R2R ใครๆก็ทำได้


R2R ใครๆก็ทำได้

วันพุธที่ 23 มกราคม 2556 เวลา 9.00-16.00 น.

โรงพยาบาลมหาสารคามมีการจัดประชุมวิชาการเรื่อง  R2R 

นายแพทย์สุนทร ยนต์ตระกูล ผู้อำนวยการ รพ มหาสารคาม เปิดงาน เวลา 9.15น.

ท่านผู้อำนายการ ได้ให้ความสำคัญในการทำงานประจำให้เป็นวิจัย อาจารย์กล่าวว่า  งานเต็มมือ คนไข้แน่นไปหมด จะทำงานวิจัยได้ไหม  อย่างไรก็ตามโรงพยาบาลก็เห็นความสำคัญที่จะพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัยได้ 

 

ศ. นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง ได้กล่าวถึง R2R ใครๆก็ทำได้และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นระยะ

R2R ทำแล้วได้อะไร
ถ้าผู้รับบริการได้ประโยชน์ ผลงานดีขึ้น เกิดความร่วมมือขององค์กร  องค์กรก็จะขยับเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ในมาตรฐานของ สรพ ได้อธิบายไว้ว่า ถ้าโรงพยาบาลที่ทำ R2R จะได้คะแนนระดับ 4 สำหรับ CQI ได้ระดับ 2-3 เนื่องจาก CQI ไม่ใช่ R2R ถึงแม้ว่าจะมีที่มาและความสำคัญของปัญหา มีการทบทวนวรรณกรรมแต่อาจไม่ชัดเจนมากนัก 

 

งานประจำล้นมือจะทำ R2R ได้ไหม

ถ้าเราทำงานประจำ  ถ้าเราเพิ่มวิธีการเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ก็สามารถทำเป็นวิจัยได้ การถามคำถามเพิ่มเพียง 1 ข้อ  ก็จะได้ข้อมูล มีแนวทางในการแก้ปัญหาได้ เราลองมาคิดหาประเด็นที่จะทำวิจัย  เริ่มต้นที่เรา คิด ทำ ฝัน ท้าทาย   

เริ่มอย่างไรดี มองหาว่าอะไร คือ ปัญหาในการทำงาน สังเกต แล้วช่างสงสัย เอ๊ะๆๆๆๆๆ  ถ้ามีหลายปัญหา เรามาจัดลำดับความสำคัญกัน ถ้าไม่มีปัญหาเราก็เริ่มที่มิติคุณภาพก็ได้

 

R2R ที่ดีมาจากไหน

R2R ที่ดีมาจากคำถามที่ดี  ระเบียบวิธีวิจัยที่ดีและเหมาะสม และมีระบบสนับสนุนที่ดี รวมที่ปรึกษา ที่มาคำถามงานวิจัย ที่มาของคำถามวิจัย มาจากแหล่งต่างๆมากมาย เช่น ความเห็น ข้อร้องเรียน ผู้รับบริการ ผู้เกี่ยวข้อง สถิติ ความเสี่ยง แปลงสถิติมาเป็น information  ตัวชี้วัดคุณภาพที่ต้องรายงาน  lean innovation  Goal or policy วิจัยสถาบัน และอื่นๆ เป็นต้น


ตัวอย่างงานวิจัยที่มีผลกระทบระบบริการสูง

การวิจัยเชิงระบบ มีการออกแบบงานวิจัยที่ดี  มีการแชร์ข้อมูลและแก้ปัญหาร่วมกัน และส่งผู้ป่วยไปดูแลต่อที่บ้านหรือ รพ ใกล้บ้าน ผู้ป่วยปลอดภัย คุณภาพชีวิตดีขึ้น การดูแลผู้ป่วยตามกลุ่มโรค เน้น health promotion ลดความแออัดใน รพ 

 

ปัญหาทุกอย่างต้องทำวิจัยไหม การหาปัญหาแต่ลองหาสาเหตุของปัญหา ถ้าหาได้ชัด ไม่ต้องทำวิจัยก็ได้  ปัญหามีคำตอบชัดเจน มีคู่มือ มาตรฐานอยู่แล้ว ทำยังไงให้คนทำตามเกณฑ์  ปัญหาบางอย่าง สามารถแก้ได้ด้วยระบบบริหาร ก็ไม่ต้องทำวิจัย เราต้องทบทวนว่ามีใครเขาทำวิจัยมาแล้วบ้าง การทบทวนงานวิจัย มีหลายฐานข้อมูล จาก web สวรส จากฐาน TCI  การค้นหาใน Gppgle จะได้งานจำนวนมาก จะใช้เวลาเลือกงานวิจัยที่ดียาก 


 

ช่วง 11.00-12.00 น.

นางอุบล จ๋วงพานิช ได้เล่าประสบการณ์ในการทำวิจัย R2R หลายเรื่อง เช่น การเตรียมความพร้อมและการวางแผนจำหน่ายในผู้ป่วยมะเร็งที่มารับยาเคมีบำบัด การป้องกันอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด โดยใช้ complementary care  และการพัฒนาระบบการบริการผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับยาเคมีบำบัดเพื่อให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว เป็นต้น


ช่วงบ่าย

มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง การเป็น Facilitator จะเป็นอย่างไรให้มีประสิทธิภาพและมีความเป็นไปได้ ศ. นพ. สมบูรณ์ เทียนทองได้กล่าวถึง คุณสมบัติของคนที่จะเป็น Fa และมีวิธีดูแลช่วยเหลือรวมทั้งติดตามเพื่อให้ผลงานเสร็จตามเวลา  สำหรับประสบการณ์ของดิฉันเอง มีทั้งชวน ชี้ ช่วยและชม 

หลังจากนั้นทาง Fa ของโรงพยาบาลมหาสารคาม ได้เล่าประสบการณ์ในการพัฒนางานประจำและการทำวิจัย หลายเรื่อง ล้วนแต่น่าสนใจทั้งนั้น  จะเห็นว่า รพ มหาสารคามมีพยาบาลที่จบปริญญาโท มากกว่า 30 คน และมีผู้ปฏิบัตการพยาบาลขั้นสูง 6 คน ซึ่งคนเหล่านี้จะเป็นแหล่งประโยชน์ที่จะเริ่มทำงานประจำให้เป็นวิจัยได้ ขณะเดียวกันก็เป็น Fa ไปด้วย นอกจากนี้กลุ่มหัวหน้าหอผู้ป่วยก็มีการทำวิจัยอย่างน้อยคนละ  1 เรื่อง 

คิดว่า การเห็นความมุ่งมั่นของท่านผู้อำนาวยการโรงพยาบาล ทีมงานของโรงพยาบาลมหาสารคาม น่าจะทำให้การทำงานประจำมาทำเป็นวิจัยได้อย่างแน่นอน

ท่านผู้อำนวยการกล่าวเปิดงาน

ทีมวิทยากรและผู้เข้าประชุมถ่ายภาพร่วมกัน

ศ. นพ. สมบูรณ์ เทียนทอง วิทยากร R2R

ช่วงบ่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับทีม Fa กับโรงพยาบาลมหาสารคามค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #r2r
หมายเลขบันทึก: 517403เขียนเมื่อ 25 มกราคม 2013 06:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2013 05:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นกำลังใจให้นะคะ คุณแก้ว

ด้วยคิดถึงค่ะ

..... R2R.... ดีจริงๆ นะคะ ....  ช่วยกันทำคุณภาพ ..... ทำสิ่งดีดี นะคะ  ..... ผู้ป่วย  ญาติผู้ป่วย &  ผู้ให้บริการ ..... ได้รับสิ่งดีดี ลดความเสี่ยง ... ลดอันตราย  นะคะ ....เยี่ยมค่ะ     


                    


                              (ภาพจาก Internet)


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท