BLOG


บล็อก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สำหรับความหมายอื่นของ บล็อก ดูได้ที่ บล็อก (แก้ความกำกวม)

บล็อก (อังกฤษ: blog) เป็นคำรวมมาจากคำว่า เว็บล็อก (อังกฤษ: weblog) เป็นรูปแบบเว็บไซต์ประเภทหนึ่ง ซึ่งถูกเขียนขึ้นในลำดับที่เรียงตามเวลาในการเขียน ซึ่งจะแสดงข้อมูลที่เขียนล่าสุดไว้แรกสุด บล็อกโดยปกติจะประกอบด้วย ข้อความ ภาพ ลิงก์ ซึ่งบางครั้งจะรวมสื่อต่างๆ ไม่ว่า เพลง หรือวิดีโอในหลายรูปแบบได้ จุดที่แตกต่างของบล็อกกับเว็บไซต์โดยปกติคือ บล็อกจะเปิดให้ผู้เข้ามาอ่านข้อมูล สามารถแสดงความคิดเห็นต่อท้ายข้อความที่เจ้าของบล็อกเป็นคนเขียน ซึ่งทำให้ผู้เขียนสามารถได้ผลตอบกลับโดยทันที คำว่า "บล็อก" ยังใช้เป็นคำกริยาได้ซึ่งหมายถึง การเขียนบล็อก และนอกจากนี้ผู้ที่เขียนบล็อกเป็นอาชีพก็จะถูกเรียกว่า "บล็อกเกอร์"

บล็อกเป็นเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหลากหลายขึ้นอยู่กับเจ้าของบล็อก โดยสามารถใช้เป็นเครื่องมือสื่อสาร การประกาศข่าวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพร่ผลงาน ในหลายด้านไม่ว่า อาหาร การเมือง เทคโนโลยี หรือข่าวปัจจุบัน นอกจากนี้บล็อกที่ถูกเขียนเฉพาะเรื่องส่วนตัวหรือจะเรียกว่าไดอารีออนไลน์ ซึ่งไดอารีออนไลน์นี่เองเป็นจุดเริ่มต้นของการใช้บล็อกในปัจจุบัน นอกจากนี้ตามบริษัทเอกชนหลายแห่งได้มีการจัดทำบล็อกของทางบริษัทขึ้น เพื่อเสนอแนวความเห็นใหม่ใหักับลูกค้า โดยมีการเขียนบล็อกออกมาในลักษณะเดียวกับข่าวสั้น และได้รับการตอบรับจากทางลูกค้าที่แสดงความเห็นตอบกลับเข้าไป เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์

เว็บค้นหาบล็อกเทคโนราที ได้อ้างไว้ว่าปัจจุบันในอินเทอร์เน็ต มีบล็อกมากกว่า 112 ล้านบล็อกทั่วโลก [1]

ความนิยม

บล็อกได้เริ่มมีบทบาทมากขึ้นในปัจจุบันในวงการสื่อมวลชนในหลายประเทศ เนื่องจากระบบแก้ไขที่เรียบง่าย และสามารถตีพิมพ์เรื่องราวได้โดยไม่ต้องใช้ความรู้ในการเขียนเว็บไซต์ โดยนอกเหนือจากที่ผู้เขียนข่าวส่งผลงานให้กับทางสื่อแล้ว ยังได้มาเขียนข่าวในอีกช่องทางหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล หรือแนวความคิด โดยการเขียนบล็อกสามารถเผยแพร่ข้อมูลสู่ประชาชนได้รวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า สื่อในด้านอื่น ข่าวที่นิยมในการเขียนบล็อกต่อสื่อมวลชน ส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะเรื่องซุบซิบวงการดารา ข่าวการเคลื่อนไหวทางการเมือง เป็นต้นจากความนิยมที่มากขึ้น ทำให้หลายเว็บไซต์เปิดให้มีส่วนการใช้งานบล็อกเพิ่มขึ้นมาในเว็บของตนเอง เพื่อเรียกให้มีการเข้าสู่เว็บไซต์มากขึ้นทั้งผู้เขียนและผู้อ่าน

การใช้งานบล็อก

ผู้ใช้งานบล็อกจะแก้ไขและบริหารบล็อกผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์เหมือนการใช้งานและอ่านเว็บไซต์ทั่วไป โดยจะมีรูปแบบบริหารบล็อกที่แตกต่างกัน เช่นบางระบบที่มีบรรณาธิการของบล็อก ผู้เขียนหลายคนจะส่งเรื่องเข้าทางบล็อก และจะต้องรอให้บรรณาธิการอนุมัติให้บล็อกเผยแพร่ก่อน บล็อกถึงจะแสดงผลในเว็บไซต์นั้นได้ ซึ่งจะแตกต่างจากบล็อกส่วนตัวที่จะให้แสดงผลได้ทันที

ผู้เขียนบล็อกในปัจจุบันจะใช้งานบล็อกในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งไม่ว่า ติดตั้งซอฟต์แวร์ของตัวเอง หรือใช้งานบล็อกผ่านทางเว็บไซต์ที่ให้บริการบล็อก

สำหรับผู้อ่านบล็อกจะใช้งานได้ในลักษณะเหมือนอ่านเว็บไซต์ทั่วไป และสามารถแสดงความเห็นได้ในส่วนท้ายของแต่ละบล็อกโดยอาจจะต้องผ่านการลงทะเบียนในบางบล็อก นอกจากนี้ผู้อ่านบล็อกสามารถอ่านบล็อกได้ผ่านระบบฟีด ซึ่งมีให้บริการในบล็อกทั่วไป ทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านบล็อกได้โดยตรง ผ่านโปรแกรมตัวอื่นโดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาสู่หน้าบล็อกนั้น

สังคมบล็อก

สังคมบล็อก หมายถึง พื้นที่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความ สามารถแบ่งบัน เรื่องราว รูปภาพ รูปถ่าย อันส่งผลประโยชน์ แกผู้เข้ารับชม อันนี้คือสิ่งที่จำกัดความหมายของสังคมบล็อก ตั้งเป้าหมายไว้ โดยผู้ใช้ สามารถที่จะหา ผลประโยชน์จาก บทความที่ตนเอง เป็นผู้นำเสนอ โดยอาจจะมีการ นำเสนอโฆษณา พร้อมๆ กับการนำเสนอ บทความ แล้วแต่ความต้องการของผู้ใช้ อย่างอิสระ

อนึ่ง การใช้งานระบบสังคมบล็อก มีเนื้อหาของการนำเสนอ โดยจะต้องเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ ผู้นำเสนอ ระหว่างผู้ใช้งานด้วยกัน ไม่อาจจะทำการสำเนา เอกสารดังกล่าวได้ เพียงแต่สามารถทำการลิงก์เชื่อมโยง เพื่อส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานทั่วไป ให้สามารถใช้งานระบบได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด

บล็อกซอฟต์แวร์

บล็อกซอฟต์แวร์ หรือ บล็อกแวร์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้ในอินเทอร์เน็ต ในลักษณะของระบบจัดการเนื้อหาเว็บ ที่ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์และผู้เขียนหรือดูแลบล็อกจะแยกจากกันต่างหาก ส่งผลให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้งานได้ทันทีโดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในด้านเอชทีเอ็มแอล หรือการทำเว็บไซต์แต่อย่างใด ทำให้ผู้เขียนบล็อกสามารถใช้เวลาส่วนใหญ่ในการ บริหารจัดการ เพิ่มเติม ข้อมูลและสารสนเทศแทนได้ นอกจากนี้บล็อกซอฟต์แวร์จะสนับสนุน ระบบ WYSIWYG ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียน และอาจเพิ่มเติมการมีเทมเพลตในหลายแบบให้เลือกใช้

ซอฟต์แวร์ส่วนใหญ่สามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันทีโดยผู้ใช้ ซึ่งซอฟต์แวร์บางส่วนเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ที่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ซึ่งผู้พัฒนาสามารถนำมาปรับแก้ เป็นของตนเอง ติดตั้งไว้ใช้เป็นบล็อกส่วนตัว หรือเผยแพร่ให้คนอื่นมาใช้งานได้ ส่วนซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้น จะมีทั้งในรูปแบบที่ให้ใช้งานแบบเสียค่าใช้จ่ายหรือให้ใช้งานฟรี

บล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่รู้จัก

รายชื่อบล็อกซอฟต์แวร์ที่เป็นที่นิยมพร้อมทั้งชื่อซอฟต์แวร์ที่ใช้พัฒนาในวงเล็บ

ผู้ให้บริการบล็อกที่เป็นที่รู้จัก

รายชื่อผู้ให้บริการบล็อกที่มีชื่อเสียง

ผู้ให้บริการบล็อกในประเทศไทยที่เป็นที่รู้จัก

นอกจากนี้ทางเว็บที่นิยมของไทยอย่าง สนุก.คอมกระปุก.คอม หรือผู้จัดการออนไลน์ ก็ได้มีการเปิดให้บริการบล็อก

ดูเพิ่ม

ไดอารีออนไลน์

อ้างอิง

 เว็บเทคโนราที แสดงจำนวนบล็อกค้นหา

แหล่งข้อมูลอื่น

บล็อกคืออะไร ความหมายของบล็อกจาก gotoknow


เสิร์ชเอนจิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสิร์ชเอนจิน (search engine) หรือ โปรแกรมค้นหา[1] และคือ โปรแกรมที่ช่วยในการสืบค้นหาข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต โดยครอบคลุมทั้งข้อความ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เพลง ซอฟต์แวร์ แผนที่ ข้อมูลบุคคล กลุ่มข่าว และอื่น ๆ ซึ่งแตกต่างกันไปแล้วแต่โปรแกรมหรือผู้ให้บริการแต่ละราย. เสิร์ชเอนจินส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจากคำสำคัญ (คีย์เวิร์ด) ที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไป จากนั้นก็จะแสดงรายการผลลัพธ์ที่มันคิดว่าผู้ใช้น่าจะต้องการขึ้นมา ในปัจจุบัน เสิร์ชเอนจินบางตัว เช่น กูเกิล จะบันทึกประวัติการค้นหาและการเลือกผลลัพธ์ของผู้ใช้ไว้ด้วย และจะนำประวัติที่บันทึกไว้นั้น มาช่วยกรองผลลัพธ์ในการค้นหาครั้งต่อ ๆ ไป

รายชื่อเสิร์ชเอนจินเรียงลำดับตามความนิยม

  1. กูเกิ้ล (Google) 49.2%
  2. ยาฮู(Yahoo!) 23.8%
  3. เอ็มเอสเอ็น (MSN ) 9.6%
  4. เอโอแอล (AOL) 6.3%
  5. อาสก์ (Ask)
  6. อื่นๆ 8.5%

เสิร์ชเอนจินอื่นๆ

เสิร์ชเอนจินในอดีตที่ยกเลิกการใช้งานแล้ว

ในประเทศไทยมีการพัฒนาเครื่องมือค้นหาของไทยในชื่อ สรรสาร พัฒนาโดยเนคเทค

ประเภทของเครื่องมือค้นหา

  • Catalog based search engine เป็นโปรแกรมสืบค้นข้อมูลในอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่ง โดยโปรแกรมจะรวบรวม และแยกจัดเก็บเว็บไว้ในฐานข้อมูลตามประเภทหัวข้อของเว็บ เมื่อผู้ใช้มาค้นหา ก็จะสามารถเข้าไปดูตามหัวข้อต่าง ๆ แล้วดูหัวข้อย่อย ๆ เข้าไปอีกจนกว่าจะเจอหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการ ตัวอย่าง catalog based search engine คือ Yahoo เป็นต้น ซึ่งจะต่างกับ query based search engine ที่จะต้องพิมพ์คำค้นหาเพื่อตรวจสอบกับฐานข้อมูลว่ามีข้อมูลนี้หรือไม่ ถ้ามีก็จะแสดงรายชื่อออกมา

หลักการทำงานของเสิร์ชเอนจิน

  • การตรวจค้นหาข้อมูลในเว็บเพจต่างๆ
  • ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่ได้ทำการตรวจค้นไว้ในฐานข้อมูล
  • การแสดงผลการค้นหาข้อมูล

แหล่งข้อมูลอื่น

อ้างอิง

  1.  <a href="http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php">ศัพท์บัญญัติคำว่า search engine คือ โปรแกรมค้นหา ชื่อในศัพท์บัญญัติ ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิ.ย. 2551
  2.  <a href="http://searchenginewatch.com/showPage.html?page=2156451">สัดส่วนผู้ใช้งานเสิร์ชเอนจิน ข้อมูลจากเสิร์ชเอนจินวอตช์ ปี 2548
  3.  <a href="http://www.businessweek.com/magazine/content/08_27/b4091060426533.htm">Where Google Isn't Goliath BusinessWeek


บริการเครือข่ายสังคม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้เกี่ยวกับรูปแบบของเว็บไซต์ สำหรับสังคมวิทยา ดูที่ เครือข่ายสังคม

บริการเครือข่ายสังคม (อังกฤษ: social network service) เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ ในการสร้างเครือข่ายสังคม สำหรับผู้ใช้งานในอินเทอร์เน็ต เขียนและอธิบายความสนใจ และกิจการที่ได้ทำ และเชื่อมโยงกับความสนใจและกิจกรรมของผู้อื่น ในบริการเครือข่ายสังคมมักจะประกอบไปด้วย การแช็ต ส่งข้อความ ส่งอีเมล วิดีโอ เพลง อัปโหลดรูป บล็อก การทำงานคือ คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลพวกนี้ไว้ในรูปฐานข้อมูล sql ส่วน video หรือ รูปภาพ อาจเก็บเป็น ไฟล์ก็ได้ บริการเครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมได้แก่ ไฮไฟฟ์ มายสเปซ เฟซบุ๊ก ออร์กัต มัลติพลาย โดยเว็บเหล่านี้มีผู้ใช้มากมาย เช่น เฟสบุ๊คเป็นเว็บไซต์ที่คนไทยใช้มากที่สุด ในขณะที่ออร์กัตเป็นที่นิยมมากที่สุดในประเทศอินเดีย ปัจจุบัน บริการเครือข่ายสังคม มีผลประโยชน์คือหาเงินจากการโฆษณา การเล่นเกมโดยใช้บัตรเติมเงิน [1]


รายชื่อเว็บไซต์ที่เป็นที่นิยมปัจจุบัน

ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ซ

ทางจิตวิทยา

  • เครือข่ายสังคมเป็นหนึ่งในวิธีชักจูงที่ง่ายที่สุด เนื่องจากข้อมูลที่ผ่านช่องทางนี้ จะไปได้กว้างและค่อนข้างเร็ว
  • เครือข่ายสังคมเป็นอันตรายต่อความเป็นส่วนตัว เนื่องจากมีเหตุร้ายหลายประเภทที่สามารถเกิดขึ้นได้ในเครือข่ายสังคม ฉะนั้นจึงไม่ควรเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นส่วนตัว รวมถึงไปสื่อต่างๆ ที่ไม่เหมาะสม ถึงแม้ว่าจะตั้งค่าความเป็นส่วนตัวแล้วก็ตาม
  • การใช้ Open Source หรือเขียนโปรแกรม เครือข่ายสังคมปลอดภัยกว่าใช้ เครือข่ายสังคมที่มีชื่อเสียง

ในแง่การใช้งาน

ความเป็นส่วนตัว

ในปัจจุบันระบบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวค่อนข้างจะละเอียดมากขึ้น แต่ในมุมหนึ่งก็เป็นดาบสองคมเพราะว่าการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวสูงก็มักจะมีผู้ไม่หวังดีแอบเอาข้อมูลปลอมหรือทำในทางไม่ดีกับบุคคลเหล่านั้นได้ โดยโซโช่วเนตเวอร์คตัวใหม่ๆมักจะมีระบบความเป็นส่วนตัวที่ละเอียดยิ่งขึ้น ปัญหาความเป็นส่วนตัวในหลายๆกรณีมักจะสื่อถึงจิตใจคนได้อย่างมากรวมถึงระบบโซเชียลเน็ตเวิร์คเว็บไซต์เก่าๆนั้นที่จะต้องมีระบบการเพิ่มรายชื่อเพื่อนกับการรับเพื่อน

การแจ้งเตือน

สำหรับบางเว็บไซต์จะไม่มีการแจ้งเตือนเช่น วิกิพีเดีย มายสเปซ ซึ่งการแจ้งเตือนคือเมื่อมีผู้ใช้รายอื่นเคลื่อนไหวอะไรก็จะส่งข้อความมาถึงเรา

เว็บไซต์ส่วนใหญ่จะไม่มีการแจ้งเตือนเรื่องการลบเพื่อนออก

การคุ้มครองเด็ก

ในปัจจุบันนี้เว็บไซต์ส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยจะมีระบบการคุ้มครองเด็กเท่าที่ควร เพราะยังเน้นต้องการโฆษณาเว็บไซต์ ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมาก และรวมถึงทั้งแฟนเพจต่างๆของเฟดบุกที่ไม่คุ้มครองอาจจะนำพาสู่ความไม่ดีต่อเด็กเป็นได้

การก่อกวน

เครือข่ายสังคมย่อมมาพร้อมกับการก่อกวน เพราะเนื่องจากเกมส์ออนไลน์เริ่มมีมาก่อน และการก่อกวนนั้นจะก่อให้เกิดความโมโหการรำคาญเพียงเพื่อความสนุก เช่น การสร้างบัญชีผู้ใช้ปลอม การใส่ภาพที่ไม่เหมาะสม หรือการว่าร้าย เป็นต้น[ต้องการอ้างอิง]

อ้างอิง

  1.  <a href="http://www.pbs.org/mediashift/2007/06/try_try_againorkut_friendster.html">Orkut, Friendster Get Second Chance Overseas




หมายเลขบันทึก: 517370เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2013 18:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มกราคม 2013 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท