มาตรฐาน e-Learning ที่ทั่วโลกต้องมี


       หลายๆ คนที่เข้าสู่วงการ e-Learning จำเป็นต้องรู้เรื่องมาตรฐานของ e-Learning เพื่อที่เราจะได้มีความรู้และเข้าใจในการพัฒนางานที่เกี่ยวข้องกับ e-Learning ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบ LMS (Learning Management System) หรือบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning Courseware) ซึ่งคนที่ทำงานด้านนี้ ผมย้ำว่าจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องรู้จักมาตรฐานที่สำคัญของ e-Learning ที่เรียกกว่า SCORM ที่ย่อมาจาก Sharable Content Object Reference Model เนื่องด้วยจากหน่วยงานที่เป็นเจ้าภาพในการออกมาตรฐานนี้คือหน่วยงานกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือที่เรียกว่า Department of Defense (DoD) ซึ่งได้นำข้อกำหนดร่างมาตรฐาน SCORM ที่มีอยู่แล้วจากหลายๆ ค่ายที่ทำไว้ดีอยู่แล้ว มารวมเข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น [1] การนำส่วนของ Content Packaging ใช้มาตรฐานของ IMS, MetaData Dictionary ใช้มาตรฐานของ IEEE-LTSC, Data Model ใช้มาตรฐานของ AICC, Content Structure ตัดบางส่วนจากมาตรฐานของ AICC, Communication ใช้มาตรฐานของ AICC ส่วนการทำ Sequencing ซึ่งเป็นส่วนเพิ่มเติมให้กับ SCORM version 2004 เป็นต้นมาจะใช้มาตรฐานของ IMS

      หลังจากนั้นจึงมี [2] การตั้งหน่วยงานร่วมมือกันระหว่าง DOD, รัฐบาล, ภาคเอกชนและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันชื่อ ADL (Advanced Distributed Learning, www.adlnet.org) ขึ้นในปี 1997 และได้ออกข้อกำหนดแรกในเวอร์ชั่น 1.0 เมื่อปี 2000 แต่เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันคือ ข้อกำหนด SCORM Version 1.2 ซึ่งออกเมื่อเดือนตุลาคม ปี 2001 จนปัจจุบัน 2013 ตอนนี้เป็น SCORM 2004 4th Edition แล้ว



วิสัยทัศน์ของ ADL (Advanced Distributed Learning, 1997)

       "Provide access to the highest quality education, training and performance aiding, tailored to individual needs, delivered cost effectively, anytime and anyware"

 

       ผมลองค้นข้อมูลต่อ ก็เลยได้ข้อสรุปว่ามีด้วยกัน 3 เรื่องในการนำส่วนที่ดีของที่อื่น (หน่วยงาน/องค์กรที่เค้าออกแบบมาตรฐานไว้ใช้เอง) มาใช้กำหนดมาตรฐาน SCORM [3]

  1. IEEE - กำหนดคำอธิบายข้อมูล ที่ใช้สร้างเนื้อหา ที่เราเรียกว่า Metadata ซึ่ง IEEE ได้เรียกมาตรฐานนี้ว่า LOM (Learning Object Metadata) หรือเรียกอีกอย่างว่า IEEE 1484.12.1 (อันนี้จำยากไปหน่อย)
  2. IMS (Institutional Management System Project) - ใช้ในการทำ Content Packaging เพื่อความสะดวกในการย้ายเนื้อหาบทเรียนจากระบบหนึ่งไปอีกระบบหนึ่ง
  3. AICC (Aviation Industry CBT Committee) - ใช้สำหรับกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารกันระหว่างหรือเรียกอีกอย่างว่าการทำ API ระว่าง Content กับ LMS

 

 

      ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้ที่ผมใช้บ่อยหรือต้องศึกษาบ่อยๆ คงจะเป็นเรื่องการทำ Content Pakaging กับ API ที่ต้องมีการส่งค่าระหว่าง Content กับ LMS

       แล้วปัญหาล่ะ มันคืออะไร!! ปัญหาเริ่มต้นมันก็มาจากหน่วยงานกลาโหมสหรัฐ (DoD) ซึ่งตอนแรกผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเป็น "กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ" ผมนำข้อความบางส่วนจาก ADL มาให้ดูกันครับ

         [4] "The Advanced Distributed Learning (ADL) Initiative was a result of Presidential Executive Order 13111. Executive Order 13111 was signed on January 12, 1999 by President William J. Clinton, to ensure that DoD and other federal employees take full advantage of technological advances in order to acquire the skills and learning needed to succeed in an ever-changing workplace. The intent of the Executive Order was to provide flexible training opportunities to employees and to explore how federal training programs, initiatives, and policies can better support lifelong learning through the use of learning technology.  The ADL Initiative is part of the Department of Defense (DoD) Office of the Deputy Assistant Secretary of Defense (Readiness)"

     ส่วนประโยชน์ของการมีมาตรฐาน SCORM นั้นผมขอหยิบมาจากกระทรวงศึกษาให้เลยนะครับ

  1. นำเนื้อหามาใช้ได้ใหม่ (Reuse Content) ทำให้การพัฒนาเนื้อหารวดเร็วขึ้น โดยเมื่อพัฒนาขึ้นเรื่องหนึ่งสามารถนำไปใช้กับผู้เรียน ที่ต่างกัน หรือวิชาอื่นๆ ได้ ทำให้ลดระยะเวลาในการพัฒนา
  2. เนื้อหาสามารถใช้ร่วมกันระหว่างระบบได้ (Share Content) การใช้ข้อกำหนด SCORM ทำให้การ Integrate ระบบง่ายขึ้นทั้ง ในปัจจุบันและในอนาคต ช่วยป้องกันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน และค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าของ (Cost of Ownership) ถูกลงบทเรียน ตามข้อกำหนด SCORM สามารถใช้ร่วมกับระบบที่เข้ากันได้ (Compliant) กับ SCORM ทั้งในปัจจุบันและอนาคต
  3. ลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบทเรียน (Content Maintenance) โดยที่องค์กรสามารถปรับปรุงเนื้อหาบทเรียนได้เอง(in-house) สามารถเลือกใช้เครื่องมือได้หลากหลาย โดยไม่ติดกับซอฟต์แวร์ใดๆ หรือผู้ผลิตรายใด ก็ทำให้ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาบท เรียนขององค์กรถูกลง
  4. สามารถหลีกเลี่ยงซอฟต์แวร์ที่ใช้สร้างเนื้อหาที่เฉพาะเจาะจง (Proprietary Authoring Tools) เนื่องจาก Content ตามข้อ กำหนด SCORM เป็น Web based Content จึงสามารถใช้ HTML tool ไปสร้าง Content ได้ เป็นการหลีกเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ เฉพาะเจาะจงใดๆ สร้าง Content
  5. ฝึกหัดผู้พัฒนา Content ได้เร็วกว่า (Train developer faster) เนื่องจาก การนำ SCORM ไปใช้เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ ในอนาคตเราสามารถหาผู้ผลิต ผู้พัฒนา Content ได้โดยง่าย พร้อมกับใน ความรู้ และทักษะของ SCORM ก็จะเผยแพร่ออกไปอย่าง กว้างขวางง่ายต่อการหาคู่มือ ตำรา และเอกสารการฝึกอบรม

    สำหรับคนที่สนใจในเรื่องมาตรฐาน ข้อกำหนดต่างๆ สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมอื่นๆ ได้ที่ http://www.adlnet.gov หรือจะดูเป็นวีดีโอก็ได้ น่าจะเข้าใจง่ายกว่าที่ http://www.youtube.com/user/ADLInitiative?feature=watch ผมได้นำบางส่วนของวีดีโอในยูทูปโดยเจ้าของที่กำหนดมาตรฐานนี้เลย (ADL) เรื่อง Introduction to SCORM มีทั้งหมด 4 ตอนมาแปะไว้ให้ด้วยครับ

 

Introduction to SCORM (part1)

Introduction to SCORM (part2)

Introduction to SCORM (part3)

Introduction to SCORM (part4)

อ้างอิง

[1] http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/www.pantip.com/tech/comsci/topic/CS1765838/CS1765838.html
(อ้างอิงเมื่อ 13/2/56)

[2] http://www.kroobannok.com/140 (อ้างอิงเมื่อ 13/2/56)

[3] http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=18851&Key=news15 (อ้างอิงเมื่อ 13/2/56)

[4] http://www.adlnet.gov/overview (อ้างอิงเมื่อ 13/2/56)

เอกสารเพิ่มเติม -> http://www.adlnet.gov/wp-content/uploads/2011/07/ADL_Guidelines_Creating_Reusable_Content.pdf

คำสำคัญ (Tags): #lms#scorm
หมายเลขบันทึก: 519532เขียนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2013 00:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2013 19:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท