การวิจัยในชั้นเรียนวิชาศึกษาทั่วไป


จะต้องมีการ ถอดบทเรียน หลังจากมีการเรียนการสอนจบแล้วทุกครั้ง หรืออาจจะเรียกว่า การประเมินผลเชิงคุณภาพหลังจากการสอนคล้ายกับสิ่งที่ เรียกว่า AAR (After Action Review) ในเรื่องของการจัดการความรู้ (KM) ที่ชาว Gotoknow คุ้นเคยกัน
  • วันนี้เริ่มบันทึกแรกที่เกี่ยวกับวิชาศึกษาทั่วไปด้วยเรื่องที่คิดอยากจะทำ คือ การพัฒนาการเรียนการสอนที่จะเป็นงานประจำของคนที่เป็นอาจารย์ให้ดีขึ้นโดยการวิจัยในชั้นเรียน โดยที่เคยคิดจะใช้คำว่า Teaching to Research (T2R) แต่เมื่ออ่านเรื่อง การพัฒนางานประจำให้ดีขึ้นโดยการวิจัย หรือ Routine to Research (R2R) มาก ๆ เข้าก็ คิดว่าน่าจะใช้ เป็น R2R ตามที่ ดร. กะปุ๋ม ให้ความเห็นไว้จะดีกว่านะครับ

<div style="text-align: center">การศึกษาทั่วไป R2R</div>

  •  วันนี้บังเอิญได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านผู้มีประสบการณ์ตรงในเรื่อง งานวิจัยในชั้นเรียนในวิชาศึกษาทั่วไป อย่างไม่ได้คาดคิดมาก่อน  คือ ดร. มกราพันธุ์ จูฑะรสก  (ภาพแทรก) จากวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น   โดยท่านเดินทางมาพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับทางกลุ่มคณาจารย์ที่สอนวิชาศึกษาทั่วไป ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ท่านมาในฐานะ เลขานุการศูนย์ประสานงาน การพัฒนาการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและการวิจัยในชั้นเรียน  ทำให้ผมได้มีโอกาสเรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์ตรง ที่มีความรู้ความชำนาญมานานหลายปี  ซึ่งเป็นประโยชน์กับผมอย่างมาก เพราะแทบทุกอย่างเป็นเรื่องใหม่สำหรับผมครับ
  • ดร. มกราพันธุ์  ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า  จะต้องมีการ ถอดบทเรียน  หลังจากมีการเรียนการสอนจบแล้วทุกครั้ง  หรืออาจจะเรียกว่า การประเมินผลเชิงคุณภาพหลังจากการสอนก็ได้ซึ่งได้แก่  การประเมินว่า  บทบาทของผู้สอน และ บทบาทของผู้เรียน เป็นไปตามแผนที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น ต่อการเรียนการสอนอย่างเสรี หลังจากจบการเรียนการสอนแล้ว โดยเน้นให้ผู้เรียนทราบอย่างชัดเจนว่า ความคิดเห็นเหล่านี้จะไม่มีผลต่อคะแนนการสอบ (โดยไม่ต้องให้ลงชื่อในความเห็น) เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในครั้งต่อไป ผมเห็นว่า มีลักษณะที่คล้ายกับสิ่งที่ เรียกว่า AAR (After Action Review) ในเรื่องของการจัดการความรู้ (KM) ที่ชาว Gotoknow คุ้นเคยกัน

</span></span>

หมายเลขบันทึก: 51819เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2006 22:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • ตามมาเปิดข้อคิดเห็นเป็นคนแรกครับ
  • เป็นเรื่องที่ท้าทายดีครับ
  • ลองเขียนเรื่องที่จะสอนลงใน GotoKnow สัก 5-10 บันทึก แล้ว Assign ให้นิสิต/นักศึกษาไปอ่านมาก่อน
  • เวลาสอนก็ใช้วิธีการเล่าเรื่อง.....
  • สอนจบลองให้ทำคล้ายๆ AAR
  • ถ้าจะให้ครบกระบวนการก็ให้แบ่งนิสิตเป็นทีม ๆ ละ 8 คน
  • ทำงาน Power point ส่งทีมละชุด
  • แล้วตอนสอนจบ Course ก็เอา GotoKnow + Power point...
  • Write ใส่ CD แจกให้ ทีมละ 1 แผ่น
  • อย่างน้อยตอนสอบเสร็จเขาก็ยังมีอะไรอยู่ในแผ่น CD บ้าง ไม่มากก็น้อย
  • ขอบคุณมากครับท่าน Beeman
  • การแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือการวิจัยในชั้นเรียนเป็น(RC)เรื่องที่ดีและท้าท้ายครับที่อาจารย์ระดับอุดมศึกษาไม่ค่อยทำกัน ครูเหมือนชาวสวน  นิสิตเหมือนต้นไม้ การที่ชาวสวนต้องการให้ต้นไม้ที่ปลูกเจริญงอกงาม สวยงาม ชาวสวนต้องก็ต้องมั่นดูแล หาวิธีการหรือหาปุ๋ยที่มีคุณภาพใส่ลงไปแล้วต้นไม้เจริญงอกงาม ได้ผลผลิต ดังนั้นการวิจัยในชั้นเรียนควรหาวิธีการประเมินที่เหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน
  • ครูเป็นผู้ประเมินที่ดี เมื่อนิสิตบางกลุ่ม บางคนมีข้อบกพร่อง ครูควรดึงมาทำกรณีศึกษาไปด้วย
  • การวิจัยในชั้นเรียนเป็นแก้ปัญหาในชั้นเรียนแบบลำดับขั้นเหมือนขั้นบันได (step by step)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท