น้ำสะอาด-ปราศจากโรค


น้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในชีวิตมนุษย์ เพราะเราไม่สามารถที่จะขาดน้ำได้ในการดำรงชีวิต คุณภาพน้ำจึงเป็นเรื่องสำคัญต่อสุขภาพของผู้บริโภค

จากการศึกษาภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงของประชากรทั่วโลก จาก 67 ปัจจัยเสี่ยง ในปี 2553 21 ภูมิภาค ได้จัดอันดับการบริโภคน้ำที่ไม่สะอาด ทำให้ประชากรโลกต้องสูญเสียปีสุขภาวะดี อยู่ในอันดับที่ 34 และในประเทศไทย รายงานภาระโรคจากปัจจัยเสี่ยงของประชากรไทย พ.ศ.  2552 พบว่าการบริโภคน้ำไม่สะอาด ก่อให้เกิดภาระโรคและความสูญเสียปีสุขภาวะ 54,113 ปี คิดเป็นอันดับที่ 12 จากทั้งหมด 14 ปัจจัยเสี่ยง ซึ่งก่อให้เกิดโรคอุจจาระร่วง และมีการตายร้อยละ 1.1 นอกจากนี้จากการสำรวจแหล่งน้ำดื่มของประชากรไทยปี 2552 พบว่าประชากรที่ไม่มีน้ำสะอาดใช้ส่วนใหญ่อยู่ในเขตชนบท

คุณภาพน้ำที่เหมาะสมกับการบริโภค ควรเป็นน้ำที่ปราศจากสี กลิ่น รส ความขุ่น สารพิษ เชื้อโรค และมีปริมาณเกลือแร่ที่เหมาะสม ซึ่งต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่ได้กำหนดไว้ของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงอุตสาหกรรม บางพื้นที่ใช้น้ำประปาในชุมชนหรือประปาหมู่บ้าน กระบวนการผลิตและดูแลระบบโดยชุมชนเองซึ่งไม่มีความรู้เฉพาะด้านน้ำประปาที่ได้จึงยังไม่เป็นไปตามมาตรฐาน ทั้งนี้ในบางพื้นที่ประชาชนยังเข้าไม่ถึงระบบสาธารณูปโภค ทำให้ยังต้องใช้น้ำจากแหล่งน้ำผิวดิน เช่นแม่น้ำ น้ำบ่อตื้น ซึ่งขาดการจัดการในเรื่องสุขลักษณะ ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆมาสู่คน

น้ำสะอาดจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ เพื่อสุขภาพที่ดีของคุณค่ะ

 

การศึกษาภาระโรคและปัจจัยเสี่ยงปี 2552

รายงานการสำรวจสุขภาพประชากรไทย ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552

A comparative risk assessment of burden of disease andinjury attributable to 67 risk factors and risk factor clustersin 21 regions, 1990–2010: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2010

ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 332 (พ.ศ. 2521) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่องกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมน้ำบริโภค ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 68 ลงวันที่ 4 กรกฎาคม 2521

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135(พ.ศ. 2534) เรื่อง น้ำบริโภคในภาชนะที่ปิดสนิท (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534

สนใจข้อมูลเพิ่มเติม: แผนยุทธศาสตร์และประเมินภาระโรคประชากรไทย สำนักพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ โทร 02-5902383

ร่วมกับข่าวสารข้อมูลกับเราได้ที่ 

Burden of Disease [BOD] on Facebook

หรือ http://thaibod.net/ 

 

หมายเลขบันทึก: 519894เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013 08:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2013 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท