12_เหตุผลที่น่าเลิก(ไม่สูบ)บุหรี่



.
LifeScript ตีพิมพ์เรื่อง 'Top 12 reasons to quit smoking'
= "12 (สุดยอด)เหตุผล(ที่น่า)เลิกบุหรี่", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

(1). ลดเสี่ยงตายเร็ว
.
บุหรี่เป็นสาเหตุการตายที่ป้องกันได้อันดับ 1 ในสหรัฐฯ โดยมีทั้งแบบตายเร็วหน่อย เช่น มะเร็งปอด ฯลฯ และแบบตายช้าหน่อย เช่น เพิ่มเสี่ยงหอบหืด ถุงลมโป่งพอง ฯลฯ
.
บุหรี่ทำให้โคเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดลง, หลอดเลือดอักเสบ บวม ตีบตันง่าย เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ 2-4 เท่า, เพิ่มเสี่ยงอัมพฤกษ์ อัมพาต สมองเสื่อมจากการขาดเลือด
.
(2). ลดกลิ่นตัว
.
คนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาและทันสมัย ไม่หลงยุค-ไม่ตกยุค ส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ ทำให้บุหรี่เป็นกลิ่นแห่งความล้าหลัง-ยากจน
.
ไม่ว่าจะไปติดต่อกิจการงานใด, กลิ่นบุหรี่เป็นกลิ่นประเภท 'discredit' = ทำให้เครดิตของคุณต่ำลง
.

.
(3). ลดแก่เกินวัย
.
การศึกษาที่ผ่านมาพบว่า บุหรี่เพิ่มเสี่ยงหนังเหี่ยว ทำให้ดูแก่เกินวัย แถมคนที่สูบบุหรี่แล้วพบหนังเหี่ยวย่นจะเพิ่มเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพอง 5 เท่า
.
(4). ลดปอดเสื่อม
.
ควันบุหรี่และน้ำมันดิน (tar) จากบุหรี่ ทำให้ปอดช้ำดำ ดูคล้ายๆ ปอดแช่น้ำเน่าหนืด ทำให้คุณภาพชีวิตตอนแก่แย่กว่าที่คิด
.
ข่าวดี คือ ถ้าคุณเลิกบุหรี่ได้... ปอดจะเริ่มสะอาดขึ้นเรื่อยๆ ใน 12 ชั่วโมงแรก และหลัง 3 เดือนแรก, ปอดกับหัวใจจะโล่งโปร่งสบายขึ้นอย่างมากมาย
.

.
(5). ลดเศร้า-เหงา-เซง
.
การศึกษา (ตีพิมพ์ใน Archives of General Psychiatry) ทำในกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 1,000 คน ติดตามไป 5 ปี พบว่า บุหรี่เพิ่มเสี่ยงโรคซึมเศร้า-เหงา-เซง 2 เท่า
.
(6). ลดความจน
.
บุหรี่กรองทิพย์ รสอเมริกัน ราคา 54 บาท/ซอง, 1 ซอง = 20 มวน [ ราคาบุหรี่ ]
.
ถ้าสูบบุหรี่นี้ 1/2 ซอง/วัน = 10 มวน/วัน ตั้งแต่อายุ 20-60 ปี = 40 ปี จะทำให้คุณจนลงอย่างนี้
  • 1 วัน = 54/2 = 27 บาท > 1 เดือน = 27*30 = 810 บาท
  • 1 ปี = 365*27 = 9,855 บาท
  • 10 ปี = 98,550 บาท > 40 ปี = 985,500 บาท
การศึกษาที่ทำในพม่าพบว่า คนจนใช้เงินของครอบครัวไปซื้อบุหรี่ประมาณ 1/3 ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งถ้านำไปลงทุนส่งลูกเรียน จะทำให้ลูกหลานมีชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมากมาย
.

.
(7). เพิ่มโอกาสได้ลูก
.
บุหรี่ทำให้คุณภาพอสุจิ (sperm) ลดลงในผู้ชาย และไข่ลดลงในผู้หญิง ทำให้มีลูกยากขึ้น
.
และถ้าไม่อยากมีลูก... บุหรี่ก็ยังทำให้นกเขาไม่ค่อยขันอีกต่างหาก
.
(8). ลดเสี่ยงท้องนอกมดลูก
.
บุหรี่เพิ่มเสี่ยงท้องนอกมดลูก, ลดปริมาณเลือดไปเลี้ยงลูกผ่านรก 25%, เพิ่มเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด 50%, เพิ่มเสี่ยงเด็กในครรภ์พิการ และน้ำหนักตัวน้อย
.

.
(9). ลดอาการวูบวาบก่อนมีประจำเดือน
.
ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ก่อนอายุ 15 ปี เพิ่มเสี่ยงกลุ่มอาการฮอร์โมนแปรปรวนก่อนมีประจำเดือน (premenstrual syndrome) 2.5 เท่า เช่น ปวดท้องน้อย ปวดหลัง เจ็บคัดเต้านม สิว ตะคริว ขาบวม อารมณ์วูบๆวาบๆ-ขึ้นๆลงๆ (ไม่นิ่ง) ฯลฯ
.
บุหรี่เพิ่มเสี่ยงประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ และถ้าใช้ยาคุมกำเนิดชนิดกินด้วย-สูบด้วย เพิ่มเสี่ยงตกเลือดกะปริดกะปรอย 50%
.
(10). เป็นแบบอย่างไม่ดีให้ลูกหลาน
.
การศึกษาหนึ่งพบว่า เด็กในครอบครัวที่พ่อแม่สูบบุหรี่มีแนวโน้มจะสูบตามมากถึง 55%
.

.
(11). ลดทำร้ายคนใกล้คุณ
.
ควันบุหรี่มือสองทำร้ายคนใกล้คุณ โดยเฉพาะคนในครอบครัว โดยจะเพิ่มเสี่ยงภูมิแพ้ หอบหืด ถุงลมโป่งพอง โรคหัวใจ และมะเร็ง
.
คุณพ่อผู้เขียนสูบบุหรี่ เสียชีวิตจากโรคหัวใจตอนอายุ 52 ปี... คุณแม่ไม่สูบบุหรี่ แต่เป็นโรคถุงลมโป่งพองหลังอายุ 76 ปี ตายคาท่อเสียบหลอดลมตอนอายุ 81 ปี
.
ขอให้ความทุกข์เช่นนี้ไม่พึงมีแก่ท่านผุ้อ่าน และคนที่ท่านรักเลย
.
(12). ลดเสี่ยงโดดเดี่ยว
.
การศึกษาจากสหรัฐฯ พบว่า คนที่สูบบุหรี่มีเพื่อนน้อยกว่าคนที่ไม่สูบ แถมเพื่อนดีๆ ก็ไม่ค่อยอยากเข้าใกล้
.
การศึกษาจากออสเตรเลียพบว่า คนที่สูบบุหรี่ประสบความสำเร็จในการหาคู่ครองน้อยลง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผุ้ใหญ่ในบ้าน (ว่าที่พ่อตาแม่ยาย) ไม่ชอบคนสูบบุหรี่ และคนสูบบุหรี่ัตัวเหม็น-หน้าแก่เกินวัย
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ > http://www.thailandquitline.or.th/
  • แนะนำ > สายด่วนเลิกบุหรี่ (Quit Line) > 1600 > http://www.thailandquitline.or.th/ 


 > [ Twitter ]

  • Thank > http://www.lifescript.com/health/centers/copd/tips/top_10_reasons_why_smoking_stinks.aspx
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 6 กุมภาพันธ์ 56. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
 
 
 


หมายเลขบันทึก: 518708เขียนเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2013 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2013 19:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

จะเผ่าตัวเองไปทำไมครับ

เลิกเถ่อะครับ สูบบุหรี่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท