เทคนิคการประเมินผลอย่างมืออาชีพ ตอนที่ 2


แลกเปลี่ยนความรู้โดย รศ.ดร.มานพ  คณะโต อาจารย์คณะแพทย์ศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่งต่อความรู้โดย กาญจนา  นิ่มสุนทร นศ.ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนาสุขภาพชุมชน

            อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าการประเมินผลที่มีคุณภาพจะต้องมีเกณฑ์การประเมินที่เป็นระบบระเบียบ
ในที่นี้จะขอกล่าวถึง การกำหนดเกณฑ์การประเมินผล ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วย คุณค่าภายในคำว่า Merit เป็นคุณค่าภายในตัวเองที่แฝงเร้นอยู่ในสิ่งนั้นตลอดเวลาไม่ขึ้นอยู่กับบริบท การประมาณค่าภายในจึงเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก คุณค่าภายนอก (Value หรือ Worth)ขึ้นอยู่กับสถานการณ์แวดล้อมสามารถตีค่าได้อย่างค่อนข้างเป็นปรนัย
ถ้านิยาม คุณค่าไม่มีความเฉพาะเจาะจง ตัวบ่งชี้เกณฑ์มาตรฐาน ตัวบ่งชี้หมายถึง ตัวแปรหรือค่าที่สังเกตได้ซึ่งใช้บ่งบอกสถานภาพหรือสะท้อนลักษณะการดำเนินงานและตัววัดผลสำเร็จของงาน เกณฑ์ หมายถึง ระดับที่ถือว่าเป็นความสำเร็จของการดำเนินงานหรือผลที่ได้รับ การกำหนดคุณค่า (Valuation) การกำหนดคุณค่าภายใต้บริบทควรพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งในแง่ของวิธีการและผลลัพธ์ที่เกิดโดยอาศัยการตีความจากข้อสรุป

           การกำหนดคุณค่าเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดอ่อนขึ้นอยู่กับริบทและวิธีการใช้รวมทั้งความคุ้นเคยของนักประเมินคุณค่าภายในและคุณค่าภายนอกมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันโดยคุณค่าภายในอาจประกอบด้วยคุณค่าภายนอกหลายๆด้านการตัดสินคุณค่าภายในควรใช้เกณฑ์สมบูรณ์ส่วนการตัดสินภายนอกควรใช้เกณฑ์สัมพัทธ์      สำหรับข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบของผู้ประเมิน คือ ถ้าเป็นผู้ประเมินจากภายในองค์กรจะเข้าใจบทบาท จะเข้าใจเนื้อหาลุ่มลึกมากกว่า ผู้ประเมินภายนอกอาจจะได้ประโยชน์ในแง่ของความมีอิสระและความมั่นใจของฝ่ายบริหารและการมีวัตถุวิสัย

          ช่วงเวลาในการประเมินผลซึ่งจะแบ่งออกเป็นการประเมินผลระหว่างการดำเนินงาน และประเมินผลรวบยอด
ในการประเมินผลระหว่างการดำเนินการ (Formative)ประเด็นที่ต้องให้ความสนใจจะทำให้การดำเนินงานของโครงการดีขึ้นอย่างไร จะปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโครงการอย่างไร

          ตัวอย่างคำถามที่ควรนำมาพิจารณา จุดประสงค์ของโครงการคืออะไร  ลักษณะสำคัญของโครงการเป็นอย่างไร  กิจกกรมของโครงการจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างไร ส่วนประกอบสำคัญของโครงการได้ถูกดำเนินการหรือไม่ มีแนวโน้มของความสำเร็จมากน้อยเพียงใด จะปรับปรุงในโรงกาอรอย่างไรเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
กิจกรรมอะไรที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละวัตถุประสงค์ย่อย มีกิจกรรมอะไรที่เหมาะกับประชากรเป้าหมายเฉพาะหรือไม่

         การประเมินผลรวบยอด (Summative)ประเด็นที่ต้องให้ความสนใจ คือ โครงการนั้นประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โครงการนั้นคุ้มค่าสมควรขยายผลหรือไม่ โครงการนั้นมีประสิทธิผลอย่างไร จะสรุปเกี่ยวกับโครงการและปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆได้อย่างไร

       ตัวอย่างคำถามที่ควรพิจารณา จุดประสงค์ของโครงการคืออะไร ลักษณะสำคัญของโครงการเป็นอย่างไร ทำไปกิจกกรมเหล่านั้นถึงทำให้บรรลุความสำเร็จตามวัตถุประสงค์จริงๆแล้ว กิจกรรมต่างๆ มีส่วนในการทำให้บรรลุวัตถุประสงค์มากน้อยเพียงใด มีโครงการอื่นๆที่เทียบเคียง เป็นคู่แข่งที่สำคัญของโครงการนี้ แนวทางการประเมินผล 4 ขั้นตอน การวิเคราะห์ตรรกะเป็นการศึกษาทางตรรกวิทยาเพื่อดูว่าสิ่งที่จะถูกประเมินต่างๆ ถูกกำหนดไว้มีความสัมพันธ์กันอย่างไร การวางแผนการประเมินผล มีส่วน ประกอบสำคัญ 4 ประการ การเลือกตัวอย่างใน 2  ลักษณะ คือ การสุ่มตัวอย่างที่ผู้ตอบเป็นตัวแทน และการเลือกผู้เก็บ การเก็บข้อมูล หากสามารถเก็บข้อมูลได้ตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ตลอดระหว่างโครงการและหลังโครงการ การหาข้อสรุป และข้อเสนอแนะมีหลักการที่จะต้องมีข้อสรุปที่ชัดเจน

     สรุป: การจะเป็นนักประเมินมืออาชี่พนั้นไม่ใช่แต่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการประเมินเกณฑ์การประเมิน อย่างเดียวสิ่งที่สำคัญที่สุดจะต้องประเมินผลเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการนไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กรที่เราเข้าไปประเมินและไม่ให้ผู้ถูกประเมินรู้สึกถูกซ้ำเติม ในขณะเดียวกันผู้ถูกประเมินจะต้องยอมรับให้ความไว้วางใจผู้ประเมินว่าจะติเพื่อก่อให้เกิดแนวทางการพัฒนาไม่ใช่เพื่อทำลายล้างและไม่สามารถก้าวเดินได้ต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #formative#summative#valuation
หมายเลขบันทึก: 514437เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2012 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 ธันวาคม 2012 16:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท