รักการอ่าน


รักการอ่านกันเถอะ

กระบวนการหรือวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best   Practice)

  ชื่อผลงาน            กิจกรรมรักการอ่าน
ชื่อเจ้าของผลงาน     นางเอี่ยมศรี   ถือทอง
เกริ่นนำ            เดิมการจัดกิจกรรมรักการอ่าน  โรงเรียนห้องสอนศึกษาได้มอบหมายให้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเป็นผู้รับผิดชอบร่วมกับครูที่ปรึกษาทุกห้องเรียน  โดยกำหนดให้นักเรียนทุกคนอ่านหนังสือ และบันทึกการอ่านส่งครูที่ปรึกษาลงลายมือชื่อในชั่วโมงโฮมรูมทุกวันพฤหัสบดี   ก่อนสิ้นภาคเรียนนักเรียนจะส่งสมุดให้ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยเป็นผู้ตรวจสอบและคัดเลือกนักเรียนที่บันทึกการอ่านได้จำนวนเรื่องมากที่สุด  3  อันดับเป็นยอดนักอ่านของห้องนั้นๆ  ปรากฏว่ามีนักเรียนบางคนขาดความรับผิดชอบไม่ได้บันทึกการอ่านหรือบันทึกได้จำนวนน้อยมาก     เพื่อปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้และมีนิสัยรักการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จึงได้กำหนดให้นักเรียนอ่านหนังสือและบันทึกการอ่านส่งครูผู้สอนวิชาภาษาไทยอย่างน้อย  5 เรื่องต่อสัปดาห์   รวมทั้งจัดกิจกรรมรักการอ่านในชั่วโมงโฮมรูม  ประกวดยอดนักอ่านและประกวดพูดแนะนำหนังสือ  จากการที่ครูผู้สอนภาษาไทยกำกับ  ติดตามอย่างใกล้ชิด    ทำให้นักเรียนเกิดความตระหนักในการแสวงหาความรู้     และมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น
ผลสำเร็จ1.      นักเรียนโรงเรียนห้องสอนศึกษาเกิดความตระหนักในกาสวงหาความรู้และมีนิสัยรักการอ่านมากยิ่งขึ้น           
2.  นักเรียนโรงเรียนห้องสอนศึกษา  จำนวน  99  คน ได้รับคัดเลือกเป็นยอดนักอ่าน           
3.  นักเรียนโรงเรียนห้องสอนศึกษา  จำนวน 18  คน ที่ได้รับรางวัลจากการประกวดพูดแนะนำหนังสือ สามารถพูดถ่ายทอดเรื่องราวที่ได้รับจากการอ่านหนังสือได้ผลการได้รับการยอมรับระดับประเทศ              1.   น.ส.ชนาภา    ณรงค์ทิพย์  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนห้องสอนศึกษา ได้รับรางวัล  ชมเชยอันดับ 2 การกล่าวเฉลิมพระเกียรติ  60 ปีครองราชย์  ประโยชน์สุข  ประชาราษฎร์     ของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ   เมื่อวันที่  7  กรกฎาคม 2549 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์กรุงเทพมหานคร  (ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมเงินรางวัล 4,000.-บาท)
ระดับภาคเหนือ            1.   น.ส.ชนาภา    ณรงค์ทิพย์  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนห้องสอนศึกษา ได้รับรางวัล   รองชนะเลิศ    การกล่าวเฉลิมพระเกียรติ      เยาวชนไทยสำนึกในพระบารมี  60  ปีครองราชย์      ของสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  เมื่อวันที่  9  มิถุนายน  2549     ศูนย์การศึกษาเพื่อพัฒนาห้วยฮ่องไคร้   จังหวัดเชียงใหม่  (ได้รับโล่เกียรติยศ   เกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล 5,000.-บาท)
ระดับจังหวัด             
1.   น.ส.ชนาภา    ณรงค์ทิพย์  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6  โรงเรียนห้องสอนศึกษา ได้รับรางวัล  ชนะเลิศ   การกล่าวเฉลิมพระเกียรติ  เยาวชนไทยสำนึกในพระบารมี  60  ปีครองราชย์      ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1   เมื่อวันที่  29  พฤษภาคม  2549 (ได้รับเกียรติบัตร)           
2.   นายอนุวรรต    บุญเรือง   นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนห้องสอนศึกษา ได้รับรางวัลนักเรียนรักการอ่าน  ระดับยอดเยี่ยม   ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1  เมื่อวันที่  18  กันยายน 2549 (ได้รับเกียรติบัตร  พร้อมเงินรางวัล 700 บาท)            3.   โรงเรียนห้องสอนศึกษา   ได้รับรางวัลสถานศึกษารักการอ่านดีเด่น     ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1      เมื่อวันที่  18  กันยายน 2549    (ได้รับเกียรติบัตร  พร้อมเงินรางวัล  5,700  บาท)           
4.   ด.ญ.กรกมล  อยู่คมโชติ  (ชั้นม.3)    ด.ช.ถิรายุธ  พิณสุวรรณ  (ชั้นม.2)    และ ด.ญ.วัลรวี  คงเสถียรภาพ (ชั้นม.1)  ได้รับรางวัล ชนะเลิศ  การแข่งขันตอบคำถามสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  ของ สโมสรไลออนส์แม่ฮ่องสอน  ปางตอง   เมื่อวันที่  19  สิงหาคม  2549กิจกรรม / วิธีการ / ขั้นตอนที่สำคัญ
1.      ประชุมครูกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
2.      ประชาสัมพันธ์โครงการให้นักเรียนและครูโรงเรียนห้องสอนศึกษาทราบ
3.      ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยกำหนดให้นักเรียนอ่านหนังสือ  และบันทึกการอ่านส่งครู  อย่างน้อย  5 เรื่องต่อสัปดาห์
4.      ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยกำกับ  ติดตาม  ตรวจสมุด  และจดบันทึกสถิติการอ่านของนักเรียนแต่ละคนทุกสัปดาห์

5.   จัดกิจกรรมรักการอ่านในชั่วโมงโฮมรูม  ทุกวันพฤหัสบดี    ให้นักเรียนทุกคนอ่านหนังสือ และบันทึกการอ่านส่งครูที่ปรึกษาลงลายมือชื่อ

6.      จัดกิจกรรมประกวดยอดนักอ่าน

7.      จัดกิจกรรมประกวดพูดแนะนำหนังสือ

8.   ส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนร่วมกิจกรรมรักการอ่าน      การประกวดกล่าวเฉลิมพระเกียรติ    การแข่งขันตอบคำถามสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน  ฯลฯ  ของหน่วยงานอื่นๆ

ข้อจำกัดในการนำไปใช้

            นักเรียนโรงเรียนห้องสอนศึกษาไม่เห็นความสำคัญของการอ่าน  ไม่รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย    ไม่มีนิสัยรักการอ่าน   ขาดความรับผิดชอบในการอ่านหนังสือและไม่บันทึกการอ่านส่งครูผู้สอนวิชาภาษาไทย

คำสำคัญ(keywords)           :     รักการอ่าน

วันที่ส่งข้อมูล                     :      24   กันยายน  2549 

ผู้นำส่งความรู้                    :      นางเอี่ยมศรี   ถือทอง

สำนัก / หน่วย / กลุ่ม          :     โรงเรียนห้องสอนศึกษา

 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1

โทรศัพท์                            :      0 5361 - 1311 

E – mail                             :      [email protected]

 
หมายเลขบันทึก: 51590เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2006 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 21:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตามความคิดของผมนะครับโครงการนี้เป็นโครงการที่ดีนะครับ แต่ว่าในความเป็นจริงนะครับโรงเรียนเรายังไม่ใช่โรงเรียนที่มีการรักการอ่ารอย่างแท้จริง ที่ออกมาที่เห็นนั้นเป็นเพียงไม่ถึง 10 % หรอกครับ ที่เด็กมีการรักการอ่านอย่างแท้จริง  ที่เหลือนะครับเป็นการทำเพื่อให้มันผ่านๆไป เพียงแต่ครูเอาคะแนนมาล่อให้ทำเท่านั้น และผมคิดว่ายังเป็นการทำให้เด็กไม่มีนิสัยรักการอ่านที่แท้จริง เด็กเพียงแต่คัดลอกข้อความในหนังสือเพื่อมาลงไว้เท่านั้นครับ

อยากจะบอกว่า  การแก้ใขปัญหาของเด็กไม่รักการอ่านเป็น ทางแก้ที่น่าทำและถูกต้องที่สุด  ความสำเร็จต่างๆ จะไม่เกิดขึ้นถ้าคนผู้นั้นไม่รุ้จักการอ่านเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่มีกำลังใจเต็มเปี่ยมที่จะต่อสู้กับปัญหา  เด็กไทยไม่รักการอ่าน  และในฐานะที่เป็นครู หน้าที่หลักคือการสร้างคนให้เป็นคนโดยสมบูรณ์ทั้งร่ายกาย และจิตใจ  ที่โรงเรียนก็จัดกิจกรรมอย่างหลากหลายแต่ผลสรุปความสำเร็จ  ก็ยังไม่สามารถที่จะสร้างนิสัยรักการอ่านให้กับนักเรียนได้ในระดับที่น่าพอใจเลย  ทั้งนี้  ดิฉันขอความช่วยเหลือ  คำแนะนำ  ชี้แนะแนวทางที่จะสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ให้นักเรียนในโรงเรียนของดิฉันมีนิสัยที่รักการอ่านอย่างที่ตั้งใจ ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท