รวบรวมทักษะนักบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21


รวบรวมทักษะนักบริหารการศึกษาในศตวรรษที่ 21

รวบรวมโดย ทิพยวรรณ นิลทยา

ผู้เขียนได้อ่านบทความดีๆของท่านผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน รู้สึกประทับใจและเห็นด้วยกีบแนวคิดดังกล่าว จึงนำมารวบรวมไว้เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารการศึกษา และคิดว่าคงเกิดประโยชน์กับท่านผู้สนใจ จึงขอขอบพระคุณผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านที่กรุณาให้แนวคิดนี้กับบุคคลรุ่นหลังได้พัฒนาการศึกาได้อย่างถูกทิศทาง

เริ่มจากความเข้าใจเกี่ยวกับ การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในประเทศสหรัฐอเมริกามีแนวคิดเรื่อง "ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21" ได้รับการพัฒนาฌโดยภาคส่วนที่อยู่นอกวงการศึกษา ประกอบด้วย บริษัทเอกชนชั้นนำขนาดใหญ่ เช่น บริษัทแอปเปิ้ล บริษัทไมโครซอฟ บริษัทวอล์ดิสนีย์ องค์กรวิชาชีพระดับประเทศ และสำนักงานด้านการศึกษาของรัฐ รวมตัวและก่อตั้งเป็นเครือข่ายองค์กรความร่วมมือเพื่อทักษะการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) หรือเรียกย่อๆว่า เครือข่าย P21 สรุปทักษะสำคัญอย่างย่อๆ ที่เด็กและเยาวชนควรมีได้ว่า ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม หรือ 3R  และ 4C ซึ่งมีองค์ประกอบ ดังนี้

R 1 Reading (การอ่าน

R 2 Writing (การเขียน)

R 3 Arithmetic (คณิตศาสตร์)

C 1

Critical Thinking - การคิดวิเคราะห์

C 2

Communication- การสื่อสาร

C 3

Collaboration-การร่วมมือ

C 4

Creativity-ความคิดสร้างสรรค์



ดัดแปลงจาก  http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentId=417

เซอร์เคน โรบินสัน นักการศึกษาระดับโลก โดยได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงแนวคิดการจัดการศึกษาระบบโรงงาน มาเป็นการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิดอย่างสร้างสรรค์และเข้า กับบริบทของโลกที่ได้เปลี่ยนแปลงไป  โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงแนวคิดด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21  (Changing Education Paradigms)

สำหรับมุมมองของ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวว่า มิจฉาทิฐิที่ก่อความเสียหายที่สุดคือการเรียนรู้แบบตื้นยึดมั่นถือมั่นกับ วิชาหรือความรู้(knowledge) การศึกษาหรือการเรียนรู้สมัยใหม่ต้องไปให้ถึงการพัฒนาทักษะ (skills) ที่เรียกรวมๆว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ย้ำว่าการศึกษา ...เปลี่ยนจากเน้นการสอนเป็นเน้นการเรียนและเน้นการเรียนโดยการลงมือทำ (Learning by Doing) และเรียนเป็นกลุ่มหรือเป็นทีม เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมและทักษะความร่วมมือกับผู้อื่น ทักษะการอยู่กับความแตกต่างหลากหลาย ทักษะในการค้นคว้าหาความรู้มาลองใช้ เป็นต้น ซึ่งมหาวิทยาลัยยุคใหม่ก็จำเป็นต้องเน้นการจัดการศึกษาเพื่อ ออกไปทำงานประกอบสัมมาชีพ เป็นพลเมืองดีของสังคม บัณฑิตเหล่านี้ต้องมีทั้ง ความรู้วิชาที่เป็นแกน บวกกับทักษะอีก 3 กลุ่ม คือ

(1) ทักษะชีวิตและทักษะอาชีพ

(2) ทักษะการเรียนรู้

(3) ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

โดยการเรียนรู้สมัยใหม่ ต้อง เรียนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตน จนเกิดภาวะผู้นำ มีทักษะในการนำการเปลี่ยนแปลง(change agent)

  ศตวรรษ 21 นี้ ผู้เรียนต้องมีความรู้ ใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ รู้วิธีการเรียนรู้  ดังนั้นต้องมีทักษะ  "วิถีสร้างการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21" โดย ศ. นพ. วิจารณ์ พานิช มีดังนี้ http://www.qlf.or.th/Home/Details?contentId=417

1.ทักษะการเรียนรู้ (Learning skills)

2.ทักษะการใช้ชีวิต (Life skills)

ความรู้ของนักศึกษาในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย

1. ความรู้ในสาระวิชาหลัก ประกอบด้วย

    1.1 ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลก

    1.2 ศิลปะ

    1.3 คณิตศาสตร์

    1.4 เศรษฐศาสตร์

    1.5 ภูมิศาสตร์

    1.6 ประวัติศาสตร์

    1.7 รัฐและความเป็นพลเมืองที่ดี

2.ความรู้สำคัญในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย

2.1 ความรู้เกี่ยวกับโลก

2.2 ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ

2.3 ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี

2.4 ความรู้ด้านสุขภาพ

2.5 ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

  3. ทักษะสำคัญ ประกอบด้วย

  3.1 ทักษะชีวิตและการทำงาน คือ

  3.1.1 ความยืดหยุ่นและการปรับตัว

  3.1.2 การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง

3.1.3 ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม

3.1.4 การเป็นผู้สร้างหรือผลิต และความรับผิดชอบเชื่อถือได้

3.1.5 ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ

  3.2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ

  3.2.1 ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม

    3.2.2 การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา

    3.2.3 การสื่อสารและความร่วมมือ

  3.3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี

  3.3.1 การใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่าทัน

  3.3.2 วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม

    3.3.3 ใช้เทคโนโลยีใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ

เพื่อให้การเรียนรู้ต่างๆประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้าน คือ

1.มาตรฐานและการประเมินในศตวรรษที่ 21

2.หลักสูตรและการเรียนการสอนสำหรับศตวรรษที่ 21

3.การพัฒนาครุในศตวรรษที่ 21

4.สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

 

เดิม

ศตวรรษที่ 21

เป้าหมาย

ความรู้

ทักษะ

การเรียนการสอน

ครูเป็นหลัก

นักเรียนเป็นหลัก

Project Based Learning (PBL)

ดังนั้น การบริหารการศึกษาศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารต้องสามารถบริหารจัดการได้ เช่น สามารถจัดทำหลักสูตร ตารางเรียนที่บูรณาการเชื่อมโยงได้ พูดจูงใจให้ผู้สอนจัดกระบวนการเรียนรู้และทำงานเป็นทีมได้ดี มีการสื่อสารกัน ทุกคนรู้เรื่องในสถานศึกษาพร้อมกันหมด
    สำหรับ ระบบการนิเทศ (supervision)เป็นลักษณะ peer supervision คือ เพื่อนนิเทศเพื่อน ให้มีลักษณะเป็นการช่วยเหลือแบบพี่เลี้ยง (mentor) ระบบ peer supervision หรือ mentor จะเน้นการเป็นเพื่อน ซึ่งความหมายของกัลยาณมิตรนิเทศนั้นเป็นการนิเทศที่มุ่งการพัฒนาคนมากกว่าการพัฒนาเอกสาร
และผลงาน
  สูตรของ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี ในการพัฒนาผู้สอน ประกอบด้วย INN

( information/ node/ network) คือ
  1) การพัฒนา information คือพัฒนาความรู้ข่าวสารข้อมูลต่างๆ ให้แก่ผู้สอน 2) การสร้าง node คือจุดที่จะกระจายความรู้ Ffpnode ที่จะช่วยแบ่งเบาภาระของผู้บริหาร เช่น กลุ่มผู้สอนที่ชำนาญในเรื่องต่าง ๆ พร้อมที่จะกระจายการปฏิรูปการเรียนรู้ภายในสถานศึกษาต่อไป
  3) การสร้าง network คือ การขยายเครือข่ายออกไปให้มาก ถ้าเราใช้สูตร INN ของ นพ.ประเวศ ก็จะทำให้ผู้บริหารสถานศึกษา ไม่รวมศูนย์อยู่ที่ผู้บริหาร แต่กระจายลักษณะการนิเทศออกไปสู่กลุ่มต่างๆ ในสถานศึกษาและครอบคลุมผู้สอนทั้งสถานศึกษา

คำสำคัญ (Tags): #ครู
หมายเลขบันทึก: 516798เขียนเมื่อ 19 มกราคม 2013 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มกราคม 2013 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีอาจารย์ ก็ดูแล้วติดอยู่หลายอย่างเหมือนกัน


อ่านของหลายๆท่านแล้วนำมาเขียนไว้สร้างสติกับตัวเองค่ะ

ดูแล้วมีความชอบ  +555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท