ตกตะกอนความคิด---เรื่อง 'การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย'


บทบาทหนึ่งของนักกิจกรรมบำบัดต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งเห็นชัดในการดูแลระยะ Pre-Dying คือ การดูแลด้านจิตวิญญาณ (Spirituality), จิตสังคม (Psychosocial), และบริบทแวดล้อม (Contexts) โดยไม่ทิ้งเรื่องของร่างกายและจิตใจ (Physical and Mental)

การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย (End of Life Care)

ผู้ป่วยระยะสุดท้าย คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าสภาวะการป่วยเข้าสู่ระยะท้ายๆของโรค ด้วยมีการลุกลาม-เรื้อรังจนเกินที่จะรักษาให้หายได้ การดูแลรักษาจึงเป็นแบบประคับประคอง (Palliative Care) แทนที่จะเป็นแบบ Active treatment ที่เป็นหนทางยื้อชีวิตโดยวิธีทางการแพทย์ อาทิ การเจาะคอช่วยหายใจ, การให้สารอาหารและน้ำทางสายยาง, การทำCPRช่วยชีวิตเมื่อหยุดหายใจ และอื่นๆ


ในกระบวนการของการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย หลังแพทย์ได้ประเมินอาการและลงความเห็นว่าจะให้การรักษาอย่างไรต่อผู้ป่วย โดยแพทย์จะกำหนดวัตุประสงค์ร่วมกับญาติของผู้ป่วยและสหวิชาชีพในทีมเพื่อการดูแลรักษาแบบองค์รวม (Holistic care) บทบาทหนึ่งของนักกิจกรรมบำบัดต่อผู้ป่วยระยะสุดท้าย ซึ่งเห็นชัดในการดูแลระยะ Pre-Dying คือ การดูแลด้านจิตวิญญาณ (Spirituality), จิตสังคม (Psychosocial), และบริบทแวดล้อม (Contexts) โดยไม่ทิ้งเรื่องของร่างกายและจิตใจ (Physical and Mental) เชื่อมโยงไปถึงกรอบอ้างอิงทางกิจกรรมบำบัดที่จะนำมาใช้ในกระบวนการบำบัดผู้ป่วยระยะสุดท้าย ได้แก่

1) Model of Human Occupation (MoHo) ที่เน้นเรื่องของเจตจำนงค์ภายใน (Volition) สู่การลงมือทำให้เป็นจริง (Performance) เพื่อการจากไปด้วยดี (Good Death; ปล่อยวาง ยอมรับ มีสันติสุข) ในเวลาอันใกล้ที่ผู้ป่วยรู้ดี ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีสิทธิ์ที่จัดการและตัดสินใจต่อชีวิตความเป็นความตายของตนเองได้ เช่น การทำหนังสือแสดงเจตนาการตายอย่างสงบตามธรรมชาติ (Living Will), การได้พนมมือสวดมนต์ทุกครั้งก่อนการเข้านอน, การได้จัดการถึงรูปแบบพิธีงานศพของตนเอง เป็นต้น

2) Person-Environment-Occupation-Performance model (PEOP model) ที่มองถึงปัจจัยแวดล้อมซึ่งมีผลอย่างมากต่อตัวผู้ป่วยทั้งด้านจิตวิญญาณ โดยเฉพาะในแง่ของการยึดเหนี่ยวจิตใจ-ความเชื่อต่อศาสนาหรือบางสิ่งบางอย่าง ด้านจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับควาหวัง-ความต้องการที่จะพบญาติหรือทำสิ่งใดๆก่อนที่ตนจะจากไปอย่างหมดกังวล การจัดสิ่งแวดล้อม (Environment modification) ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือโรงพยาบาล เป็นหน้าที่หนึ่งของนักกิจกรรมบำบัดที่สำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสุขภาวะทางใจที่ดี (Well-being) ในวาระสุดท้ายของชีวิต

ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการรักษาแบบ Palliative care หรือ Active treatment หรือตามหลักการทางวิชาชีพทางการแพทย์ของสายวิชาชีพใดๆก็ตาม เป้าหมายสูงสุดในการดูแลรักษาผู้ป่วยระยะสุดท้ายร่วมกัน คือ การช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิต-มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์สูงสุด บำบัดบรรเทาให้มีความทรมาน-กังวลน้อยที่สุด และทำภารกิจทางกายภาพและจิตใจได้สำเร็จ ก่อนจะถึงความตายของผู้ป่วย นั่นเอง

ข้อคิดที่ได้รับจากการเข้าฟังการบรรยาย :: ทบทวนถึงความตายเพื่อเตรียมการรับมือกับมัน จงเข้าใจว่าความตายเป็นเรื่องธรรมชาติของชีวิต การที่เรามือชีวิตอยู่เราก็ต้องอยู่อย่างไม่ประมาทเพื่อให้มีโอกาสได้สร้างบุญ/กรรมดี ในฐานะที่ชาตินี้ได้เกิดมาเป็นคน ;]

ขอพระขอบคุณผู้ให้ความรู้ที่ชวนให้คิดแจ้ง...คุณรัชณีย์ ป้อมทอง ณ ห้องAuditorium คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล 9 มกราคม พ.ศ.2556 เวลา 13.00-15.00 น.

หมายเลขบันทึก: 515690เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2013 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มกราคม 2013 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท