จุดอ่อนของงานวิจัย


จุดอ่อนของงานวิจัย

ประเด็นสำคัญของงานวิจัย. คือการทดสอบสมมติฐาน. การค้นคว้าหาคำตอบ. การหาแนวทางการพัฒนา. การสร้างรูปแบบ. การหาความสัมพันธ์. การหาอิทธิพล. พูดได้เลยว่าในประเด็นเหล่านี้ร้อยทั้งร้อยของงานวิจัยหนีไม่พ้น. แต่ความแตกต่างของงานแต่ละชิ้นอยู่ที่การออกแบบการวิจัย. วิธีการทดสอบหรือการได้มาซึ่งคำตอบของสิ่งที่เราให้ความสนใจศึกษา. งานบางชิ้นก็จะอยู่บนพื้นฐานแนวคิดหรือทฤษฎีเดียว. บางงานก็มีการผสมผสานมาจากหลายแนวคิด. ทำให้ประเภทของงานวิจัยมีทั้งแบบเชิงเดี่ยวและเชิงผสม. มีการเก็บข้อมูลทังเชิงปริมาณ. และเชิงคุณภาพควบคู่กันไป. งานบางชิ้นใช้เชิงปริมาณตามด้วยเชิงคุณภาพ. งานบางชิ้นใช้เชิงคุณภาพตามด้วยเชิงปริมาณ จะเลือกใช้แบบใดขึ้นอยู่กับการออกแบบงานวิจัยให้สอดค้องกับวัตถุประสงค์และแบบงานวิจัยของแต่ละงาน. สิ่งเหล่านี้จะมีความสัมพันธ์กันเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน. รวมถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่างต้องเป็นตัวแทนที่ดี. ไก้มาโดยใช้หลักความน่าจะเป็นถือว่าดีที่สุด. แต่ก็มีงานบงประเภทไม่สามารถทำได้. ก็ต้องใช้วิธีการแบบอื่นเข้ามาชวยลดความลำเอียง. ความคาดเคลื่อนเหล่านั้นแทน. เพราะบางครั้งการสุ่มกลุ่มตัวอย่งไม่สามารถทำได้เสมอไป. แต่ก็ไม่ได้หมายความว่างานนั้นไม่ดี. เช่นเดียวกับบางคนที่ชอบบอกว่าการออกแบบวิจัยเชงทดลองที่ดีแล้วควรมีกลุ่มสองกลุ่ม. คือกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม. ต้องทดสอบก่อนนำค่ามาเปรียบเทียบกับหลังดำเนินการวิจัย. แต่ถ้างานไหนออกแบบมามีกลุ่มทดลองกลุ่มเดียวบอกว่ารับไม่ได้. ในความเป็นจริงยึดแบบนั้นตายตัวไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราทำการศึกษาด้วย. และที่สำคัญพบเห็นเสมอคือการใช้สถิติทดสอบ. เราใส่ตัวเลขเข้าไปในโปรแกรมเครื่องก็คำนวณค่าออกมาให้. แล้วเราก็หยิบค่าที่ได้ไปใช้โดยไม่รู้ความหมาที่แท้จริงสิ่งนี้น่ากลัวมาก. ดังเช่นทดสอบโดยใช้ค่าที t -test แสดงค่าใส่มาติดลบ. ถามว่าเพราะอะไร. ทำไมเป็นแบบนี้ก็ไม่สามารถอธิบายได้.  สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นจุดอ่อนของงานวิจัยทั้งสิ้น. ที่ต้องเรงปรับปรุแก้ไขเพื่องานที่ออกมาจะสามารถนำไปสู่นโยบายมิใช่ทำแล้วก็เก็บวางไว้บนชั้นในห้องสมุด. มันเสียแรง. เสียเวลา. เสยงบประมาณ

คำสำคัญ (Tags): #งานวิจัย
หมายเลขบันทึก: 520069เขียนเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2013 20:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2013 20:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

... Mixed-Methods Research .... พอได้ นะคะ 

ถ้าเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี. ตอนนี้ค่อนข้างใช้กันมาก. แต่ก็ยังมีคนใช้ผิดเรียกผิดกันอยู่มากพอสมควร. เนื่องจากแนวคิดของการวิจัยผสาวิธีก็มีมากกว่าหนึ่งแวคิด  เช่น. แนวคิดที่ให้ทำไปพร้อมกัน. หรือทำเชิงปริมาณก่อน/เชิงคุณภาพก่อน แต่เท่าที่เห็นตอนนี้มีวิจัยบางชิ้นบอกว่างานเราเป็นการวิจัยผสานวิธี. พออ่านจริงๆ กลายเป็นเพียงแค่วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลเท่านั้น. ยังไม่เป็นไปตามแนวทางที่ถูกต้อง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท