นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้


นวัตกรรมแห่งการเรียนรู้

ความหมายของนวัตกรรม

  นวัตกรรม  หมายถึง  การนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม  เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น  ดังนั้น  ไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม  เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็น  นวัตกรรม

วัตถุประสงค์การนำนวัตกรรมมาใช้

  การนำนวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนมีจุดประสงค์สำคัญคือ การเพิ่มประสิทธิภาพของการสอน  ซึ่งส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน  แต่บางครั้งมีการนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหาของผู้เรียน

องค์ประกอบของนวัตกรรมการเรียนรู้

  นวัตกรรมการเรียนรู้มีองค์ประกอบสำคัญ  4 ประการ  ได้แก่

  1.วัตถุประสงค์  เป็นส่วนที่บอกว่านวัตกรรมนั้นใช้เพื่อพัฒนาอะไร  ผลที่เกิดขึ้นจากการใช้คืออะไร  วัตถุประสงค์ที่มีความชัดเจนจะช่วยให้ผู้ที่ต้องการใช้นวัตกรรมนั้นมีข้อมูลสำหรับพิจารณาตัดสินใจ

  2. แนวคิดพื้นฐาน  เป็นส่วนที่ทำให้นวัตกรรมมีความน่าเชื่อถือว่าเมื่อนำไปใช้จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์

  3. โครงสร้างหรือขั้นตอนการใช้  เป็นส่วนที่แสดงภาพรวมของนวัตกรรม  ถ้านวัตกรรมเป็นวัตถุ  สิ่งของ  จะมีโครงสร้างที่แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ  ผู้เรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในบัตรคำสั่ง  โดยใช้สื่อที่เป็นบัตรเนื้อหา  บัตรกิจกรรม  บัตรคำถาม  รวมถึงรูปภาพ  ของจริงหรือสื่ออื่น ๆ

  4.  การประเมิลผล  เป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรม  นวัตกรรมจะระบุวิธีวัดผล  เครื่องมือที่ใช้วัดผล  และวิธีการประเมิลผล

นวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทหลักสูตร

·  หลักสูตรบูรณาการ

·  ภูมิปัญญาทั้งถิ่นกับหลักสูตร

·  โครงงาน

หลักสูตรบูรณาการ

  การบูรณาการ เป็นการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ทุกชนิดที่บรรจุอยู่ในแผนของหลักสูตร  เป็นการเชื่อมโยงในแนวนอน  ระหว่างหัวข้อ  และเนื้อหาต่าง ๆ ที่เป็นความรู้ทั้ง  3  ด้าน  ได้แก่  พุทธิพิสัย  ทักษะพิสัย  และจิตพิสัย  การบูรณาการทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้เป็นอันหนนึ่งอันเดียวกัน  และรู้ในเรื่องนั้นอย่างลึกซึ่ง

สาเหตุของการบูรณาการหลักสูตร

1.  การขยายตัวของความรู้

2.  หลักสูตรปัจจุบันไม่เหมือนชีวิตจริง

3.  ปัจจุบันเราไม่อาจฝึกคนให้เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

วิธีจักหลักสูตรบูรณาการ

  1.  แบบสหวิทยาการ  คือการสร้างหัวเรื่องขึ้นมาแล้วนำความรู้จากวิชาต่าง ๆ มาโยงความสัมพันธ์กับหัวเรื่องนั้น  การจัดแบบนนี้ทำให้ผู้เรียนต้องแสวงหาความรู้  ทักษะ  และประสบการณ์ต่าง ๆ

  2.  แบบพหุวิทยาการ  คือการนำเรื่องใดเรื่องหนึ่งไปสอดแทรกในวิชาต่าง ๆ ของหลักสูตรในโรงเรียน  ซึ่งเป็นวิธีที่มีทางเป็นไปได้  และทำได้ง่าย  เพราะผู้สอนสามารถบูรณาการเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  กับวิชาที่กำลังสอนอยู่ 

ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับหลักสูตร

  ภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถานศึกษาตามความต้องการและความพร้อมของแต่ละท้องถิ่น  ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดกระบวนการเรียนรู้โดยดำเนินการดังนี้

  1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียนโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

  2. ฝึกทักษะ  กระบวนการคิด  การจัดการ  การเผชิญสถานการณ์  และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา

  3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนจากประสบการณ์จริง  ฝึกการปฏิบัติให้ได้  คิดเป็น  ทำเป็น  รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

  4.การจัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วน  สมดุลกัน  รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม  ค่านิยมที่ดีงาม

  5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ  สภาพแวดล้อม  สื่อการสอนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้  ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอน

  6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาสถานที่  มีการประสานความร่วมมือกับบิดา  มารดา  ผู้ปกครองและบุคคลในชุมชน

การเชื่อมโยงท้องถิ่นกับหลักสูตร

  สิ่งต่าง ๆ ในท้องถิ่นที่ผู้สอนสามารถนำมาเชื่อมโยงกับหลักสูตร  ได้แก่

  1.  ภูมิปัญญา  มีทั้งประเภทที่เป็นบุคคล  เช่น  วิทยากร  หรือบุคคลสำคัญและประเภทศิลปวัฒนธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม

  2.  ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม  เช่น  ดิน  น้ำ  ป่า  สัตว์

  3.  เหตุการณ์ที่น่าสนใจ

  4.  การเมืองท้องถิ่น เช่น  การรวมกลุ่ม  สหกรณ์

  5.  ปัญหาหรือวิกฤตการณ์ในด้านต่าง ๆ  เช่น  โรคภัย  สิ่งแวดล้อม  สังคม  อาชีพ

การบูรณาการเนื้อหาสาระในแผนการจัดการเรียนรู้

  การเรียนรู้แบบบูรณาการ  ทำให้การเรียนรู้เชื่อมโยงกับชีวิตจริง  และมีความหมายเช่น

 

เนื้อหาสาระ

วิธีเรียนรู้

1. วันเข้าพรรษา

2. การประดิษฐ์การเย็บกระทงด้วยใบไม้

3. การทำอาหารคาวหวาน  ตามประเพณีพื้นบ้านโดยจัดทำ  ขนมโค  ขนมบัวลอย

4. การปลูกดอกไม้

1. การร่วมกันแห่เทียนพรรษาไปถวายพระที่วัด

2. ให้เด็ก ๆ ร่วมกันเย็บกระทงด้วยใบไม้ด้วยตนเอง

3. ฝึกทำอาหารกับผู้ที่มีความรู้  โดยเด็ก ๆ ช่วยกันปั้นขนมเพื่อเป็นการเรียนรู้และได้รับประสบการณ์ตรง

4.ให้เด็ก ๆ ร่วมกันปลูกดอกไม้ด้วยตนเอง โดยเด็ก ๆ ได้เตรียมอุปกรณ์มาจากบ้าน

ตัวอย่างภาพการบูรณาการเนื้อหาสาระในแผนการจัดการเรียนรู้

จากกิจกรรมดังกล่าว  ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมากมายในลักษณะบูรณาการหลายวิชาและได้รู้จักชุมชนของตนเองมากขึ้น  ส่วนผู้สอนได้เรียนรู้ว่าแหล่งเรียนรู้มีมากมาย


หมายเลขบันทึก: 519039เขียนเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2013 12:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท