทคนิค

การปรับปรุงการสื่อสารระหว่างสหวิชาชีพ โดยใช้ SBAR เทคนิค

SBAR เทคนิคประกอบด้วย
1.S - Situation.สถานการณ์ที่ทำให้ต้องรายงาน
2. B – Backgroundข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับสถานการณ์
3. A - Assessment.การประเมิน
4. R - Recommendation.ข้อเสนอแนะ

รายละเอียดของ SBAR เทคนิคแต่ละขั้นตอนมีดังนี้
1. S - Situation.ผู้รายงานระบุสถานการณ์อย่างสั้นๆ
ได้แก่ การระบุตัวผู้รายงาน โดยเริ่มต้นแจ้งชื่อ ตำแหน่งของตนเอง แจ้งชื่อผู้ป่วยและจุดที่ผู้ป่วยกำลังรับการรักษา หรือหมายเลขห้อง
รายงานสภาพปัญหาของผู้ป่วยที่พบแบบรวบรัดกระชับ เวลาที่เกิด ความรุนแรง
2. B – Backgroundข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับสถานการณ์
ได้แก่ การให้ข้อมูลทางคลินิคหรือตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์
เช่น วันที่เข้ารับการรักษา การวินิจฉัยโรคตอนแรกรับการรักษา
รายการยาที่ผู้ป่วยใช้ สารน้ำที่กำลังให้อยู่ ประวัติแพ้ยา ประวัติการใช้ยาเดิม เป็นต้น
รายงานสัญญาณชีพล่าสุด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ และวันเวลาที่ทำการทดสอบ ผลการทดสอบครั้งที่แล้วเพื่อเปรียบเทียบ(ถ้ามี)
ข้อมูลทางคลินิกอื่นๆ(ถ้ามี)
3. A - Assessment.การประเมิน
ได้แก่ การสรุปสิ่งที่สังเกตเกี่ยวกับสถานการณ์ในมุมมองของตนเอง
รายงานสิ่งที่ตนเองสังเกตเห็น ภาวะรุนแรงของปัญหา เช่น ผู้ป่วยมีปัสสาวะสีน้ำตาลอ่อน
ผลการวิเคราะห์และพิจารณาทางเลือกต่างๆ ของตนเอง
ปัญหานี้เป็นปัญหารุนแรงหรืออันตรายถึงชีวิตหรือไม่
4. R - Recommendation.ข้อเสนอแนะ
ได้แก่ การให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย อะไรที่คิดว่าจำเป็นสำหรับผู้ป่วย
ข้อเสนอแนะหรืออะไรที่จำเป็นในการแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย
ท่านคิดว่าทางออกอะไรที่สามารถเสนอแก่แพทย์
อะไรที่คิดว่าต้องการจากแพทย์ในการช่วยให้อาการของผู้ป่วยดีขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที ปลอดภัยจากภาวะวิกฤติ
2. เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลได้อย่างถูกต้อง /รวดเร็ว



วิธีปฏิบัติ
1. รายงานแพทย์เวรทันทีที่ประเมินผู้ป่วยแล้วพบความผิดปกติ ซึ่งจะต้องได้รับการดูแลรักษาด้วยยาหรือหัตถการทางการแพทย์ ทั้งนี้จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีคำสั่งการรักษาจากแพทย์
2. รายงานแพทย์เวรในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะวิกฤต /กึ่งวิกฤตตาม รูปแบบ SBAR


วิธีการรายงาน :

S

Situation (อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยในขณะนั้น)

ö ชื่อผู้รายงาน………………………………............ ö หน่วยงาน /หอผู้ป่วย...................................

ö รายงาน ณ วันที่......./......./......... เวลา................น. öRoom /Bed No……………..…………….

ö อาการ /อาการแสดงผิดปกติที่พบ..................................................................................................................

öLabs สำคัญอื่นๆ............................................................................................................................................

B

Background (อธิบายข้อมูลทางคลินิกตามที่เกิดขึ้น)

ö อาการสำคัญของผู้ป่วยที่พบขณะนี้………………………………......................Desease…………………………………………………………………..…

ö ระดับความรู้สึกตัว.............................................................................................................

ö สภาพผิวหนัง..............................................................................................................................

ö การรักษาที่ได้รับอยู่.......................................................................................................................................

ö การให้ O2.......................................................................................................................................................

A

Assessment (อธิบายปัญหาหรือประเด็นสิ่งที่คาดหวังว่าจะเกิดขึ้น)

ö พบว่าผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง /ผิดปกติทางระบบ.……………................................................................

R

Recommendation (พยาบาลเสนอแนะวิธีการจัดการกับปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่)

ö ข้อเสนอแนะ

เช่น ปรับแผนการรักษา................................(บอกเหตุผลที่ให้การรักษาพยาบาลที่สำคัญเร่งด่วนไปก่อน)

การส่งตรวจวินิจฉัย Labs ,X-Rays ,CT ที่จำเป็น ระบุ........................................................


3. รายงานแพทย์เมื่อผู้ป่วยมีความผิดปกติของสัญญาณชีพ ดังนี้ :-

ตารางแสดงค่าความดันปกติ (ตามช่วงอายุ)

อายุ

Systolic (mmHg)

Diastolic (mmHg)

0 - 1 เดือน

> 60

> 50

1 - 12 เดือน

70 - 95

50 - 60

1 - 8 ปี

80 - 110

60 - 75

10 ปี - ผู้ใหญ่

90 - 140

60 - 90


ตารางแสดงความผิดปกติของชีพจร (ตามช่วงอายุ)

อายุ

อัตราการเต้น (ครั้ง/นาที)

แรกเกิด - 1 เดือน

120 - 160

1 - 12 เดือน

100 - 120

1 - 8 ปี

80 - 100

9 ปี - ผู้ใหญ่

60 - 100


ตารางแสดงความผิดปกติของอัตราการหายใจ (ตามช่วงอายุ)

อายุ

อัตราการหายใจ (ครั้ง/นาที)

แรกเกิด - 1 เดือน

40 - 60

1 - 12 เดือน

25 - 50

1 - 8 ปี

15 - 30

9 ปี - ผู้ใหญ่

12 - 20

4. รายงานแพทย์เวรทันทีที่ได้รับรายงานค่า Labs วิกฤต

5. รายงานแพทย์เวรทันทีที่มีความผิดปกติ ตามเกณฑ์การรายงานแพทย์ โดยใช้ตัวส่งสัญญาณอันตราย ดังนี้ :

Labs

V/S

Assessment

- Glucose <๕๐ mg/dlor >๔๐๐ mg/dl

- Serum Creatinine >๑.๕ mg/dl

- Hct. มีการเปลี่ยนแปลง >๕%

- Platelets <๑๐๐,๐๐๐ /uL

- K+ <๓.๐ mmol/L or >๕.๐mmol/L

- Na+ <๑๒๕ mmol/L or >๑๕๕ mmol/L

- TCO2 <๑๕ mmol/L

- MB >๑๓ mg/dl

- Acute Change

(๑) HR <๔๐ or >๑๒๐ bpm

(๒) Systolic BP <๙๐ และ

>๑๖๐ mmHg

(๓) RR <๑๒ or >๓๐ bpm

(ในผู้ใหญ่)

(๔) O2 Sat. <๙๒%

(๕) Conscious Change

(๖) Coma Score <๑๓ คะแนน

(๗) BT >๓๘.๕ 0C

- Urine Output <๓๐ ml/hr

- Chest Pain

- กระสับกระส่าย

- Arrest

- Patient Fall

- Cyanosis

- ชักขณะอยู่ในโรงพยาบาล

๖. ประสานงานทันทีเมื่อเกิดปัญหาที่ต้องได้รับการดูแลโดยทีมสหวิชาชีพและรายงานแพทย์เวรรับทราบ

คำสำคัญ (Tags): #sbar
หมายเลขบันทึก: 520176เขียนเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2013 23:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มีนาคม 2015 01:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ่านเพื่อประเมินครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท