เด็กดื้อซนกับการจัดการอารมณ์


สองชั่วโมงเมื่อสักครู่นี้ ณ คลินิกกิจกรรมบำบัด สร้างสรรค์ใจคุมจิต...จิตคุมกาย ของดร.ป๊อป ได้ชัดเจนและไม่รู้ลืม

เด็กชายหน้าตาน่ารัก ช่างเจรจาและเฉลียวฉลาด หันมาสบตาและกล่าวสวัสดี ดร.ป๊อป อย่างน่าเอ็นดู แต่แล้วก็ไม่อยู่นิ่ง วิ่งไปคว้าของเล่นมาเล่น เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เล่นแล้วทิ้งจนรกคลินิก

ดร.ป๊อป (เรียกตัวเองว่า "น้าป๊อป") จึงคว้าตัวเด็ก แล้วชวนว่า "อยากเล่นอะไรบนโต๊ะไหม"

ด.ช. "ไม่เล่นบนโต๊ะ อยากเล่นเกมนี้"

ดร.ป๊อป "มาเล่นบนพื้นกัน วางเกมจับคู่ภาพ 

ด.ช. และ ดร.ป๊อป เล่นเกมจับคู่ภาพการ์ตูนอย่างสนุกสนาน แต่ไม่ถึง 2 นาที เด็กก็วิ่งไปคว้าของเล่นอื่น ดร.ป๊อป บอกพ่อแม่ของเด็กว่า ตอนนี้กำลังจะปรับพฤติกรรมสมาธิสั้นให้เงื่อนไขของการเล่นกิจกรรมหนึ่งอย่างให้นาน 5 นาที (อายุ 4 ปีกว่า ต้องเพิ่มช่วงสมาธิเกินกว่าอายุเล็กน้อย)

จากนั้น ดร.ป๊อป วิ่งใ้ห้ทันเด็ก เหนื่อยเหมือนกัน คุณพ่อคุณแม่นั่งเฉย แถมปล่อยให้พี่ชายวัย 6 ปีของเด็กมาวิ่งเล่นซนพอๆ กันกับเด็กเลย แต่ไม่เล่นด้วยกัน จนดร.ป๊อป จัดสิ่งแวดล้อมให้เด็กนั่งบนเก้าอี้และทำกิจกรรมเกมวางบ้านตามสี โดยดร.ป๊อป นั่งเป็นมุมระหว่างเด็กและประตูห้อง พยายามชวนตั้งเงื่อนไขในการเล่นกับเด็กจนครบ 5 นาที ซึ่งเด็กก็ให้ความร่วมมืออย่างดี

ข้อสังเกตของดร.ป๊อป คือ สัมพันธภาพระหว่างพ่อแม่ลูกทั้ง 2 คน ในการเล่นและการเรียนรู้เป็นแบบต่างคนต่างทำ เมื่อซักถามประวัติการเลี้ยงดูเด็กคนนี้ ก็พบว่า พ่อแม่ไม่มีเวลาเล่นกับลูก ปล่อยให้พี่เลี้ยงดูแลตั้งแต่ 1 ปี จนถึงปัจจุบัน พอเข้าโรงเรียนก็ดื้อ (ไม่ฟังคำสั่งของคุณครู ไม่เรียนร่วมกลุ่มกับเพื่อน ด่าคุณครู) และซน (ไม่อยู่นิ่ง ไม่รับผิดชอบ เล่นเปลี่ยนไปมา เล่นแล้วทิ้ง) ปัจจุบันเด็กเรียนวิชาการจากโรงเรียนและเรียนพิเศษดนตรีและศิลปะ ส่วนพี่ชายก็คล้ายๆ กันตอนอายุเท่ากับเด็ก แต่ซนอย่างเดียว ตอนนี้ก็ยังซนอยู่ ทั้งสองคนเชื่อฟังพ่อมากกว่าแม่ เพราะพ่อจะดุและตีถ้าลูกไม่เชื่อฟัง 

เมื่อสังเกตเด็กสองคนต่างคนต่างเล่นของเล่นมากมายและไม่เก็บที่ ดร.ป๊อป จึงชวนเด็กมาฝึกความรับผิดชอบเก็บและจัดของเล่นเข้าตู้ เด็กก็พอร่วมมือบ้างเมื่อจับมือเด็กทำ แต่เด็กมีแรงขับมากเหลือเกิน ยังคงวิ่งและไม่อยู่นิ่ง เข้าข่ายเด็กสมาธิสั้นและไม่อยู่นิ่ง ซึ่งจำเป็นที่ต้องฝึกตั้งเงื่อนไขให้อยู่นิ่งทำกิจกรรมการเล่นและ/หรือการเรียนรู้กับพ่อสลับกับแม่ทุกวันๆ ละ 5 นาที พร้อมจัดกิจกรรมที่ระบายแรงขับได้ดี เช่น ออกแรงเล่นกีฬาต่อเนื่องใน 30-60 นาที พร้อมพ่อแม่อย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง เพราะถ้าเด็กอายุครบ 6 ปี จะดื้อซนมากเกินไป คุณพ่อคุณแม่ฟังอย่างสนใจแต่ก็อดถามดร.ป๊อป ไม่ได้ว่า จะเกี่ยวไหม ที่คุณย่าก็ดื้อซนและอารมณ์ร้าย ดร.ป๊อป ตอบไปว่า ปัจจัยทางพันธุกรรมมีผล 10% แต่ปัจจัยสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะการเลี้ยงดูที่ไม่มีต้นแบบที่ดีอีก 90% ตอนนี้ซัก 1 ครั้งต่ออาทิตย์ที่ควรมีกิจกรรมครอบครัวกับเด็ก เพื่อเรียนรู้ต้นแบบที่ดีของพฤติกรรมจากการสื่อสารภาษาท่าทางและภาษาพูด (ไม่ดุ) จากพ่อแม่บ้าง

ดร.ป๊อป ลองจับเด็กมานอนหงายและตั้งเงื่อนไขให้อยู่นิ่ง 5 นาที พบว่า เด็กพูดจาด่าดังๆ (ไม่แน่ใจว่า เลียนแบบจากที่ไหน จากพ่อที่ท่าทีดุลูก และ/หรือจากที่เด็กดูทีวี/มือถือนานๆ) และพยายามทุบตีตัวดร.ป๊อป ก็พยายามทำใจนิ่งและทำกายเฉย แล้วชี้นำว่า "ผมพูดขอโทษ แล้วน่าป๊อปจะปล่อย" จนครบ 5 นาที เด็กก็ยังคงร้องไห้ ทุบตี และส่งเสียงด่าตลอดเวลา (ดูเหมือนอ่อนแรงลงบ้าง) จากนั้น ดร.ป๊อป ก็ปล่อยเด็กให้คุณพ่ออุ้มและกอด อีก 5 นาทีต่อมา เด็กมาเตะดร.ป๊อป จึงตั้งเงื่อนไขว่า "น้าป๊อปเจ็บมาก เสียใจมาก ขอโทษน้าป๊อปเลย" สำเร็จครับ เด็กผู้โมโหร้ายนิ่งเรียบร้อยและไหว้ขอโทษดร.ป๊อป ...พฤติกรรมปรับเปลี่ยนจากลบเป็นบวก บ่งชี้ถึงแนวโน้มของการปรับเปลี่ยนนิสัยและพฤติกรรมนับตั้งแต่ตั้งเงื่อนไขรวม 10 นาที พอดร.ป๊อป ชวนเก็บของเล่นก็ทำได้ดีเกินคาด

จากกระบวนการปรับพฤติกรรมข้างต้น ผมจึงแนะนำคุณพ่อคุณแม่ให้ฝึกตั้งเงื่อนไขและจัดกิจกรรมที่ให้เด็กระบายแรงขับในช่วงเวลา 5-10 นาที แล้วลองติดตามผลการปรับพฤติกรรมว่า เด็กอยู่นิ่งบ้าง อารมณ์สบายบ้างเวลาขัดใจ ภายใน 21 วัน หากไม่ดีขึ้นจำเป็นที่ต้องปรึกษาจิตแพทย์ต่อไป 

หมายเลขบันทึก: 516927เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2013 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มกราคม 2013 08:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

จะรอฟังผลในพัฒนาการของน้องหลังให้เงื่อนไขในการเล่นกิจกรรมนะคะอาจารย์ จะได้ภายใน ๒๑ วันไหมคะ -_^

ขอบคุณมากครับ ... อ.นุ พี่โอ๋ พี่เหมียว คุณหมอธิรัมภา และคุณขยันต์ 

เป็นกำลังใจให้ค่ะ  ขอให้ช่วยเด็กช่วยสังคมไทยได้แข็งแรงต่อไปค่ะ   

เด็กดีเป็นศรีแก่ชาติ..ช่วยกันฟูมฟักรักใคร่พวกเขานะคะ...ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณมากครับพี่นงนาท คุณทิมดาบ และคุณจันทนี 

วุฒิภาวะทางอารมณ์ของผู้ใหญ่จะช่วยให้เด็กควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น

ทำนอง ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว...นะคะ  :)

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับคุณหยั่งราก ขอบคุณมากครับผม

อ่านแล้วได้ความรู้ดีค่ะ แล้วจะติดตาม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท