การบริหารจัดการธุรกิจขององค์การสหกรณ์ คำนึงถึง


การบริหารจัดการธุรกิจขององค์การสหกรณ์  คำนึงถึง

1 .  ความเป็นสหกรณ์ ตามนิยามสหกรณ์สากล

“Definition  A co-operative is an autonomous association of persons united voluntarily to meet their common economic, social, and cultural needs and aspirations through a jointly-owned and democratically-controlled enterprise.”

คำนิยาม  สหกรณ์เป็นองค์การอิสระของบุคคลซึ่งรวมกันด้วยความสมัครใจเพื่อสนองความต้องการอันจำเป็น และความมุ่งหมายร่วมกันทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม โดยการดำเนินวิสาหกิจที่เป็นเจ้าของร่วมกัน และควบคุม ตามแนวทางประชาธิปไตย

จาก  http://ica.coop/en/what-co-op/co-operative-identity-values-principles

2 หลักการสหกรณ์สากล ของ ICA
Principles  “ The co-operative principles are guidelines by which co-operatives put their values into practice.”

หลักการสหกรณ์ คือ "แนวทางที่สหกรณ์ยึดถือปฏิบัติเพื่อให้คุณค่าทางสหกรณ์เกิดผลเป็นรูปธรรม" ซึ่งประกอบด้วยการที่สำคัญรวม 7 ประการ กล่าวคือ

จาก  http://ica.coop/en/what-co-op/co-operative-identity-values-principles
3. การให้บริการสมาชิก เพื่อความพึงพอใจของสมาชิก

องค์การสหกรณ์ทำธุรกิจเพื่อให้บริการสมาชิก  เพื่อให้สมาชิก(เจ้าของ) สหกรณ์ได้รับความพึงพอใจจากบริการของสหกรณ์ที่ตนเองเป็นเจ้าของ
4. สมาชิกสหกรณ์เป็นเจ้าของและผู้ใช้บริการ
สมาชิก(เจ้าของ)สหกรณ์ สามารถบริหารงานสหกรณ์ ได้ด้วยการบริหารผ่าน หลักการสหกรณ์ที่  2 โดยเลือกตัวแทนเข้าไปบริหาร ด้วยวิธี  One member one vote  ตามหลักการสหกรณ์ที่ 2 “2nd Principle: Democratic Member Control

Co-operatives are democratic organisations controlled by their members, who actively participate in setting their policies and making decisions. Men and women serving as elected representatives are accountable to the membership. In primary co-operatives members have equal voting rights (one member, one vote) and co-operatives at other levels are also organised in a democratic manner.”

หลักการที่ 2 : การควบคุมโดยสมาชิกตามหลักประชาธิปไตย

สหกรณ์เป็นองค์การประชาธิปไตยที่ควบคุมโดยมวลสมาชิก ผู้มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ บุรุษและสตรีผู้ที่ได้รับการเลือกเป็นผู้แทนสมาชิกต้องรับผิดชอบต่อมวลสมาชิก ในสหกรณ์ขั้นปฐมสมาชิกมีสิทธิในการออกเสียงเท่าเทียมกัน (สมาชิกหนึ่งคนหนึ่งเสียง) สำหรับสหกรณ์ในระดับอื่นให้ดำเนินไปตามแนวทางประชาธิปไตยด้วยเช่นกัน



สมาชิกทุกคนตระหนักว่าบทบาทที่สำคัญของตนคือ การที่ต้องเป็นทั้งเจ้าของและลูกค้าในคนเดียวกัน (Co-owners and Customers) จึงต้องเป็นทั้ง ผู้สมทบทุน ผู้ควบคุม และผู้อุดหนุน หรือผู้ใช้บริการของสหกรณ์
 
จาก  http://sahakornpathum.blogspot.com/2008_06_01_archive.html


5.สหกรณ์ แบ่งปัน สร้างสรรค์ ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน



องค์การสหกรณ์เป็นเลิศเพื่อโลก เพื่อสร้างสรรค์ แบ่งปัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ระหว่างสมาชิกสหกรณ์เดียวกัน ระหว่างสหกรณ์ ตามหลักการสหกรณ์ที่ 6
 
“6th Principle: Co-operation among Co-operatives

Co-operatives serve their members most effectively and strengthen the co-operative movement by working together through local, national, regional and international structures.”

หลักการที่ 6 :การร่วมมือระหว่างสหกรณ์ 

สหกรณ์สามารถให้บริการแก่สมาชิกได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุดและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ขบวนการสหกรณ์ได้ โดยการประสานความร่วมมือกันในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ ระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

“7th Principle: Concern for Community

Co-operatives work for the sustainable development of their communities through policies approved by their members.”

หลักการที่ 7 :ความเอื้ออาทรต่อชุมชน 

สหกรณ์พึงดำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของชุมชน ตามนโยบายที่มวลสมาชิกให้ความเห็นชอบ

6.CSR --> CSV --> สหกรณ์

องค์การสหกรณ์ทำหน้าที่ได้ยิ่งกว่า องค์การธุรกิจ CSV ในการตอบสนองความต้องการของชุมชนและสังคม เพื่อความสุขของคนในชุมชนและสังคมนั้น ๆ  “แทนที่บริษัทต่างๆ จะพาพนักงานออกไปปลูกป่า สร้างศาลา บริจาคเงิน ฯลฯ ซึ่งถือเป็นกิจกรรม CSR นั้นคือทำให้เกิดความรู้สึกที่ดีว่าได้ตอบแทนสังคม แต่ถ้าคิดในเชิงของ CSV ที่เริ่มจากการไปเสาะแสวงหาความต้องการที่แท้จริงของสังคมหรือชุมชนต่างๆ จากนั้นลองกลับมาพิจารณาดูตัวองค์กรเองว่ามีความสามารถหรือศักยภาพในเรื่องใดบ้าง และลองดูว่าจะสามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการใดก็ตามที่สามารถไปตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและชุมชนนั้นๆ ได้บ้าง ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เป็น Win-Win นั่นคือ ทั้งสังคมและชุมชนก็มีสินค้าและบริการที่มาตอบสนองต่อความต้องการและในขณะเดียวกันบริษัทก็มีโอกาสทางธุรกิจ แถมสิ่งที่พัฒนาขึ้นมาสำหรับสังคมและชุมชนนั้น”
จากhttp://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/pasud/20110301/379569/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%81-CSR-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88-CSV.html
องค์การสหกรณ์ สามารถตอบคำถาม เรื่องดังกล่าวได้เป็นอย่างดีเพราะ เจ้าของและผู้ใช้บริการเป็นบุคคลเดียวกัน สมาชิกของชุมชน สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์ด้วยควาสมัครใจ เพราะองค์การสหกรณ์เปิดกว้างในการรับสมาชิก ตามหลักการสหกรณ์ที่ 1

“1st Principle: Voluntary and Open Membership

Co-operatives are voluntary organisations, open to all persons able to use their services and willing to accept the responsibilities of membership, without gender, social, racial, political or religious discrimination.”

“หลักการที่ 1 : เปิดรับสมาชิกโดยสมัครใจและเปิดกว้าง

สหกรณ์เป็นองค์การแห่งความสมัครใจที่เปิดรับบุคคลทั้งหลายที่สามารถใช้บริการของสหกรณ์ และเต็มใจรับผิดชอบในฐานะสมาชิกเข้าเป็นสมาชิก โดยปราศจากการกีดกันทางเพศ สังคม เชื่อชาติ การเมือง หรือศาสนา”

 จาก  http://ica.coop/en/what-co-op/co-operative-identity-values-principles

7.สหกรณ์ best for the world
องค์การสหกรณ์นั้นดำเนินธุรกิจเพื่อบริการสมาชิก(เจ้าของ)สหกรณ์ และแบ่งปัน สร้างสรรค์สู่สังคม

8.เป็นธุรกิจที่ทำให้คนมีความสุขร่วมกัน ด้วยวิธีการสหกรณ์


ผลตอบแทนสูงสุดจาก การดำเนินธุรกิจขององค์การสหกรณ์คือ ความสุขร่วมกัน ของสมาชิกสหกรณ์ และคนในสังคมที่ได้รับการแบ่งปันจากองค์การสหกรณ์ 


ทั้ง  8  หัวข้อ คือ สิ่งที่ผู้บริหารจัดการธุรกิจขององค์การสหกรณ์ คำนึงถึง

พีระพงศ์  วาระเสน  
9 กุมภาพันธ์  2556

หมายเลขบันทึก: 519046เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 ตุลาคม 2014 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท