ปลูกพืชบนคันนาเพื่อความพออยู่พอกิน


การจัดการพื้นที่ให้สามารถปลูกพืชได้ทั้ง ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ พืชผัก ทั้งนี้ยังมีการจัดการในเรื่องของน้ำเพราะน้ำเป็นปัจจัยหลักในการปลูกพืช ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนในการปลูกพืช ในแต่ละฤดู

       <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">        ความจำกัดในพื้นที่ของการปลูกพืชนั้นลดน้อยลง  เกษตรกรบางคนหันมาใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่างเปล่าจากคันนา มีการจัดการพื้นที่ให้สามารถปลูกพืชได้ทั้ง ไม้ผล ไม้เศรษฐกิจ พืชผัก  ทั้งนี้ยังมีการจัดการในเรื่องของน้ำเพราะน้ำเป็นปัจจัยหลักในการปลูกพืช  ดังนั้นจึงต้องมีการวางแผนในการปลูกพืช ในแต่ละฤดูโดยเฉพาะการปลูกพืชในหน้าแล้งควรเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย และทำให้น้ำที่อยู่ในพื้นดินระเหยน้อยที่สุดทั้งการกลบโคนต้น คลุมด้วยฟาง  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                             </p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">      การปลูกพืชบนคันนาจะต้องเตรียมคันนาให้ใหญ่ สูงพอสมควรทั้งนี้ก็เพราะว่าพืชที่ปลูกบนคันนาจะได้ไม่แย่งอาหารข้าวที่ปลูกไว้ในนานั่นเอง และยังเป็นการช่วยลดการพังทลายของคันนา ช่วยเก็บน้ำไม่ให้ไหลลงไปที่อื่น  สัตว์เล็กสัตว์น้อยเช่น หอย ปู ปลา มีที่อยู่อาศัย โดยหอยเมื่อเข้าฤดูแล้ง หลังจากเก็บเกี่ยวจะใช้คันนาในการฝังตัวเองเหมือนกับกบจำศีล ปูก็จะขุดรูเป็นที่อยู่อาศัยได้ แต่การขุดรูทั้งของหนูและปู ไม่ทำให้คันนานั้นขาดหรือทำให้เกิดรูน้ำไหลได้  ข้อนี้เป็นข้อดีของคันนาใหญ่อีกข้อหนึ่ง</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">         จากการที่ได้สัมภาษณ์เกษตรกรที่ทำคันนาใหญ่  ว่ามีการจัดการอย่างไร  ก็ได้คำตอบออกมาว่า  เริ่มแรกต้องทำความเข้าใจกับคนในครอบครัวก่อนว่าจะทำอย่างนี้แล้วมันดีอย่างไร เพราะคนอีสานเขาถือมากเรื่องลดพื้นที่ในการทำนาหรือเอาที่นาไปทำอย่างอื่น  เมื่อคนในครอบครัวมีความเข้าใจเป็นอย่างดีแล้วจึงเริ่มจากการขุดดินจากที่นาเพื่อทำคันนาให้สูงและกว้างขึ้น  </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                      </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">     จากนั้นก็เริ่มเพาะกล้าพืชผัก  ไม้ผล  ไม้เศรษฐกิจ ต่างๆจนครบ  จัดหาปุ๋ยคอก  และระดมสมองในการวางแผนในการปลูกพืช ว่าไม่ผลควรจะอยู่ตรงไหน  ไม้เศรษฐกิจ และพืชผัก โดยคำนึงถึงการมีกินมีใช้ตลอดไม่ให้ขาดช่วง นอกจากจะปลูกเพื่อกินแล้วโดยส่วนมากจะเหลือกินในครอบครัวก็สามรถขายได้เป็นรายได้เล็กๆน้อยๆ </p>                        <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

หมายเลขบันทึก: 51778เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2006 17:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท