เดิน20นาที_อารมณ์ดีไปกี่ชั่วโมง



.
RealAge ตีพิมพ์เรื่อง 'Exercise Benefits: Feel happy for 12 hours'
= "ประโยชน์(ของการ)ออกกำลัง: รู้สึกสบายไป 12 ชั่วโมง" = ออกกำลัง 20 นาที, อารมณ์ดีไป 12 ชั่วโมง", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่ ทำในกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา ให้กลุ่มหนึ่งนั่งเงียบๆ 20 นาที อีกกลุ่มหนึ่งขี่จักรยานออกกำลังอยู่กับที่ 20 นาที
.
ความแรงของการปั่นจักรยานในการศึกษานี้ = เบาจนถึงปานกลาง = 60% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด (100% = 220-อายุเป็นปี)
.
ตัวอย่างเช่น นายกอกับนางขอ อายุ 20 ปี, จะได้ 100% = 200 ครั้ง/นาที

ถ้านายขอหรือนางขอ ต้องการออกกำลังที่ 60% ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด = 60/100*200 = 120 ครั้ง/นาที
.
ผลการศึกษาพบว่า ทั้งการทำตัว "เรื่อยเปื่อย" หรือ "อยู่เฉยๆ เฉื่อยๆ" และออกกำลัง ทำให้ความรู้สึกด้านลบ เช่น ความโกรธ ซึมเศร้า เหนื่อยล้า เครียด ฯลฯ ลดลง
.
ความต่างกัน คือ ออกกำลังทำให้คนเรา "ทุกข์น้อยลง" นานกว่า
.
การออกแรง-ออกกำลังหนักเบาจนถึงปานกลาง 20 นาที ทำให้สมองหลั่งสารความสุขออกมาจนทำให้อารมณ์ดีไปได้ถึง 12 ชั่วโมง
.

.
ทีนี้ถ้าต้องการจะให้อารมณ์ดีไปทั้งวันจะทำอย่างไร... ดีที่สุด คือ ออกกำลังวันละ 2 รอบๆ ละ 20 นาที
.
ดีรองลงไป คือ ออกกำลังนานหน่อย 1 ครั้ง/วัน, แล้วออกกำลังหนักหน่อย-ช่วงสั้นๆ แทรกเป็นช่วงๆ วัน เช่น เดินนาน 20 นาที + เดินเร็วหรือขึ้นลงบันไดตามโอกาส สะสมเวลาให้ได้ 20 นาทีขึ้นไป ฯลฯ
.
อาจารย์หมอที่หุ่นดี ส่วนใหญ่บอกตรงกัน คือ ท่านจะไม่ยอมดู TV เปล่าๆ... แบบว่า "ดูไป-ถีบไป", ปั่นจักรยานออกกำลังไปเรื่อยๆ ตอนดู TV 
.
ท่านที่นั่งวันละนานๆ ก็หาทางออกกำลังแทรกเป็นช่วงๆ ได้ เช่น ลุกขึ้น-นั่งลงสลับ, พักไปเดินหรือขึ้นลงบันไดทุก 1-1.5 ชั่วโมง ฯลฯ
.

.
หรือถ้านั่งเก้าอี้ที่บ้านสบายๆ ก็นั่งแกว่งขาสลับเป็นพักๆ... "ถีบ (active)" บ่อยๆ ทำให้สุขภาพดีได้แบบนี้
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.


> [ Twitter ]

  • Thank > http://www.realage.com/mood-stress/get-happy-20-minute-workout?src=edit&chan=tip&con=tip&click=p5b1
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 25 ธันวาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
 
 
หมายเลขบันทึก: 514078เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2012 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ธันวาคม 2012 22:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ สำหรับสิ่งดีๆ 

  • ขอบคุณในสาระดีๆ มีประโยชน์มากครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท