ห้องเรียนในศตวรรษที่ 21 มีหน้าตาอย่างไร ตอนที่ 2


         .....ในอีกมุมหนึ่ง หากเราพิจารณาประเภทของกลุ่มคนที่เกิดในแต่ละเจนเนอเรชั่นที่แตกต่างกัน ได้แก่ 

1.คนกลุ่มที่เกิดในยุคเบบี้บูม (เกิดประมาณ พ.ศ. 2489-2506) เป็นกลุ่มคนที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่2 ซึ่งเป็นยุคที่อยู่ท่ามกลางความต้องการทั้งด้านแรงงานและความคิด ในการพัฒนาประเทศ มีความอดทนในการทำงาน เน้นความสำเร็จในหน้าที่การงาน ปรับตัวช้า สนใจความรู้ในเชิงลึก ชอบค้นหาความรู้

2.คนกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ (เกิดประมาณ พ.ศ. 2507-2521) เป็นกลุ่มคนที่เกิดในยุคสังคมกำลังเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการเมือง เป็นกลุ่มที่ต้องเริ่มมีการปรับตัว เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ยอมรับการเปลี่ยนแปลงเร็วขึ้น

3.คนกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย (เกิดประมาณ พ.ศ. 2522-2538) เป็นกลุ่มคนที่อยู่ในยุคเศรษฐกิจแบบโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ได้รับอิทธิพลและแนวคิดแบบสากล แสวงหาความรู้จากอินเทอร์เน็ต อยู่กับเทคโนโลยีสมัยใหม่ สามารถหาข้อมูลและความรู้ได้อย่างไร้พรมแดนทำให้มองเห็นโอกาสและทางเลือกใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา ไม่ชอบกฏเกณฑ์หรือระเบียบที่เคร่งครัด

4.คนกลุ่มเจนเนอเรชั่นแซด (เกิดประมาณ พ.ศ. 2539-ปัจจุบัน) เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอย่างจริงจัง หรือ Digital Native และเป็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดด มีการเรียนรู้ สังเกต และแบ่งปันความรู้หรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ หรือ Social Network เป็นตัวเชื่อมต่อ

หากเราเอาภาพของกลุ่มคนในเจนเนอเรชั่นทั้งสี่เจนเนอเรชั่นข้างต้นมาเชื่อมต่อกับระบบการศึกษาของประเทศไทยเราอาจแบ่งมุมมองออกได้เป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มของการศึกษาขึ้นพื้นฐานคือตั้งแต่ประถมศึกษาจนถึงมัธยมศึกษาปีที่หก นับรวมถึงระดับป.ว.ช และ ป.ว.ส หรือที่เรียกว่าระดับ K-12 และอีกกลุ่มคือระดับอุดมศึกษา หรือเรียกว่าระดับ Higher-Ed ซึ่งทั้งสองกลุ่มจะประกอบไปด้วยผู้สอนกับผู้เรียน

ผู้สอนที่เกิดในยุคเบบี้บูมจะมีค่อนข้างน้อยในปัจจุบัน ส่วนมากจะอยู่ในระดับผู้บริหาร ผู้สอนส่วนใหญ่จึงมักจะอยู่ในกลุ่มเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์เป็นหลัก และ  มีส่วนผสมของเจนเนอเรชั่นวายตอนต้น ในขณะที่ผู้เรียนจะอยู่ในเจนเนอเรชั่นแซดทั้งหมด และมีเจนเนอเรชั่นแซดช่วงตอนต้นๆที่กำลังจะก้าวเข้าสู่ระดับอุดมศึกษาในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า ในขณะที่ระดับอุดมศึกษาก็เช่นเดียวกันคือ กลุ่มยุคเบบี้บูมมักจะเป็นระดับผู้บริหาร จะมีจำนวนของคนยุคนี้ที่ยังทำการสอนที่ลดน้อยลงตามลำดับ ผู้สอนจะอยู่ในกลุ่มของเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ และ เจนเนอเรชั่นวายตอนต้น แต่จะมีผู้เรียนที่อยู้ในเจนเนอเรชั่นวายตอนปลายเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นหากเรามองภาพรวมจากยุคของคนที่อยู่ในแต่ละส่วนของการศึกษาเราจะเห็นว่าผู้ที่มีบทบาทในการกำหนดนโบายหรือหลักสูตรยังคงเป็นคนกลุ่มยุคเบบี้บูมและเจนเนอเรชั่นเอ็กซ์ตอนต้นๆเป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่ผู้เรียนอยู่ในยุคของเจนเนอเรชั่นวายตอนปลายและเจนเนอเรชั่นแซด หากมองพฤติกรรมของคนในแต่ละยุคดังที่ได้กล่าวข้างต้นเราก็อาจมองเห็นปัญหาหรือความต้องการของผู้สอนและผู้เรียนที่อาจจะไม่สอดคล้องกันสืบเนื่องจากความคิดและสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมคนในยุคที่แตกต่างกัน และอีกไม่กี่ปีข้างหน้าเราก็จะมีผู้เรียนทั้งหมดในระบบการศึกษาที่เกิดในยุคเจนเนอเรชั่นแซดทั้งหมด ดังนั้นหากผู้สอนไม่ได้ทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็อาจเป็นการยากที่จะทำให้การพัฒนาด้านการศึกษาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นหากเรายังมีระบบการเรียนการสอนแบบป้อนข้อมูลทางเดียว เน้นให้ผู้เรียนยังต้องพึ่งพาการกวดวิชา ท่องจำเพื่อทำข้อสอบ การศึกษาไทยจะเป็นอย่างไร และเมื่อผู้เรียนซึ่งมีพฤติกรรมแบบของคนในยุคเจนเนอเรชั่นแซดต้องจบการศึกษาเพื่อออกมาประกอลวิชาชีพหรือทำงานร่วมกับคนที่อยู่ในเจนเนอเรชั่นก่อนหน้าจะเกิดผลอย่างไร ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะเริ่มพิจารณาการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนในระบบการศึกษาใหม่อย่างเต็มรูปแบบ ....<โปรดอ่านต่อได้ในตอนที่ 3>

หมายเลขบันทึก: 515358เขียนเมื่อ 7 มกราคม 2013 11:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2013 18:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท