มหาธี
อาจารย์ ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พุทธวจนะแสดง ความเป็นสัมมาสัมพุทโธ


โครงการธรรมศึกษาวิจัย

พุทธวจนะแสดง

ความเป็นสัมมาสัมพุทโธ

: ศึกษาจากคัมภีร์พระไตรปิฎก

อรรถกถา ฎีกาตลอดจนคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา

ธีรวัส  บำเพ็ญบุญบารมี

ผู้อำนวยการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์

มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ธรรมศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้าเพื่อเป็นหลักฐานทางวิชาการทางพระพุทธศาสนา

ตามหลักสูตรวิจัยคัมภีร์พระพุทธศาสนา มูลนิธิเบญจนิกาย พุทธศักราช  ๒๕๕๐พิมพ์ครั้งที่ ๑  ๕๐๐ เล่ม

เพื่อเป็นธรรมทานไม่สงวนลิขสิทธิ์

 

พุทธวจนะแสดง

ความเป็นสัมมาสัมพุทโธ

มีเรื่อง:- โลกธาตุหนึ่งมีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว

- -การปรากฏของพระตถาคตมีได้ยาก

-- โลกที่กำลังมัวเมาก็ยังสนใจในธรรมของพระตถาคต

-- การมีธรรมของพระตถาคตอยู่ในโลกคือความสุขของโลก

-- พระตถาคตเกิดขึ้นเพื่อความสุขของโลก

-- พระตถาคตเกิดขึ้นในโลกเพื่อแสดงแบบแห่งการครองชีวิตอันประเสริฐแก่โลก

- - พระตถาคตเกิดขึ้นแสดงธรรมเพื่อความรำงับดับ, รู้

-- ผู้เชื่อฟังพระตถาคตจะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน

--ทรงขนานนามพระองค์เองว่า “พุทธะ”

โลกธาตุหนึ่งมีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว๑

อานนท์! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะนั้นย่อมรู้ว่าข้อนี้มิใช่ฐานะข้อนี้มิใช่โอกาสที่จะมีคือข้อที่ในโลกธาตุอันเดียวจะมีพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะสององค์เกิดขึ้นพร้อมกันไม่ก่อนไม่หลังกัน.นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ส่วนฐานะอันมีได้นั้นคือในโลกธาตุอันเดียวมีพระตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะองค์เดียวเกิดขึ้น. นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้.

๑. บาลีพหุธาตุกสูตรอุปริ. ม. ๑๔/๑๗๑/๒๔๕.

การปรากฏของพระตถาคตมีได้ยากในโลก๑

ภิกษุท.! การมาปรากฏของบุคคลเอก (ไม่มีใครซ้ำสอง)มีได้ยากในโลก. ใครเล่าเป็นบุคคลเอก? ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองเป็นบุคคลเอก (ไม่มีใครซ้ำสอง). การปรากฏของบุคคลเอกนี้แลมีได้ยากในโลกโลกที่กำลังมัวเมาก็ยังสนใจในธรรมของพระตถาคต๒

ภิกษุท.! เพราะเหตุที่ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะเกิดขึ้นจึงเกิดมีของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีสี่อย่างนี้ปรากฏขึ้น. สี่อย่างอะไรเล่า?

ภิกษุท.! ประชาชนทั้งหลายพอใจในกามคุณยินดีในกามคุณบันเทิงอยู่ในกามคุณ, ครั้นตถาคตแสดงธรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับกามคุณประชาชนเหล่านั้นก็ฟังเงี่ยหูฟังตั้งใจฟังเพื่อให้เข้าใจทั่วถึง.

ภิกษุท.! นี่คือของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีอย่างที่หนึ่ง, มีขึ้นมาเพราะการบังเกิดของตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

๒. ภิกษุท.! ประชาชนทั้งหลายพอใจในการถือตัวยินดีในการถือตัวบันเทิงอยู่ในการถือตัว, ครั้นตถาคตแสดงธรรมที่กำจัดการถือตัวประชาชนเหล่านั้นก็ฟังเงี่ยหูฟังตั้งใจฟังเพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุท.!นี่คือของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีอย่างที่สอง, มีขึ้นมาเพราะการบังเกิดของตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

๑. บาลีเอก, อํ. ๒๐/๒๙/๑๔๐. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

๒. บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๗๗/๑๒๘. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่เชตวัน.

๓. ภิกษุท.! ประชาชนทั้งหลายพอใจในความวุ่นวายไม่สงบยินดีในความวุ่นวายไม่สงบบันเทิงอยู่ในความวุ่นวายไม่สงบ, ครั้นตถาคตแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบประชาชนเหล่านั้นก็ฟังเงี่ยหูฟังตั้งใจฟังเพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุท.! นี่คือของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีอย่างที่สาม,มีขึ้นมาเพราะการบังเกิดของตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

๔. ภิกษุท.! ประชาชนทั้งหลายประกอบอยู่ด้วยอวิชชาเป็นคนบอดถูกความมืดครอบงำเอาแล้ว, ครั้นตถาคตแสดงธรรมที่กำจัดอวิชชาประชาชนเหล่านั้นก็ฟังเงี่ยหูฟังตั้งใจฟังเพื่อให้เข้าใจทั่วถึง. ภิกษุท.!นี่คือของน่าอัศจรรย์ไม่เคยมีอย่างที่สี่, มีขึ้นมาเพราะการบังเกิดของตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ.

การมีธรรมของพระตถาคตอยู่ในโลกคือความสุขของโลก๑

ภิกษุท.! เมื่อพระสุคตก็ดีระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดียังคงมีอยู่ในโลกเพียงใดอันนั้นก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุข

ของชนเป็นอันมากเพื่ออนุเคราะห์แก่โลก, เพื่อประโยชน์เพื่อความเกื้อกูล

เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, อยู่เพียงนั้น.

ภิกษุท.! พระสุคตนั้นคือใครเล่า? คือตถาคตบังเกิดขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเองถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะเป็นผู้ไปดีรู้แจ้งโลก

เป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูของเทวดาและมนุษย์เป็นผู้

เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสอนสัตว์. นี้คือพระสุคต.

ภิกษุท.! ระเบียบวินัยของพระสุคตนั้นคืออะไรเล่า? คือตถาคตนั้น

แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด, ประกาศพรหมจรรย์

๑.  บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๙๗/๑๖๐.

พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. ธรรมที่ตถาคต

แสดงพรหมจรรย์ที่ตถาคตประกาศนี้แลคือระเบียบวินัยของพระสุคต.

ภิกษุท.! เมื่อพระสุคตก็ดีระเบียบวินัยของพระสุคตก็ดียังคงมีอยู่ในโลกเพียงใดอันนั้นก็ยังเป็นไปเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขของชนเป็นอันมากเพื่ออนุเคราะห์แก่โลก, เพื่อประโยชน์เพื่อความเกื้อกูลเพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, อยู่เพียงนั้นพระตถาคตเกิดขึ้นเพื่อความสุขของโลก๑

พราหมณ์เอย! มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งกลางคืนแท้ๆก็เข้าใจไปว่ากลางวัน๒กลางวันแท้ๆก็เข้าใจไปว่ากลางคืน. ข้อนี้เรากล่าวว่าเป็นเพราะสมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้อยู่ด้วยความหลง.

พราหมณ์เอย! ส่วนเราตถาคตย่อมเข้าใจกลางคืนเป็นกลางคืนกลางวันเป็นกลางวัน.

พราหมณ์เอย! เมื่อใครจะเรียกผู้ใดให้เป็นการถูกต้องว่าเป็นสัตว์ผู้มีความไม่หลงอยู่เป็นปรกติและเกิดขึ้นเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมากเพื่ออนุเคราะห์โลก, เพื่อประโยชน์เพื่อความเกื้อกูลเพื่อความสุขของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแล้ว; เขาเมื่อจะเรียกให้ถูกต้องเช่นนั้นพึงเรียกเราตถาคตนี้แลว่าเป็นสัตว์ผู้มีความไม่หลงอยู่เป็นปรกติเกิดขึ้นเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่ออนุเคราะห์โลก. เพื่อประโยชน์เพื่อความเกื้อกูลเพื่อความสุขของเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย.

๑. บาลีภยเภรวสูตรมู.ม. ๑๒/๓๗/๔๖. ตรัสแก่ชาณุสโสณีพราหมณ์ที่เชตวัน.

๒. คำว่ากลางคืนกลางวันในที่นี้มิได้มีความหมายตามตัวหนังสือ.

พระตถาคตเกิดขึ้นในโลก

เพื่อแสดงแบบแห่งการครองชีวิตอันประเสริฐแก่โลก๑

ภิกษุท.! ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะดำเนินไปดีรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูของเทวดาและมนุษย์เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.

ภิกษุท.! ตถาคตนั้นได้ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้กับทั้งเทวดามารพรหมซึ่งหมู่สัตว์กับทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ผู้อื่นรู้แจ้งตามตถาคตนั้นแสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถะพร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง.คฤหบดีหรือลูกคฤหบดีหรือคนที่เกิดในตระกูลอื่นใดในภายหลังย่อมฟังธรรมนั้น. ครั้นฟังแล้วย่อมเกิดศรัทธาในตถาคต. กุลบุตรนั้น

ผู้ประกอบอยู่ด้วยศรัทธาย่อมพิจารณาเห็นว่าเพศฆราวาสนี้เป็นทางมาแห่งธุลี; ส่วนการบรรพชาเป็นโอกาสว่าง. มันไม่เป็นไปได้โดยง่ายที่เราผู้อยู่ครองเรือนเช่นนี้จะประพฤติพรรหมจรรย์นั้นให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวเหมือนสังข์ที่เขาขัดสะอาดดีแล้ว. ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวดครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือนไป, บวชเป็นผู้ไม่มีเรือนเถิด....

๑. บาลีมู.ม. ๑๒/๔๘๙/๔๕๔. ตรัสแก่ภิกษุท. ที่เชตวัน, และบาลีอื่นๆอีกเป็นอันมาก.

พระตถาคตเกิดขึ้นแสดงธรรมเพื่อความรำงับ, ดับ, รู้.

ภิกษุท.! ตถาคตเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยตนเองสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะดำเนินไปดีรู้แจ้งโลกเป็นสารถีฝึกคนควรฝึกไม่มีใครยิ่งกว่าเป็นครูของเทวดาและมนุษย์เป็นผู้เบิกบานแล้วจำแนกธรรมออกสั่งสอนสัตว์.ธรรมที่ตถาคตแสดงนั้นเป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความสงบรำงับ,เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความดับเย็นสนิท, เป็นธรรมที่เป็นไปเพื่อความรู้ครบถ้วน,เป็นธรรมที่ประกาศไว้โดยพระสุคตผู้เชื่อฟังพระตถาคตจะได้รับประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน๒

ภิกษุท.! เราแลเป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้ฉลาดในเรื่องโลกอื่น,เป็นผู้ฉลาดต่อวัฏฏะอันเป็นที่อยู่ของมารฉลาดต่อวิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมาร,เป็นผู้ฉลาดต่อวัฏฏะอันเป็นที่อยู่ของมฤตยูฉลาดต่อวิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมฤตยู. ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนาน.

(ครั้นพระผู้มีพระภาคได้ตรัสคำนี้แล้วพระสุคตได้ตรัสคำอื่นอีกดังนี้ว่า :-)

ทั้งโลกนี้แลโลกอื่นตถาคตผู้ทราบดีอยู่ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้ว. ทั้งที่ที่มารไปไม่ถึงและที่ที่มฤตยูไปไม่ถึงตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัดได้ประกาศไว้ชัดแจ้ง

๑. บาลีอัฏฐก. อํ. ๒๓/๒๒๙/๑๑๙. ตรัสแก่ภิกษุท. ที่ป่ามะม่วงของหมอชีวกใกล้กรุงราชคฤห์.

๒. บาลีจูฬโคปาลสูตรมู.ม๑๒/๔๒๑/๓๙๑. ตรัสแก่ภิกษุท. ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้เมืองอุกกเวลา.

แล้วเพราะความรู้โลกทั้งปวง. ประตูนครแห่งความไม่ตายตถาคตเปิดโล่งไว้แล้วเพื่อสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงถิ่นอันเกษม. กระแสแห่งมารผู้มีบาปตถาคต

ปิดกั้นเสียแล้วกำจัดเสียแล้วทำให้หมดพิษสงแล้ว.

ภิกษุท.! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากมูนด้วยปราโมทย์ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะเถิดทรงขนานนามพระองค์เองว่า “พุทธะ”๑

(การสนทนาดับโทณพราหมณ์, เริ่มในที่นี้ด้วยพราหมณ์ทูลถาม )

“ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นเทวดาหรือ ?”

“พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นเทวดาดอก”.

“ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นคนธรรพ์หรือ ?”

“พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นคนธรรพ์ดอก”.

“ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นยักษ์หรือ ?”

“พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นยักษ์ดอก”.

“ท่านผู้เจริญของเรา ! ท่านเป็นมนุษย์หรือ ?”

“พราหมณ์เอย ! เราไม่ได้เป็นมนุษย์ดอก”.

“ท่านผู้เจริญของเรา ! เราถามอย่างไรๆท่านก็ตอบว่ามิได้เป็นอย่างนั้น ,ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นอะไรเล่า?”

“พราหมณ์เอย ! อาสวะเหล่าใดที่จะทำให้เราเป็นเทวดาเพราะยังละมันไม่ได้, อาสวะเหล่านั้นเราละได้ขาดถอนขึ้นทั้งรากแล้วทำให้เหมือนตาลยอดด้วนไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว, พราหมณ์เอย

๑. บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๙/๓๖. ตรัสแก่โทณพราหมณ์ที่โคนไม้ระหว่างทางแห่งหนึ่ง.

อาสวะเหล่าใดที่จะทำให้เราเป็นคนธรรพ์เป็นยักษ์เป็นมนุษย์เพราะยัง

ละมันไม่ได้, อาสวะเหล่านั้นเราละได้ขาดถอนขึ้นทั้งรากแล้วทำให้เหมือน

ตาลยอดด้วนไม่ให้มีไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปแล้ว.

พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนดอกบัวเขียวบัวหลวงหรือบัวขาว,มันเกิดในน้ำเจริญในน้ำโผล่ขึ้นพ้นน้ำตั้งอยู่น้ำไม่เปียกติดมันได้ฉันใดก็ฉันนั้นนะพราหมณ์ ! เรานี้เกิดในโลกเจริญในโลกก็จริงแต่เราครอบงำโลกเสียได้แล้วและอยู่ในโลกโลกไม่ฉาบทาแปดเปื้อนเราได้.พราหมณ์ ! ท่านจงจำเราไว้ว่าเป็น “พุทธะ” ดังนี้เถิด.

ทรงเป็นอัจฉริยมนุษย์ในโลก๑

ภิกษุท. ! บุคคลเอกเมื่อเกิดขึ้นมาในโลกย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์. ใครกันเล่าเป็นบุคคลเอก? ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองนี้แลเป็นบุคคลเอก.

ภิกษุท. ! นี่แลบุคคลเอกซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมาในโลกย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ดังนี้ทรงต่างจากมนุษย์ธรรมดา๒

ภิกษุท. ! เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลายมีรูปเป็นทียินดีกำหนัดแล้วในรูปบันเทิงด้วยรูป.เทวดาแลมนุษย์ท. ย่อมทนทุกข์อยู่เพราะความแปรปรวนความกระจัดกระจายความแตกทำลายของรูป. ภิกษุท. ! เทวดาแลมนุษย์ทั้งหลายมีเสียง๓ฯลฯ, มีกลิ่นฯลฯ, มีรสฯลฯ, มีโผฏฐัพพะฯลฯ,

มีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดีกำหนัดแล้วในธรรมารมณ์บันเทิงด้วยธรรมารมณ์.

เทวดาแลมนุษย์ท. ย่อมทนทุกข์อยู่เพราะความแปรปรวนความกระจัดกระจายความแตกทำลายของธรรมารมณ์.

๑. บาลีเอก. อํ. ๒๐/๒๙/๑๔๑. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

๒. บาลีสฬา. สํ. ๑๘/๑๕๙/๒๑๖.

๓. มีข้อความเต็มเหมือนในข้อต้นที่ว่าด้วยรูปเป็นที่ยินดีจนตลอด,

ภิกษุท. ! ส่วนตถาคตผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธะรู้แจ้งตามเป็นจริงซึ่งเหตุเป็นเครื่องเกิดขึ้นซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งรสอร่อยซึ่งโทษคือความต่ำทรามและอุบายเครื่องหลุดพ้นออกไปได้แห่งรูปทั้งหลายแล้ว ; ไม่เป็นผู้มีรูปเป็นที่ยินดีไม่กำหนัดในรูปไม่บันเทิงด้วยรูป. ภิกษุท. ! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุข

เพราะความแปรปรวนความกระจัดกระจายความแตกทำลายของรูป,

ภิกษุท. ! ตถาคตรู้แจ้งตามเป็นจริงซึ่งเหตุเป็นเครื่องเกิดขึ้นซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ซึ่งรสอร่อยซึ่งโทษคือความต่ำทรามและอุบายเครื่องหลุดพ้นออกไปได้แห่งเสียงท. แห่งกลิ่นท. แห่งรสท. แห่งโผฏฐัพพะท. และแห่งธรรมารมณ์ท.แล้ว; ไม่เป็นผู้มีเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะธรรมารมณ์เป็นที่ยินดีไม่กำหนัดไม่บันเทิงด้วยเสียงเป็นต้นภิกษุท. ! ตถาคตย่อมอยู่เป็นสุขเพราะความแปรปรวนความกระจัดกระจายความแตกทำลายแห่งธรรมมีเสียงเป็นต้นนั้นๆ. (พระผู้มีพระภาคได้ทรงกล่าวคำนี้แล้ว, พระสุคตครั้นตรัสคำนี้แล้วพระศาสดาได้ภาษิตคำอื่นอีกที่ผูกเป็นคาถาดังนี้ว่า :-)

รูปท. เสียงท. กลิ่นท. รสท. ผัสสะท. ธรรมท. ทั้งสิ้นอันน่าปรารถนาน่ารักใคร่น่าชอบใจยังเป็นสิ่งกล่าวได้ว่ามีอยู่เพียงใดมนุษยโลกพร้อมด้วยเทวโลกก็ยังสมมติว่า “นั่นสุข”อยู่เพียงนั้น. ถ้าเมื่อสิ่งเหล่านั้นแตกดับลงในที่ใด, สัตว์เหล่านั้นก็สมมติว่า “นั่นทุกข์”ในที่นั้น. สิ่งที่พระอริยเจ้าท.เห็นว่าเป็นความสุขก็คือความดับสนิทแห่งสักกายะทั้งหลาย,แต่สิ่งนี้กลับปรากฏเป็นข้าศึกตัวร้ายกาจแก่สัตว์ท.ผู้เห็นอยู่โดยความเป็นโลกทั้งปวง. สิ่งใดที่สัตว์อื่นกล่าวแล้วโดยความเป็นสุข, พระอริยเจ้าท. กล่าวสิ่งนั้นโดยความเป็นทุกข์. สิ่งใดที่สัตว์อื่นกล่าวแล้วโดยความเป็นทุกข์, พระอริยะผู้รู้กล่าวสิ่งนั้นโดยความเป็นสุข, ดังนี้.

ทรงเปรียบเป็นลูกไก่ตัวพี่ที่สุด

พราหมณ์ ! เปรียบเหมือนฟองไข่ของแม่ไก่อันมีอยู่๘ฟองหรือ ๑๐ฟองหรือ๑๒ฟอง, เมื่อไม่ไก่นอนทับกกฟักด้วยดีแล้ว, บรรดาลูกไก่ในไข่เหล่านั้นตัวใดเจาะแทงทำลายเปลือกไข่ด้วยจะงอยเล็บเท้าหรือจะงอยปากออกมาได้ก่อนตัวอื่นโดยปลอดภัยเราควรเรียกลูกไก่ตัวนั้นว่าอย่างไรคือจะเรียกว่าตัวพี่ผู้แก่ที่สุดหรือตัวน้องผู้น้อยที่สุด ?

“พระโคดมผู้เจริญ! ใครๆก็ควรเรียกมันว่าตัวพี่ผู้เจริญที่สุดเพราะมันเป็นตัวที่แก่ที่สุดในบรรดาลูกไก่เหล่านั้น" พราหมณ์ทูลตอบพราหมณ์ ! ฉันใดก็ฉันนั้น : เรานี้, ขณะเมื่อหมู่สัตว์กำลังถูกอวิชชาซึ่งเป็นประดุจเปลือกฟองไข่ห่อหุ้มอยู่แล้ว, ก็ทำลายเปลือกหุ้มคือ

๑.  บาลีมหาวิภังค์วินัยปิฎก๑/๕/๓ . ตรัสแก่เวรัญชพราหมณ์.

อวิชชาออกมาได้ก่อนใครๆเป็นบุคคลแต่ผู้เดียวในโลกได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว

ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันไม่มีญาณอะไรยิ่งไปกว่า

พราหมณ์ ! เรานั้น,เป็นผู้เจริญที่สุดประเสริฐที่สุดของโลก. ความเพียรเราได้ปรารภแล้วไม่ย่อหย่อน, สติเราได้กำหนดมั่นแล้วไม่ลืมหลง, กายก็รำงับแล้วไม่กระสับกระส่าย,จิตตั้งมั่นแล้วเป็นหนึ่ง, เราได้บรรลุปฐมฌานฯลฯ๑ทุติยฌานฯลฯตติยฌานฯลฯจตุตถฌานแล้วก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณฯลฯเป็นการทำลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ออกจากฟองไข่ครั้งแรก,ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่อจุตูปปาตญาณฯลฯเป็นการทำลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ออกจากฟองไข่ครั้งที่สอง, ก็น้อมจิตไปเฉพาะต่ออาสวักขยญาณฯลฯ

เป็นการทำลายเปลือกฟองไข่ของลูกไก่ออกจากฟองไข่ครั้งที่สาม, ดังนี้.

ทรงเป็นผู้ข่มอินทรีย์ได้๒

มาคัณฑิยะ ! จักขุเป็นสิ่งซึ่งมีรูปเป็นที่ยินดีกำหนัดแล้วในรูปอันรูปทำให้บันเทิงพร้อมแล้ว, จักขุนั้นอันตถาคตทรมานควบคุมรักษาสำรวมไว้ได้แล้วและตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อการสำรวมจักขุนั้นด้วย.

มาคัณฑิยะ ! โสตะเป็นสิ่งซึ่งมีเสียงเป็นที่ยินดีฯลฯ๓, ฆานะเป็นสิ่งซึ่งมีกลิ่นเป็นที่ยินดีฯลฯ, ชิวหาเป็นสิ่งซึ่งมีรสเป็นที่ยินดีฯลฯ,กายะเป็นสิ่งซึ่ง

๑. คำที่ละด้วยฯลฯดังนี้ดูเนื้อความเต็มที่ได้จากในภาค๒ตอนว่าด้วยการตรัสรู้คือฌาน๔และวิชชา๓เหมือนกันไม่มีแปลก, ในที่นี้จึงยกมาแต่ชื่อให้สะดวกแก่ผู้ศึกษา, ไม่ต้องอ่านคำซ้ำๆกันอีกตั้งยาวๆให้ยืดยาด.

๒. บาลีมาคัณฑิยสูตรม.ม. ๑๓/๒๗๒/๒๗๙. ตรัสแก่มาคัณฑิยปริพพาชกที่โรงบูชาไฟแห่งหนึ่ง.

๓. ที่ละฯลฯเช่นนี้เติมให้เต็มเหมือนในข้อจักขุเอาเองได้.

มีโผฎฐัพพะเป็นที่ยินดีฯลฯ, ใจเป็นสิ่งซึ่งมีธรรมารมณ์เป็นที่ยินดีกำหนัดแล้ว

ในธรรมารมณ์อันธรรมารมณ์ทำให้บันเทิงพร้อมแล้ว, ใจนั้นอันตถาคตทรมานควบคุมรักษาสำรวมไว้ได้แล้วและตถาคตย่อมแสดงธรรมเพื่อสำรวมใจนั้นด้วย.ทรงมีตถาคตพลญาณสิบอย่าง

ภิกษุท.! ตถาคตเป็นผู้ประกอบด้วยพลญาณ๑๐อย่างและประกอบด้วยเวสารัชชญาณ๔อย่างจึงปฏิญญาตำแหน่งจอมโลกบันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.๑

สารีบุตร ! เหล่านี้เป็นตถาคตพล๑๐อย่างของตถาคตที่ตถาคตประกอบพร้อมแล้วปฏิญญาตำแหน่งจอมโลกบันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในท่ามกลางบริษัททั้งหลายได้, สิบอย่างคือ:-๒

(๑) ตถาคตย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งสิ่งเป็นฐานะ (คือมีได้เป็นได้)โดยความเป็นสิ่งมีฐานะ,ซึ่งสิ่งไม่เป็นฐานะ (คือไม่มีได้ไม่เป็นได้) โดยความเป็นสิ่งใช่ฐานะ : นี้เป็นตถาคตพลของตถาคต.

(๒) ตถาคตย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งวิบาก (คือผล) ของการทำกรรมที่เป็นอดีตอนาคตปัจจุบันได้ทั้งโดยฐานะและโดยเหตุ : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.

(๓) ตถาคตย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ไปสู่ภูมิทั้งปวงได้ : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.

๑บาลีนิทาน. สํ. ๑๖/๓๓/๖๕. ตถาคตพลสิบเรียกกันว่าทสพลญาณ.

๒บาลีมหาสีหนาทสูตรมู.ม. ๑๒/๑๔๐/๑๖๖. ตรัสแก่พระสารีบุตรที่ชัฎป่านอกนครเวสาลี.

(๔) ตถาคตย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งโลกนี้อันประกอบด้วยธาตุมิใช่อย่างเดียวด้วยธาตุต่างๆกัน ๑ : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

(๕) ตถาคตย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งอธิมุติ (คือฉันทะและอัธยาศัย)

อันต่างๆกันของสัตว์ทั้งหลาย : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.

(๖) ตถาคตย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์เหล่าอื่นของบุคคลเหล่าอื่น : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.

(๗) ตถาคตย่อมรู้ตามเป็นจริงซึ่งความเศร้าหมองความผ่องแผ้วความออกแห่งฌานวิโมกข์สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.

(๘) ตถาคตย่อมระลึกได้ซึ่งขันธ์อันตนเคยอยู่อาศัยในภพก่อนมีชนิดต่างๆกันคือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้างสองชาติบ้าง๒ฯลฯ, :นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต.

(๙) ตถาคตย่อมเห็นสัตว์ท. ด้วยทิพยจักขุอันหมดจดก้าวล่วงจักขุมนุษย์ : เห็นสัตว์ทั้งหลายผู้เคลื่อนอยู่บังเกิดอยู่๓ฯลฯ, : นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

(๑๐) ตถาคตย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุติปัญญาวิมุติอันไม่มีอาสวะเพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะท. ได้๔ฯลฯ: นี่ก็เป็นตถาคตพลของตถาคต

สารีบุตร! เหล่านี้แลเป็นตถาคตพลสิบอย่างของตถาคตที่ตถาคตประกอบแล้วย่อมปฏิญญาตำแหน่งจอมโลกบันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรให้

เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลาย.

๑เช่นรูปธาตุนามธาตุเป็นต้นซึ่งแยกกระจายออกได้อีกมาก.

๒ดูที่จำแนกพิสดารในภาค๒ตอนการตรัสรู้ว่าด้วยวิชชาที่หนึ่ง.

๓ดูที่จำแนกพิสดารในภาค๒ตอนการตรัสรู้ว่าด้วยวิชชาที่สอง.

๔ดูที่จำแนกพิสดารในภาค๒ตอนการตรัสรู้ว่าด้วยวิชชาที่สาม.

 

หมายเลขบันทึก: 512751เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 07:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ธันวาคม 2012 07:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 

ฐานะตถาคต

ทรงมีเวสารัชชญาณสี่อย่าง๑

ภิกษุท. ! เหล่านี้เป็นเวสารัชชญาณสี่อย่างของตถาคตที่ตถาคตประกอบพร้อมแล้วปฏิญญาตำแหน่งจอมโลกบันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรในท่ามกลางบริษัทท.ได้, สี่อย่างคือ :-

(๑). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แวช่องทางที่จะมีว่าสมณะหรือพราหมณ์,เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆในโลกจักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า

“ธรรมเหล่านี้ๆอันท่านผู้ปฏิญญาตนเป็นสัมมาสัมพุทธะอยู่ไม่ได้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว”ดังนี้

ภิกษุท. ! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้นจึงเป็นผู้ถึงความเกษมถึงความไม่กลัวถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

(๒). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แวช่องทางที่จะมีว่าสมณะหรือพราหมณ์,

เทพ, มาร, พรหม,หรือใครๆในโลกจักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า

“อาสวะเหล่านี้ๆอันท่านผู้ปฏิญญาตนเป็นขีณาสพผู้สิ้นอาสวะอยู่ยังไม่

สิ้นรอบแล้ว” ดังนี้. ภิกษุท. ! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้น

จึงเป็นผู้ถึงความเกษมถึงความไม่กลัวถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

(๓). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แวช่องทางที่จะมีว่าสมณะหรือพราหมณ์,

เทพ, มาร, พรหม,หรือใครๆในโลกจักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า

“ธรรมเหล่าใดที่ท่านกล่าวว่าเป็นธรรมทำอันตรายแก่ผู้เสพ, ธรรมเหล่านั้น

ถึงเมื่อบุคคลเสพอยู่ก็หาอาจทำอันตรายไม่”ดังนี้

ภิกษุท. ! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้นจึงเป็นผู้ถึงความเกษมถึงความไม่กลัวถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

(๔). ตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่าสมณะหรือพราหมณ์,เทพ, มาร, พรหม,หรือใครๆในโลกจักโจทท้วงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า

๑. บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๐/๘และมหาสีหนาทสูตรมู.ม. ๑๒/๑๔๔/๑๖๗.

“ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใดประโยชน์นั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์

โดยชอบแก่ทำอันตรายแก่ผู้ประพฤติธรรมเหล่านั้น “ดังนี้

ภิกษุท. ! ตถาคตเมื่อมองหาไม่เห็นวี่แววอันนั้นจึงเป็นผู้ถึงความเกษมถึงความไม่กลัวถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้.

ภิกษุท. ! เหล่านี้แลเป็นเวสารัชชญาณสี่อย่างของตถาคตอันตถาคตประกอบพร้อมแล้วปฏิญญาตำแหน่งจอมโลกบันลือสีหนาทประกาศพรหมจักรให้เป็นไปในท่ามกลางบริษัททั้งหลายทรงมีวิธี "รุก" ข้าศึกให้แพภัยตัว๑

(เรื่องในชั้นแรกมีอยู่ว่าปริพพาชกชื่อสรภะเคยบวชอยู่ในธรรมวินัยนี้แล้วละทิ้งไปบวชเป็นปริพพาชกเที่ยวร้องประกาศอยู่ว่าคนรู้ถึงธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรทั่วถึงแล้วไม่เห็นดีอะไรจึงหลีกมาเสีย. ครั้นความนี้ทราบถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปสู่อารามของปริพพาชกพวกนั้นและสนทนากันในกลางที่ประชุมปริพพาชก. ทรงถามเฉพาะสรภะปริพพาชกให้บรรยายออกไปว่าธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรนั้นเป็นอย่างไร). ตรัสว่า:-

ดูก่อนสรภะ ! ได้ยินว่าท่านกล่าวดังนี้จริงหรือว่า “ธรรมของพวกสมณสากยบุตรนั้นท่านรู้ทั่วถึงแล้วเพราะรู้ทั่วถึงนั่นเองจึงหลีกมาเสียจากธรรมวินัยนั้น”ดังนี้. (ไม่มีคำตอบ, จึงตรัสถามเป็นครั้งที่สอง :-)

ดูก่อนสรภะ ! ท่านจงพูดไปเถิดว่าเรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรอย่างไร. ถ้าท่านพูดได้ครบถ้วนเราจะช่วยพูดเติมให้ครบถ้วนถ้าคำของท่านครบถ้วนถูกต้องดีแล้วเราจักอนุโมทนา (นิ่งไม่มีคำตอบอีกจึงตรัสถาม

เป็นครั้งที่สาม : -)

ดูก่อนสรภะ ! ท่านจงพูดเถิด. ธรรมวินัยของพวกสมณสากยบุตรนั้นเราเป็นผู้บัญญัติเองเราย่อมรู้ดี. ถ้าท่านพูดไม่บริบูรณ์เราจะช่วยพูดเติม

๑. บาลีติก. อํ. ๒๐/๒๓๘/๕๐๔. ตรัสแก่ปริพพาชกทั้งหลายริมฝั่งแม่น้ำสัปปินี.

ให้บริบูรณ์, ถ้าท่านพูดได้บริบูรณ์เราก็จักอนุโมทนา. (นิ่งไม่มีคำตอบ, ในที่สุดพวกปริพพาชกด้วยกันช่วยกันรุมขอร้องให้สรภะปริพพาชกพูด. สรภะก็ยังคงนิ่งตามเดิม. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสข้อความนี้ :-)

ดูก่อนปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า “ท่านอวดว่าท่านเป็นสัมมาสัมพุทธะแต่ธรรมเหล่านั้นท่านยังไม่รู้เลย" ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงข้อธรรมที่เขาว่าเราไม่รู้แต่เขารู้). เขานั้นครั้นถูกเราซักไซ้สอบถามไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้วย่อมหมดหนทางย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลำบาก๓ประการอย่างใดอย่างหนึ่งคือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง, แสดงความขุ่นเคืองโกรธแค้นน้อยอกน้อยใจออกมาให้ปรากฏบ้าง, หรือต้องนิ่งอั้นหมดเสียงเก้อเขินคอตกก้มหน้าซบเซาไม่มีคำพูดหลุดออกมาได้เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง

ดูก่อนปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า "ท่านอวดว่าท่านสิ้นอาสวะ.แต่อาสวะเหล่านี้ๆของท่านยังมีอยู่" ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงอาสวะที่เขาว่ายังไม่สิ้น). เขานั้นครั้นถูกเราซักไซ้สอบถามไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้วย่อมหมดหนทางย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลำบาก๓ประการอย่างใดอย่างหนึ่งคือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง, แสดงความขุ่นเคืองโกรธแค้นน้อยอกน้อยใจออกมาให้ปรากฏบ้าง, หรือต้องนิ่งอั้นหมดเสียงเก้อเขินคอตกก้มหน้าซบเซาไม่มีคำพูดหลุดออกมาได้เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง

ดูก่อนปริพพาชกทั้งหลาย ! ถ้าผู้ใดกล่าวหาเราว่า“ท่านแสดงธรรม

เพื่อประโยชน์อันใดประโยชน์อันนั้นไม่เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคล

ผู้ประพฤติตาม” ดังนี้. เราก็จักซักไซ้สอบถามไล่เลียงเขาให้เป็นอย่างดี (ถึงประโยชน์ที่เขาว่าจะเป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแก่บุคคลผู้ประพฤติตาม). เขานั้นครั้นถูกเราซักไซ้สอบถามไล่เลียงเป็นอย่างดีแล้วย่อมหมดหนทางย่อมเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากจะตกอยู่ในฐานะลำบาก๓ประการอย่างใดอย่างหนึ่งคือตอบถลากไถลนอกลู่นอกทางบ้าง, แสดงความขุ่นเคืองโกรธแค้นน้อยอกน้อยใจออกมาให้ปรากฏบ้าง, หรือต้องนิ่งอั้นหมดเสียงเก้อเขินคอตกก้มหน้าซบเซาไม่มีคำพูดหลุดออกมาได้เหมือนอย่างสรภะปริพพาชกนี้บ้าง.

ทรงมีธรรมสีหนาทที่ทำเทวโลกให้สั่นสะเทือน๑

ภิกษุท. ! พญาสัตว์ชื่อสีหะออกจากถ้ำที่อาศัยในเวลาเย็นเหยียดกาย

แล้วเหลียวดูทิศทั้งสี่โดยรอบบันลือสีหนาทสามครั้งแล้วก็เที่ยวไปเพื่อหาอาหาร.บรรดาสัตว์เดรัจฉานเหล่าใดที่ได้ยินสีหนาทสัตว์เหล่านั้นก็สะดุ้งกลัวเหี่ยวแห้งใจ,พวกที่อาศัยโพรงก็เข้าโพรงที่อาศัยน้ำก็ลงน้ำพวกอยู่ป่าก็เข้าป่าฝูงนกก็โผขึ้นสู่อากาศ, เหล่าช้างของพระราชาในหมู่บ้านนิคมและเมืองหลวงที่เขาผูกล่ามไว้ด้วยเชือกอันเหนียวก็พากันกลัวกระชากเชือกให้ขาดแล้วถ่ายมูตรและกรีสพลางแล่นหนีไปพลางทั้งข้างโน้นและข้างนี้

ภิกษุท. ! พญาสัตว์ชื่อสีหะเป็นสัตว์มีฤทธิ์มากมีศักดิ์มากมีอานุภาพมากกว่าบรรดาสัตว์เดรัจฉานด้วยอาการอย่างนี้แล.

ภิกษุท. ! ฉันใดก็ฉันนั้น : ในกาลใดตถาคตอุบัติขึ้นในโลกเป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบโดยตนเองสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะไปดีรู้แจ้งโลกเป็นผู้ฝึกบุรุษที่พอฝึกได้ไม่มีใครยิ่งไปกว่าเป็นครูสอนเทวดาและมนุษย์เป็นผู้ปลุกสัตว์ให้ตื่นเป็นผู้จำแนกธรรม. ตถาคตนั้นแสดงธรรมว่าสักกายะ(คือทุกข์) เป็นเช่นนี้เหตุให้เกิดสักกายะเป็นเช่นนี้ความดับไม่เหลือแห่งสักกายะเป็นเช่นนี้ทางให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งสักกายะเป็นเช่นนี้.พวกเทพ

๑. บาลีจุตกฺก. อํ. ๒๑/๔๒/๓๓.

เหล่าใดเป็นผู้มีอายุยืนนานมีวรรณะมากไปด้วยความสุขดำรงอยู่นมนานมาแล้วในวิมานชั้นสูง, พวกเทพนั้นๆโดยมากได้ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้วก็สะดุ้งกลัวเหี่ยวแห้งใจสำนึกได้ว่า “ท่านผู้เจริญเอ๋ย ! พวกเราเมื่อเป็นผู้ไม่เที่ยงก็มาสำคัญว่าเป็นผู้เที่ยงเมื่อไม่ยั่งยืนก็มาสำคัญว่ายั่งยืนเมื่อไม่มั่นคงก็มาสำคัญว่าเราเป็นผู้มั่นคง. พวกเราทั้งหลายเป็นผู้ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืนไม่มั่นคงและถึงทั่วแล้วซึ่งสักกายะคือความทุกข์”ดังนี้.

ภิกษุท. ! ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มากศักดิ์มากอานุภาพมากกว่าสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวโลกด้วยอาการอย่างนี้แล.ทรงมีธรรมสีหนาทอย่างองอาจ๑

กัสสปะ ! นี้เป็นเรื่องที่อาจมีได้เป็นได้คือเหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นจะพึงกล่าวว่า "พระสมณโคดมบันลือสีหนาทก็จริงแลแต่บันลือในที่ว่างเปล่าหาใช่บันลือในท่ามกลางบริษัทไม่" ดังนี้ส่วนท่านอย่าพึงกล่าวเช่นนั้นแต่พึงกล่าว(ตามที่เป็นจริง) อย่างนี้ว่า “พระสมณโคดมย่อมบันลือสีหนาท

ในท่ามกลางบริษัทท. หาใช่บันลือในที่ว่างเปล่าไม่”.

กัสสปะ ! นี้ก็เป็นเรื่องที่อาจมีได้เป็นได้คือเหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นจะพึงกล่าวว่า “พระสมณโคดมบันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัทก็จริงแต่หาได้บันลืออย่างองอาจไม่” ดังนี้. ส่วนท่านอย่าพึงกล่าวเช่นนั้นแต่พึงกล่าว(ตามที่เป็นจริง) อย่างนี้ว่า “พระสมณโคดมย่อมบันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัทและบันลืออย่างองอาจด้วย”.

๑. บาลีสี.ที. ๙/๒๑๙/๒๗๒. ตรัสแก่อเจลกัสสปะที่อุชุญญา.เรื่องตอนนี้ที่จริงควรนำไปจัดไว้ในตอนที่ได้ประกาศพระศาสาแล้ว, แต่เป็นเพราะเห็นว่าเป็นจำพวกคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าส่วนหนึ่งจึงกล่าวเสียในตอนนี้ด้วยกันทั้งมีเนื้อความเนื่องกันอยู่ด้วย.... –

กัสสปะ ! นี้ก็เป็นเรื่องที่อาจมีได้เป็นได้คือเหล่าปริพพาชกผู้เป็นเดียรถีย์เหล่าอื่นจะพึงกล่าวว่า “พระสมณโคดมบันลือสีหนาทในท่ามกลางบริษัทอย่างองอาจก็จริงแลแต่ว่าหาได้มีใครถามปัญหาอะไรกะเธอ (ในที่นั้น) ไม่, และถึงจะถูกถามเธอก็หาพยากรณ์ได้ไม่, และถึงจะพยากรณ์ก็ไม่ทำความชอบใจให้แก่ผู้ฟังได้, และถึงจะทำความชอบใจให้แก่ผู้ฟังได้เขาก็ไม่สำคัญถ้อยคำนั้นๆว่าเป็นสิ่งควรฟัง,และถึงจะสำคัญว่าเป็นสิ่งควรฟังก็ไม่เลื่อมใส, และถึงจะเลื่อมใสก็ไม่แสดงอาการของผู้เลื่อมใส, และถึงจะแสดงอาการของผู้เลื่อมใสก็ไม่ปฏิบัติตามคำสอนนั้น, และถึงจะปฏิบัติตามคำสอนนั้นก็ไม่ปฏิบัติอย่างอิ่มอกอิ่มใจ” ดังนี้. ส่วนท่านอย่าพึงกล่าวเช่นนั้นแต่พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

“พระสมณโคดมบันลือสีหนาทท่ามกลางบริษัทอย่างแกล้วกล้ามีผู้ถามปัญหา,ถูกถามแล้วก็พยากรณ์, ด้วยการพยากรณ์ย่อมทำจิตของผู้ฟังให้ชอบใจ, ผู้ฟังย่อมสำคัญถ้อยคำนั้นๆว่าเป็นสิ่งควรฟังฟังแล้วก็เลื่อมใส, เลื่อมใสแล้วก็แสดงอาการของผู้เลื่อมใส, และปฏิบัติตามคำสอนนั้น, ปฏิบัติแล้วก็เป็นผู้อิ่มอกอิ่มใจได้” ดังนี้.

กัสสปะ ! ครั้งหนึ่งเราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฎใกล้กรุงราชคฤห์. ปริพพาชกผู้เป็นสพรหมจารีของท่านคนหนึ่งชื่อว่านิโครธะได้ถามปัญหาเรื่องการเกียดกันบาปอย่างยิ่งกะเราณที่นั้น. เราได้พยากรณ์แก่เขา. ในการพยากรณ์นั้นเขาได้รับความพอใจยิ่งกว่าประมาณ( คือยิ่งกว่าที่เขาคาดไว้ก่อน).สิ่งที่ใครๆไม่อาจท้วงติงได้๑

ภิกษุท. ! ตถาคตเป็นผู้ที่ใครๆไม่อาจท้วงติงได้ด้วยธรรม๓อย่างคือ :-

๑.  บาลีสตฺตก. อํ. ๒๓/๘๔/๕๕.

ภิกษุท. ! (๑) ตถาคตมีธรรมอันตนกล่าวไว้ดีแล้ว,ในธรรมนั้นๆตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะมีว่าสมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม,

หรือใครๆในโลกจักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า“ท่านไม่ใช่เป็นผู้มีธรรม

อันตนกล่าวไว้ดีแล้วเพราะเหตุเช่นนี้ๆ ”ดังนี้.

ภิกษุท. ! (๒) ปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพานเป็นสิ่งที่เราบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย, -โดยอาการที่สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติแล้วย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะท. ได้ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในธรรมอันตนเห็นแล้วนี่เองเข้าถึงวิมุตตินั้นแล้วแลอยู่. ในปฏิปทานั้นๆตถาคตไม่มองเห็นวี่แววช่องทางที่จะ

มีว่าสมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆในโลกจักท้วงติงเรา

ได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า “ปฏิปทาเครื่องทำผู้ปฏิบัติให้ถึงพระนิพพานเป็นสิ่งที่ท่านบัญญัติไว้ดีแล้วแก่สาวกทั้งหลาย, โดยอาการที่ฯลฯแล้วแลอยู่ก็หาไม่” ดังนี้ภิกษุท. ! (๓) สาวกบริษัทของเรานับด้วยร้อยเป็นอเนกที่ได้ทำ

ให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ๑ฯลฯ. ในข้อนั้นเราไม่มองเห็นวี่แววช่องทาง

ที่จะมีว่าสมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร,พรหม, หรือใครๆในโลก

จักท้วงติงเราได้ด้วยทั้งเหตุผลว่า “สาวกบริษัทของท่านมีนับด้วยร้อยเป็นเอนกก็หามิได้ที่ได้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติฯลฯ” ดังนี้.

ภิกษุท. ! เมื่อเรามองไม่เห็นวี่แววช่องทางนั้นๆก็เป็นผู้ถึงความเกษม

ถึงความไม่กลัวถึงความเป็นผู้กล้าหาญอยู่ได้. นี้แลเป็นสิ่งที่ใครไม่ท้วงติง

ตถาคตได้๓อย่าง.

๑. คือเป็นพระอรหันต์.

ไม่ทรงมีความลับที่ต้องให้ใครช่วยปกปิด๑

โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มีศีลบริสุทธิ์อยู่เสมอจึงปฏิญญาว่า

เราเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้วศีลของเราบริสุทธิ์ขาวผ่องไม่เศร้าหมองเลย,

สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยกันทำการป้องกันให้ตถาคตในเรื่องอันเกี่ยวกับศีล,ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลายในเรื่องอันเกี่ยวกับศีลเลย.โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มีอาชีวะบริสุทธิ์ดีอยู่เสมอจึงปฏิญญาว่า

เราเป็นผู้มีอาชีวะบริสุทธิ์แล้ว. อาชีวะของเราบริสุทธิ์ขาวผ่องไม่เศร้าหมองเลย,สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการทำการป้องกันให้ตถาคตในเรื่องอันเกี่ยวกับอาชีวะ,ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลายในเรื่องอันเกี่ยวกับอาชีวะเลย.

โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มีการแสดงธรรมบริสุทธิ์ดีอยู่เสมอ

จึงปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีการแสดงธรรมบริสุทธิ์. การแสดงธรรมของเราบริสุทธิ์ขาวผ่องไม่เศร้าหมองเลย, สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการทำการป้องกันให้ตถาคตในเรื่องอันเกี่ยวกับการแสดงธรรม, ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลายในเรื่องอันเกี่ยวกับการแสดงธรรมเลย

โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้ที่มีการตอบคำถามบริสุทธิ์ดีอยู่เสมอจึงปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีการตอบคำถามบริสุทธิ์. การตอบคำถามของเราบริสุทธิ์ขาวผ่องไม่เศร้าหมองเลย, สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการทำการป้องกันให้ตถาคตในเรื่องอันเกี่ยวกับการตอบคำถาม, ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลายในเรื่องอันเกี่ยวกับการตอบคำถามเลย.

๑บาลีปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๔๒/๑๐๐. ตรัสแก่พระมหาโมคคัลลานะที่โฆสิตารามใกล้เมืองโกสัมพี

โมคคัลลานะ ! ตถาคตเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์ดีอยู่เสมอจึงปฏิญญาว่าเราเป็นผู้มีญาณทัสสนะบริสุทธิ์แล้ว. ญาณทัสสนะของเราบริสุทธิ์ขาวผ่องไม่เศร้าหมองเลย, สาวกทั้งหลายจึงไม่ต้องช่วยการทำการป้องกันให้แก่ตถาคต

ในเรื่องอันเกี่ยวกับญาณทัสสนะ, ทั้งตถาคตก็ไม่หวังการป้องกันจากสาวกทั้งหลายในเรื่องอันเกี่ยวกับณาณทัสสนะเลย, ดังนี้.

ทรงบังคับใจได้เด็ดขาด๑

พราหมณ์ ! เราเป็นผู้ปฏิบัติแล้วเพื่อความเกื้อกูลแก่ชนมากเพื่อความสุขแก่ชนมาก.เราได้ประดิษฐานมหาชนไว้แล้วในอริยญายธรรมคือในความเป็นผู้มีธรรมอันงดงามมีธรรมเป็นกุศล.พราหมณ์ ! เราอยากตริตรึก (วิตก)ไปในวิตกเรื่องใดก็ตริตรึกในวิตกนั้นได้, เราไม่อยากตริตรึกไปในวิตกเรื่องใดก็ไม่ตริตรึกไปในวิตกนั้นได้๒. เราอยากดำริ (สังกัปปะ) ไปในความดำริอย่างใดก็ดำริในความดำรินั้นได้, เราไม่อยากดำริในความดำริอย่างใดก็ไม่ดำริไปใน ความดำริอย่างนั้นได้. พราหมณ์ ! เราเป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งความมีอำนาจเหนือจิตในคลองแห่งวิตกทั้งหลาย, เราจึงมีธรรมดาได้ฌานทั้งสี่อันเป็นการอยู่อย่างผาสุกยิ่งในชาตินี้, เราได้โดยง่ายดายไม่ยากไม่ลำบาก. พราหมณ์ !เราแล, เพราะความสิ้นอาสวะท., ได้ทำให้แจ้งแล้วซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันปราศจากอาสวะเข้าถึงวิมุตตินั้นแล้วแลอยู่ไม่ทรงติดแม้ในนิพพาน๓

ภิกษุท. ! แม้ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน. ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจงแล้ว

๑. บาลีจุตกฺก. อํ. ๒๑/๔๗/๓๕. ตรัสแก่วัสสการพราหมณ์สวนไผ่, ราชคฤห์.

๒. คือทรงบังคับจิตให้คิดหรือไม่ให้คิดก็ได้หรือให้คิดเฉพาะเรื่องใดก็ได้.

๓ . บาลีมูลปริยายสูตรมู.ม. ๑๒/๑๐/๘๙. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่โคนต้นสาละในป่าสุภวันใกล้เมืองอุกกัฏฐะ.

ก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพานไม่ทำความมั่นหมายในนิพพานไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพานไม่ทำความมั่นหมายว่า “นิพพานเป็นของเรา”, ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน. ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ?

เพราะเหตุว่านิพพานนั้นเป็นสิ่งที่ตถาคตกำหนดรู้ทั่วถึงแล้ว.

ภิกษุท. ! แม้ตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองก็รู้ชัดซึ่งนิพพานตามความเป็นนิพพาน.ครั้นรู้นิพพานตามความเป็นนิพพานชัดแจ้งแล้วก็ไม่ทำความมั่นหมายซึ่งนิพพานไม่ทำความมั่นหมายในนิพพานไม่ทำความมั่นหมายโดยความเป็นนิพพานไม่ทำความมั่นหมายว่า“นิพพานเป็นของเรา”, ไม่เพลิดเพลินลุ่มหลงในนิพพาน. ข้อนี้เพราะเหตุไรเล่า ?เรากล่าวว่าเพราะรู้ว่าความเพลิดเพลินเป็นมูลแห่งทุกข์และเพราะมีภพจึงมีชาติ, เมื่อเกิดเป็นสัตว์แล้วต้องมีแก่และตาย. เพราะเหตุนั้นตถาคตจึงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเพราะตัณหาทั้งหลายสิ้นไปปราศไปดับไปสละไปไถ่ถอนไปโดยประการทั้งปวงดังนี้.ทรงมีความคงที่ต่อวิสัยโลกไม่มีใครยิ่งกว่า๑

ภิกษุท. ! สิ่งใดๆที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดามารพรหมหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดารวมกับมนุษย์ได้พากันเห็นแล้วได้ยินแล้วรู้รสแล้วรู้สึกแล้วรู้แจ้งแล้วพบปะแล้วแสวงหากันแล้วคิดค้นกันแล้ว, สิ่งนั้นๆเราก็รู้จัก.

๑. บาลีจตุกฺก.อํ.๒๑/๓๑/๒๔. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่กาฬการามใกล้เมืองสาเกต.

ภิกษุท . ! สิ่งใดๆที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดามารพรหมหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาร่วมกับมนุษย์ได้พากันเห็นแล้วได้ยินแล้วรู้รสแล้วรู้สึกแล้วรู้แจ้งแล้วพบปะแล้วแสวงหากันแล้วคิดค้นกันแล้ว, สิ่งนั้นๆเราได้รู้แจ้งแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง.สิ่งนั้นๆเป็นที่แจ่มแจ้งแก่ตถาคต,สิ่งนั้นๆไม่อาจเข้าไป (ติดอยู่ในใจของ) ตถาคต.

ภิกษุท. ! สิ่งอันเป็นวิสัยโลกต่างๆที่ชาวโลกรวมทั้งเทวดามาร

พรหมหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาร่วมกับมนุษย์ได้พากันเห็นแล้วได้ยินแล้วรู้รสแล้วรู้สึกแล้วรู้แจ้งแล้วพบปะแล้วแสวงหากันแล้วคิดค้นกันแล้วนั้นๆเราพึงกล่าวได้ว่าเรารู้จักมันดี. มันจะเป็นการมุสาแก่เราถ้าเราจะพึงกล่าวว่าเรารู้จักบ้างไม่รู้จักบ้าง. และมันจะเป็นการมุสาแก่เราเหมือนกันถ้าเราจะพึงกล่าวว่าเรารู้จักก็หามิได้, ไม่รู้จักก็หามิได้, ข้อนั้นมันเป็นความเสียหายแก่เรา,

ภิกษุท. ! เพราะเหตุนี้แลตถาคตเห็นสิ่งที่ต้องเห็นแล้วก็ไม่ทำความมั่นหมายว่าเห็นแล้ว,ไม่ทำความมั่นหมายว่าไม่ได้เห็น, ไม่ทำความมั่นหมายว่าเป็นสิ่งที่ต้องเห็น, ไม่ทำความมั่นหมายว่าตนเป็นผู้หนึ่งที่ได้เห็น,(ในสิ่งที่ได้ฟัง, ได้รู้สึก, ได้รู้แจ้งก็มีนัยอย่างเดียวกัน).

ภิกษุท. ! ด้วยเหตุนี้แลตถาคตชื่อว่าเป็นผู้คงที่เป็นปรกติอยู่เช่นนั้น

ได้ในสิ่งทั้งหลายที่ได้เห็นได้ยินได้รู้รสและได้รู้สึกแล้ว, และเรายัง

กล่าวว่าจะหาบุคคลอื่นที่เป็นผู้คงที่ซึ่งยิ่งไปกว่าประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้น

เป็นไม่มีเลย.

 

ทรงยืนยันในคุณธรรมของพระองค์เองได้๑

(๑) กัสสปะ ! สมณพราหมณ์บางพวกเป็นสีลวาที, เขากล่าว

๑. บาลีสี. ที. ๙/๒๑๘/๒๗๑. ตรัสแก่อเจลกัสสปะที่สวนกัณณกถลอุชุญญา

พรรณาคุณแห่งศีลโดยอเนกปริยาย. กัสสปะ ! ปรมศีลอันประเสริฐ (อริยะ)

มีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าใดเราไม่มองเห็นใครจะเสมอด้วยเราในส่วนปรมศีลอันประเสริฐนั้น :ผู้ที่ยิ่งไปกว่าเราจะมีมาแต่ไหนเล่า. เราแล, ที่แท้เป็นผู้ยิ่งในอธิศีล.

(๒) กัสสปะ ! สมณพราหมณ์บางพวกเป็นตโปชิคุจฉวาที, เขากล่าวพรรณนาคุณแห่งการเกลียดกั้นกิเลสด้วยตบะโดยอเนกปริยาย.

กัสสปะ !การเกลียดกั้นกิเลสด้วยตบะอันอย่างยิ่งและประเสริฐมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าใดเราไม่มองเห็นใครจะเสมอด้วยเราในส่วนการเกียดกั้นกิเลสด้วยตบะอันอย่างยิ่งและประเสริฐนั้น : ผู้ที่ยิ่งไปกว่าเราจะมีมาแต่ไหนเล่า. เราแล, ที่แท้เป็นผู้ยิ่งในอธิเชคุจฉะ(คืออธิจิต).

(๓) กัสสปะ ! สมณพราหมณ์บางพวกเป็นปัญญาวาที, เขากล่าวพรรณาคุณแห่งปัญญาโดยอเนกปริยาย. กัสสปะ ! ปรมปัญญาอันประเสริฐมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าใดเราไม่มองเห็นใครจะเสมอด้วยเราในส่วนปรมปัญญาอันประเสริฐนั้น : ผู้ที่ยิ่งไปกว่าเราจะมีมาแต่ไหนเล่า. เราแล, ที่แท้เป็นผู้ยิ่งในอธิปัญญา.

(๔) กัสสปะ ! สมณพราหมณ์บางพวกเป็นวิมุตติวาที, เขากล่าวพรรณาคุณแห่งวิมุตติโดยอเนกปริยาย

กัสสปะ ! ปรมวิมุตติอันประเสริฐมีได้ด้วยเหตุมีประมาณเท่าใดเราไม่มองเห็นใครจะเสมอด้วยเราในส่วนปรมวิมุตติอันประเสริฐนั้น:ผู้ที่ยิ่งไปกว่าเราจะมีมาแต่ไหน ?.เราแล,ที่แท้เป็นผู้ยิ่งในอธิวิมุตติทรงยืนยันพรหมจรรย์ของพระองค์ว่าบริสุทธิ์เต็มที่ ๑

พราหมณ์ ! เมื่อผู้ใดจะกล่าวให้ถูกต้องว่าใครประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ขาดไม่ทะลุไม่ด่างไม่พร้อยแล้วเขาควรกล่าวเจาะ

๑. บาลีสัตตัพพิธเมถุนสํโยคสูตรสตฺตก. อํ. ๒๓/๕๕/๔๗. ตรัสแก่ชานุสโสณี

พราหมณ์.จงเอาเราตถาคต. พราหมณ์ ! เรานี่แหละย่อมประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์บริบูรณ์ไม่ขาดไม่ทะลุไม่ด่างไม่พร้อยแล้ว.

“ข้าแต่พระโคดม ! ความขาดความทะลุความด่างความพร้อยของพรหมจรรย์นั้นเป็นอย่างไรเล่า?”

พราหมณ์ ! มีสมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่าเป็น

พรหมจารีโดยชอบเขาไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคามก็จริงแลแต่ว่า

เขายินดีการลูบคลำการประคบการอาบการนวดฟั้นที่ได้รับจากมาตุคาม. เขาปลาบปลื้มยินดีด้วยการบำเรอเช่นนั้นจากมาตุคาม.

ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่แลคือความขาดความทะลุความด่างความพร้อยของ

พรหมจรรย์เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ยังประกอบด้วย

การเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ไม่พ้นจากชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขโทมนัส

และอุปายาสไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.

พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่าเป็น

พรหมจารีโดยชอบไม่เสพเมถุนธรรมกับมาตุคามและไม่ยินดีการลูบคลำการประคบการอาบการนวดฟั้นจากมาตุคามก็จริงแต่เขายังพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคาม, เขาปลาบปลื้มยินดีด้วยการบำเรอเช่นนั้นจากมาตุคาม.ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่แลคือความขาดความทะลุความด่างความพร้อยของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ยังประกอบด้วยการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ไม่พ้นจากชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขโทมนัสและอุปายาสไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.

พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคามไม่ยินดีการลูบคลำ การประคบการอาบการนวดฟั้นจากมาตุคามทั้งไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคามก็จริงแต่เขายังชอบสบตาด้วยตาของ

มาตุคาม, แล้วปลาบปลื้มยินดีด้วยการทำเช่นนั้น

ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่ก็คือความขาดความทะลุความด่างความพร้อยของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ยังไม่พ้นจากชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขโทมนัสและอุปายาสไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.

พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบแล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคามไม่ยินดีการลูบคลำ การประคบการอาบการนวดฟั้นจากมาตุคามไม่ยินดีในการพูดจากซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคามทั้งไม่ยินดีในการสบตาต่อตากับมาตุคามก็จริงแต่เขายังชอบฟังเสียงของมาตุคามที่หัวเราะอยู่ก็ดีพูดจาอยู่ก็ดีขับร้องอยู่ก็ดีร้องไห้อยู่ก็ดีข้างนอกฝาก็ตามนอกกำแพงก็ตาม,แล้วปลาบปลื้มยินดีด้วยการได้ฟังเสียงนั้น. ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่คือความขาดความทะลุความด่างความพร้อยของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ยังประกอบการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, เขายังไม่พ้นจากชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขโทมนัสและอุปายาสไปได้,ยังไม่พ้นจากทุกข์.

พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบแล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคามไม่ยินดีการลูบคลำการประคบการอาบการนวดฟั้นจากมาตุคามไม่ยินดีในการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคามไม่ยินดีในการสบตาต่อตากับมาตุคามทั้งไม่ยินดีในการฟังเสียงมาตุคามก็จริงแต่เขาชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่าที่เคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหัวกันกับมาตุคามแล้วก็ปลาบปลื้มยินดีด้วยการเฝ้าระลึกเช่นนั้น. ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่แลคือความขาดความทะลุความด่างความพร้อยของพรหมจรรย์.เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ยังประกอบด้วยการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ยังไม่พ้นจากชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขโทมนัสและอุปายาสไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.

พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบแล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคามไม่ยินดีการลูบคลำการประคบการอาบการนวดฟั้นจากมาตุคามไม่ยินดีการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคามไม่ยินดีการสบตาต่อตากับมาตุคามไม่ยินดีการฟังเสียงมาตุคามและทั้งไม่ชอบตามระลึกถึงเรื่องเก่าที่เคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหัวกับมาตุคามก็จริงแต่เขาเพียงแต่เห็นพวกคฤหบดีหรือลูกคฤหบดี

อิ่มเอิบด้วยกามคุณได้รับการบำเรออยู่ด้วยกามคุณก็ปลาบปลื้ม

ยินดีด้วยการได้เห็นการกระทำเช่นนั้น.

ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่แลคือความขาดความทะลุความด่างความพร้อยของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ยังประกอบด้วยการเกี่ยวกันด้วยเมถุน,ยังไม่พ้นจากชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขโทมนัสและอุปายาสไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.

พราหมณ์ ! สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ปฏิญาณตัวว่าเป็นพรหมจารีโดยชอบแล้วไม่เสพเมถุนธรรมกับด้วยมาตุคามไม่ยินดีการลูบคลำ การประคบการอาบการนวดฟั้นจากมาตุคามไม่ยินดีการฟังการพูดจาซิกซี้เล่นหัวสัพยอกกับมาตุคามไม่ยินดีการสบตาต่อตากับมาตุคามไม่ยินดีการฟังเสียงมาตุคามไม่ยินดีตามระลึกถึงเรื่องเก่าที่ตนเคยหัวเราะเล้าโลมเล่นหวัวกับมาตุคามและทั้งไม่ยินดีที่จะเห็นพวกคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดีอิ่มเอิบด้วยกามคุณแล้วตนพลอยนึกปลื้มใจด้วยก็ตามแต่เขาประพฤติพรหมจรรย์โดยตั้งความปราถนาเพื่อไปเป็นเทพยาดาพวกใดพวกหนึ่ง. ดูก่อนพราหมณ์ ! นี่แลคือความขาดความทะลุความด่างความพร้อยของพรหมจรรย์. เรากล่าวว่าผู้นี้ประพฤติพรหมจรรย์ไม่บริสุทธิ์ยังประกอบด้วยการเกี่ยวพันด้วยเมถุน, ยังไม่พ้นจากชาติชรามรณะโสกะปริเทวะทุกขโทมนัสและอุปายาสไปได้, ยังไม่พ้นจากทุกข์.

พราหมณ์เอย ! ตลอดกาลเพียงใดที่เรายังเห็นการเกี่ยวพันด้วยเมถุนอย่างใดอย่างหนึ่งใน๗อย่างนั้นที่เรายังละมันไม่ได้, ตลอดกาลเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญญาตัวเองว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้ง

เทวดามารพรหมหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์เทวดาแลมนุษย์

พราหมณ์เอย ! เมื่อใดเราไม่มองเห็นการเกี่ยวพันด้วยเมถุนอย่างใด

อย่างหนึ่งใน๗อย่างนั้นที่เรายังละมันไม่ได้, เมื่อนั้นเราย่อมปฏิญญาตัวเอง

ว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวดามารพรหม

หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะและพราหมณ์เทวดาแลมนุษย์, ญาณและทัสสนะได้เกิดขึ้นแก่เราแล้ว. ความหลุดพ้นของเราไม่กลับกำเริบ. ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย.บัดนี้การเกิดใหม่ไม่มีอีกอีกต่อไปสิ่งที่ไม่ต้องทรงรักษาอีกต่อไป๑

ภิกษุท. ! ธรรมสี่อย่างเหล่านี้เป็นสิ่งที่ตถาคตไม่ต้องสำรวมรักษา

(ด้วยเจตนางดเว้นอีกต่อไป). สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?

๑. บาลีสตฺตก. อํ. ๒๓/๘๔/๕๕.

(๑) ภิกษุท. ! ตถาคตมีมรรยาททางกายบริสุทธิ์สะอาด, กาย -

ทุจริตที่ตถาคตต้องรักษา(คือปิดบัง) ว่า “ใครๆอื่นอย่าล่วงรู้ถึงกายทุจริตข้อนี้ของเรา” ดังนี้ย่อมไม่มีแก่ตถาคต.

(๒) ภิกษุท. ! ตถาคตมีมรรยาททางวาจาบริสุทธิ์สะอาด,วจีทุจริตที่ตถาคตต้องรักษาว่า“ใครๆอื่นอย่าล่วงรู้ถึงวจีทุจริตข้อนี้ของเรา” ดังนี้ย่อมไม่มีแก่ตถาคต.

(๓) ภิกษุท. ! ตถาคตมีมรรยาททางใจบริสุทธิ์สะอาด, มโน -

ทุจริตที่ตถาคตต้องรักษาว่า “ใครๆอื่นอย่าล่วงรู้ถึงมโนทุจริตข้อนี้ของเรา” ดังนี้ย่อมไม่มีแก่ตถาคต.

(๔) ภิกษุท. ! ตถาคตมีการเลี้ยงชีพบริสุทธิ์สะอาด, มิจาฉาชีพที่

ตถาคตต้องรักษาว่า “ใครๆอื่นอย่าล่วงรู้ถึงมิจฉาชีพข้อนี้ของเรา” ดังนี้ย่อมไม่มีแก่ตถาคตเลยทรงฉลาดในเรื่องซึ่งพ้นวิสัยโลก๑

ภิกษุท. ! เราแลเป็นผู้ฉลาดในเรื่องโลกนี้ฉลาดในเรื่องโลกอื่น,เป็นผู้ฉลาดต่อวัฏฏะอันเป็นที่อยู่ของมารฉลาดต่อวิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของมารเป็นผู้ฉลาดต่อวัฏฏะอันเป็นที่อยู่ของมฤตยูฉลาดต่อวิวัฏฏะอันไม่เป็นที่อยู่ของ

มฤตยู.ชนเหล่าใดถือว่าเรื่องนี้ควรฟังควรเชื่อข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลเพื่อความสุขแก่ชนทั้งหลายเหล่านั้นสิ้นกาลนานทั้งโลกนี้และโลกอื่นตถาคตผู้ทราบดีอยู่ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้วทั้งที่ที่มารไปไม่ถึงและที่ที่มฤตยูไปไม่ถึงตถาคตผู้รู้ชัดเข้าใจชัด

๑.  บาลีจูฬโคลปาลสูตรมู.ม. ๑๒/๔๒๑/๓๘๑.

ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายที่ฝั่งน้ำคงคาใกล้เมืองอุกกเวลา(เฉพาะสูตรนี้มีอยู่ในภาคนำด้วยแล้ว)ได้ประกาศไว้ชัดแจ้งแล้วเพราะความรู้โลกทั้งปวงประตูนครแห่งความไม่ตายตถาคตเปิดโล่งไว้แล้วเพื่อสัตว์ทั้งหลายเข้าถึงถิ่นอันเกษมกระแสแห่งมารผู้มีบาปตถาคตปิดกั้นเสียแล้วกำจัดเสียแล้วทำให้หมดพิษสงแล้ว .

ภิกษุท .! เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มากมูนด้วยปราโมทย์ปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะเถิด.

ตถาคต

  ภิกษุท.! โลก๓เป็นสภาพที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้วตถาคตจึงเป็นผู้ถอนตนจากโลกได้แล้ว. เหตุให้เกิดโลกเป็นสภาพที่ตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้วตถาคตจึงละเหตุให้เกิดโลกได้แล้ว. ความดับไม่เหลือของโลกเป็นสภาพที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้วตถาคตจึงทำให้แจ้งความดับไม่เหลือของโลกได้แล้ว. ทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกเป็นสิ่งที่ตถาคตรู้พร้อมเฉพาะแล้ว

ตถาคตจึงทำให้เกิดมีขึ้นได้แล้วซึ่งทางให้ถึงความดับไม่เหลือของโลกนั้น.

ภิกษุท. ! อายตนะอันใดที่พวกมนุษยโลกพร้อมทั้งเทวโลกมาร,พรหม, ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ได้เห็นได้ฟังได้ดม-ลิ้ม-สัมผัสได้รู้แจ้งได้บรรลุได้แสวงได้เที่ยวผูกพันติดตามโดยน้ำใจ, อายตนะนั้นตถาคตได้รู้พร้อมเฉพาะแล้วทั้งสิ้นเพราะเหตุนั้นจึงได้

นามว่า “ตถาคต”.

ภิกษุท.! ในราตรีใดตถาคตได้ตรัสรู้และในราตรีใดตถาคต ปรินิพพาน, ในระหว่างนั้นตถาคตได้กล่าวสอนพร่ำสอนแสดงออกซึ่งคำใด, คำนั้นทั้งหมดย่อมมีโดยประการเดียวกันทั้งสิ้นไม่แปลกกันโดยประการอื่นเพราะเหตุนั้นจึงได้นามว่า “ตถาคต”.

๑. ระหว่างนี้ทรงแสดงข้อปฏิบัติเรื่องศีลสันโดษสติสัมปชัญญะฯลฯว่าเป็นอนุศาสนีปาฎิหาริย์

ของพระองค์อันหนึ่งๆทุกอัน.

๒. บาลี. อิติวุ. ขุ. ๒๕/๓๒๑/๒๙๓, และจตุกฺก. อํ. ๒๑/๓๐/๒๓.

ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

๓. โลกในที่นี้คือทุกข์.

ภิกษุท. ! ตถาคตกล่าวอย่างใดทำอย่างนั้นทำอย่างใดกล่าวอย่างนั้น, เพราะเหตุอย่างนั้นจึงได้นามว่า “ตถาคต”

ภิกษุท. ! ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมาร, พรหม, ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ตถาคตเป็นผู้เป็นยิ่งไม่มีใครครอบงำเป็นผู้เห็นสิ่งทั้งปวงโดยเด็ดขาดเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด (โดยธรรม)แต่ผู้เดียว, เพราะเหตุนั้นจึงได้นามว่า “ตถาคต”.ทรงเป็นสัมมาสัมพุทธะเมื่อทรงคล่องแคล่วในอนุปุพพวิหารสมาบัติ๑

อานนท์ ! ตลอดกาลเพียงใดที่เรายังไม่อาจเข้าออกอย่างคล่องแคล่วซึ่งอนุปุพวิหารสมาบัติเก้า๒ทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมแล้ว, ตลอดกาลเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญญาว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อม

ทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลกหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์.

อานนท์ ! ก็แต่ว่าในกาลใดแลเราได้เข้า-ได้ออกอย่างคล่องแคล่วซึ่งอนุปุพพวิหารสมาบัติเก้าทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลมแล้ว, ในกาลนั้นเราจึงปฏิญญาว่าเป็นผู้ได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลกหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์. อนึ่งปัญญาเครื่องรู้และปัญญาเครื่องเห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา

๑. บาลีนวก. อํ. ๒๓/๔๖๙/๒๔๕. ตรัสแก่พระอานนท์.

๒. อนุปพพวิหารเก้ามีอะไรบ้างดูตอนที่ว่าด้วย “การทรงพยายามในเนกขัมมจิตและอนุปุพพวิหารสมาบัติก่อนตรัสรู้” ภาค๒หน้า๙๔

ว่า “ความหลุดพ้นแห่งใจของเราไม่กลับกำเริบชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย, บัดนี้

ภพใหม่มิได้มีอีกต่อไป”ดังนี้.

ทรงปฏิญญาเป็นอภิสัมพุทธะเมื่อทรงทราบอริยสัจจ์หมดจดสิ้นเชิง๑

ภิกษุท. ! ตลอดกาลเพียงไรที่ญาณทัสสนะ (เครื่องรู้เห็น) ตามเป็นจริงของเราอันมีปริวัฏฏ์สามมีอาการสิบสองในอริยสัจจ์ทั้งสี่ยังไม่เป็นญาณทัสสนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี, ตลอดกาลเพียงนั้นเรายังไม่ปฏิญาณว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกกับทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลกหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.

ภิกษุท. ! เมื่อใดญาณทัสสนะตามเป็นจริงของเราอันมีปริวัฏฏ์สามมีอาการสิบสองในอริยสัจจ์ทั้งสี่เป็นญาณทัสสนะที่บริสุทธิ์สะอาดด้วยดี, เมื่อนั้นเราก็ปฏิญญาว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก

กับทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลกหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้ง

เทวดาและมนุษย์ไม่ทรงเป็นสัพพัญญูทุกอิริยาบถ๒

วัจฉะ ! พวกชนเหล่าใดที่กล่าวว่า "พระสมณโคดมเป็นผู้สัพพัญญู

๑. บาลีมหาวาร. สํ. ๑๙/๕๓๐/๑๖๗๐. ตรัสแก่ปัญจวัคคีย์ภิกษุที่พาราณสี.

๒. บาลีม.ม. ๑๓/๒๓๗/๒๔๑. ตรัสแก่วัจฉโคตตปริพพาชกที่อารามเอกบุณฑริก.

รู้สิ่งทั้งปวงอยู่เสมอเป็นธรรมดาเป็นผู้สัพพทัสสาวีเห็นสิ่งทั้งปวงอยู่เสมอเป็นธรรมดาและปฏิญญาความรู้ความเห็นทั่วทุกกาลไม่มีส่วนเหลือว่าเมื่อเราเที่ยวไปๆก็ดีหยุดอยู่ก็ดีหลับอยู่ก็ดีตื่นอยู่ก็ดีความรู้ความเห็นนั้นย่อมปรากฏแก่เราติดต่อเนื่องกันอยู่เสมอ" ดังนี้ชนพวกนั้นไม่ได้กล่าวตรงตามที่เรากล่าว, แต่เขากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่มีจริงไม่เป็นจริง.

วัจฉะ ! ต่อเราต้องการจะน้อมจิตไปเฉพาะเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณเราจึงตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอยู่อาศัยในภพก่อนฯลฯ.๑ต่อเราต้องการจะน้อมจิต

ไปเฉพาะเพื่อทิพพจักขุญาณเราจึงน้อมจิตไปเพื่อทิพพจักขุญาณฯลฯ. เราทำให้แจ้งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติฯลฯแล้วแลอยู่.

วัจฉะ ! เมื่อผู้ใดกล่าวให้ชัดว่า “พระสมณโคดมมีวิชชาสาม” ดังนี้จึงจะชื่อว่าไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง, เป็นการกล่าวถูกต้องตามธรรมและผู้ที่กล่าวตามเขาต่อๆไปก็จะไม่ตกไปในฐานะอันใครจะพึงติเตียนได้ทรงยืนยันความเป็นมหาบุรุษ๒

วัสสการพราหมณ์ได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลว่า :-

พระโคดมผู้เจริญ ! พวกข้าพเจ้าย่อมบัญญัติบุคคลที่มีธรรม๔ประการ

ว่าเป็นมหาบุรุษมหาปราชญ์. ธรรม๔ประการเหล่าไหนเล่า ?

พระโคดมผู้เจริญ ! คือคนในโลกนี้เป็นพหุสูตมีเรื่องที่ควรสดับอันตนได้สดับแล้วมาก. เป็นคนรู้เนื้อความแห่งข้อความที่มีผู้กล่าวแล้วนั้นๆว่านี้เป็น

๑. คำที่ละด้วย ...ฯลฯ... ดูเต็มที่ได้ในตอนตรัสรู้วิชชาวาม, ในภาค๒.

๒. บาลีจตุกฺก. อํ. ๒๑/๔๕/๓๕. ตรัสแก่วัสสการพราหมณ์ที่เวฬุวันใกล้เมืองราชคฤห์.

ความหมายแห่งภาษิตนี้, เป็นคนมีสติระลึกสืบสาวการที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นานได้,และเป็นคนฉลาดในกิจการของคฤหัสถ์ที่ต้องจัดต้องทำขยันไม่เกียจคร้านในกิจการเหล่านั้นมีปัญญาพิจารณาสอบสวนอันเป็นอุบายวิธีที่จะให้กิจการนั้นสำเร็จได้ด้วยดีสามารถทำเองและสามารถที่จะจัดให้ผู้อื่นทำในกิจการเหล่านั้น, พระโคดมผู้เจริญ ! พวกข้าพเจ้าบัญญัติบุคคลผู้มีธรรม๔ประการเหล่านี้แลว่าเป็นมหาบุรุษมหาปราชญ์. ถ้าคำของข้าพเจ้าควรอนุโมทนาก็ขอจงอนุโมทนา, ถ้าควรคัดค้านก็ขอจงคัดค้านเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบว่า :-

พราหมณ์ ! เราไม่อนุโมทนาของท่าน, เราไม่คัดค้านของท่านเราเองก็บัญญัติบุคคลที่มีธรรม๔ประการว่าเป็นมหาบุรุษมหาปราชญ์ธรรม๔ประการเหล่าไหนเล่า ?พราหมณ์ ! คือคนในโลกนี้เป็นผู้ปฏิบัติเกื้อกูลแก่มหาชนเพื่อ

ความสุขของมหาชนยังประชุมชนเป็นอันมากให้ประดิษฐานอยู่ในอริยญายธรรมคือความเป็นผู้มีธรรมงามมีธรรมเป็นกุศล.

อนึ่งเขาเป็นผู้จำนงจะตรึกเรื่องใดก็ตรึกเรื่องนั้นได้, ไม่จำนงจะตรึกเรื่องใดก็ไม่ตรึกเรื่องนั้นได้, จำนงจะดำริเรื่องใดก็ดำริเรื่องนั้นได้, ไม่จำนงจะดำริเรื่องใดก็ไม่ดำริเรื่องนั้นได้เพราะเขาเป็นผู้มีอำนาจเหนือจิตในคลองแห่ง

ความตรึกทั้งหลาย.

อนึ่งเขาเป็นผู้ได้ตามต้องการได้โดยไม่ยากได้โดยไม่ลำบากซึ่งฌาน

ทั้ง๔อันเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในภพปัจจุบันนี้อันเป็นธรรมเป็นไปในทางจิตขั้นสูงอนึ่งเขานั้นย่อมกระทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้วและอยู่ในวิหารธรรมนั้นในภพอันเป็นปัจจุบันนี้.

พราหมณ์ ! เราไม่อนุโมทนาของท่าน, เราไม่คัดค้านของท่าน, แต่เราบัญญัติบุคคลที่มีธรรม๔ประการนี้แลว่าเป็นมหาบุรุณมหาปราชญ์

วัสสการพราหมณ์ได้อนุโมทนาสรรเสริญคำของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันมากในที่สุดพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ว่า :-

พราหมณ์ ! ท่านกล่าวคำพาดพิงถึงเรา. เอาเถิดเราจะพูดให้แจ้งชัดทีเดียวว่าเราและเป็นผู้ปฏิบัติเกื้อกูลแก่มหาชนเพื่อความสุขของมหาชนยังประชุมชนให้ตั้งอยู่ในอริยญายธรรมกล่าวคือความเป็นผู้มีธรรมงามเป็นผู้มีธรรมเป็นกุศล. เราแลเป็นผู้จำนงจะตรึกในเรื่องใดก็ตรึกในเรื่องนั้นได้ไม่จำนงจะตรึกในเรื่องใดก็ไม่ตรึกในเรื่องนั้นได้, จำนงจะดำริในเรื่องใดก็ดำริในเรื่องนั้นได้ไม่จำนงจะดำริในเรื่องใดก็ไม่ดำริในเรื่องนั้นได้เพราะเราเป็นผู้มีอำนาจเหนือจิตในคลองแห่งความตรึกทั้งหลาย. เราแลเป็นผู้ได้ตามต้องการได้โดยไม่ยากได้โดยไม่ลำบากวึ่งฌานทั้ง๔อันเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในภพเป็นปัจจุบันนี้อันเป็นธรรมเป็นไปในทางจิตขั้นสูง. เราแลเป็นผู้ทำให้แจ้งได้ซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะสิ้นอาสวะแล้วด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงแล้วและอยู่ในวิหารธรรมนั้นในภพอันเป็นปัจจุบันนี้ดังนี้.

 

ไม่มีใครเปรียบเสมอ๑

ภิกษุท. ! บุคคลเอกเมื่อเกิดขึ้นมาในโลกย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ซึ่งไม่มีใครซ้ำสองไม่มีใครร่วมเป็นสหายด้วยได้ไม่มีคู่เปรียบไม่มีผู้เท่าทันไม่มีผู้คล้ายด้วยไม่มีคนเทียบได้ไม่มีผู้เสมอไม่มีใครที่จะเปรียบให้เหมือนได้

๑.  บาลีเอก. อํ. ๒๐/๒๙/๑๔๓.

ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.และเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาสัตว์๒เท้าทั้งหลายแล. ใครกันเล่าเป็นบุคคลเอก?

ตถาคตผู้เป็นอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองนี้แลเป็นบุคคลเอก.

ภิกษุท. ! นี่แลบุคคลเอกซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมาในโลกย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ซึ่งไม่มีใครซ้ำสองไม่มีใครร่วมเป็นสหายด้วยได้ไม่มีคู่เปรียบไม่มีผู้เท่าทันไม่มีผู้คล้ายด้วยไม่มีคนเทียบได้ไม่มีผู้เสมอไม่มีใครที่จะเปรียบให้เหมือนได้และเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาสัตว์๒เท้าทั้งหลายแลไม่ทรงอภิวาทผู้ใด๑

พราหมณ์ ! ในโลกนี้กับทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลก, ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์, เราไม่มองเห็นใครที่เราพึงอภิวาทพึงลุกขึ้นยืนรับพึงต้อนรับด้วยตั้งอาสนะให้เพราะว่าตถาคตอภิวาทลุกรับตั้งอาสนะให้ผู้ใดศีรษะของผู้นั้นจะพึงแตกกระจายออก.๒

ทรงเป็นธรรมราชา๓

เสละ ! เราเป็นธรรมราชาไม่มีราชาอื่นยิ่งไปกว่า. เราหมุนจักรโดยธรรมให้เป็นไป.เป็นจักรซึ่งใครๆจะต้านทางให้หมุนกลับมิได้เลย.

๑. บาลีอัฏฐก. อํ. ๒๓/๑๗๔/๑๐๑. ตรัสแก่เวรัญชพราหมณ์เมืองเวรัญชา.

๒. คำนี้เป็นโวหารพูดเช่นเมื่อครูบาอาจารย์ของเรามาไหว้เราๆรู้สึกเป็นทุกข์ร้อน, หรือว่าเป็นตรงตามอักษรแล้วแต่จะสันนิษฐาน.

๓. บาลีเสลสูตรม.ม. ๑๓/๕๕๔/๖๐๙. ตรัสแก่เสลพราหมณ์ที่อาปณนิคมแคว้นอังคุตตราปะ.

ข้าแต่พระโคดม ! พระองค์ทรงปฏิญญาว่าเป็นสัมพุทธะเป็นธรรมราชาที่ไม่มีราชาอื่นยิ่งกว่า,และหมุนจักรโดยธรรมให้เป็นไป. แล้วก็ไหนเล่าเสนาบดีของพระองค์,ในบรรดาสาวกของพระองค์นั้นใครเล่าสามารถหมุนจักรที่พระองค์ให้เป็นไปแล้วให้เป็นไปตามได้?

เสละ! จักรที่เราให้เป็นไปแล้วเป็นธรรมจักรไม่มีจักรอื่นยิ่งไปกว่า.

สารีบุตรเป็นผู้เกิดตามตถาคตย่อมหมุนจักรนั้นให้เป็นไปตามเราได้. เสละ !

สิ่งควรรู้เราก็รู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง. สิ่งควรทำให้เกิดมีเราก็ได้ทำให้เกิดมีแล้ว.สิ่งควรละเราก็ละเสร็จแล้ว. เพราะเหตุนั้นแหละพราหมณ์เราจึงเป็นสัมพุทธะ.

ทรงเป็นธรรมราชาที่เคารพธรรม๑

ดูก่อนภิกษุ ! จักรพรรดิราชผู้ประกอบในธรรมเป็นธรรมราชาอาศัย

ธรรมอย่างเดียวสักการะธรรมเคารพธรรมนอบน้อมธรรมมีธรรมเป็นธงชัย

มีธรรมเป็นยอดมีธรรมเป็นอธิบดีย่อมจัดการอารักขาป้องกันและคุ้มครอง

โดยชอบธรรมในหมู่ชนในราชสำนักในกษัตริย์ที่เป็นเมืองออกในหมู่พล

ในพราหมณ์และคฤหบดีในราษฎรชาวนิคมและชนบทในสมณะและพราหมณ์และในเนื้อและนก,ทั้งหลาย; ชื่อว่าเป็นผู้ยังจักรให้เป็นไปโดยธรรมและเป็นจักรที่มนุษย์ใดๆผู้เป็นข้าศึกไม่อาจให้หมุนกลับได้ด้วยมือ ;นี้ฉันใด ;

ดูก่อนภิกษุ ! ตถาคตก็ฉันนั้นเหมือนกัน : ตถาคตเป็นอรหันตสัมมา -

สัมพุทธะเป็นธรรมราชาผู้ประกอบด้วยธรรมอาศัยธรรมอย่างเดียวสักการะธรรมเคารพธรรมนอบน้อมธรรมมีธรรมเป็นธงชัยมีธรรมเป็นยอด  บาลีติก. อํ. ๒๐/๑๓๘/๔๕๓

มีธรรมเป็นอธิบดีย่อมจัดการอารักขาป้องกันและคุ้มครองโดยธรรมในกายกรรม,วจีกรรม, และมโนกรรมว่าอย่างนี้ๆควรเสพอย่างนี้ๆไม่ควรเสพดังนี้,ได้ยังธรรมจักรอันไม่มีจักรอื่นยิ่งไปกว่าให้เป็นไปโดยธรรมนั่นเทียว.และเป็นจักรที่สมณะหรือพราหมณ์, เทพ, มาร, พรหม, หรือใครๆในโลกไม่อาจต้านให้หมุนกลับได้, ฉะนั้น.

เมื่อได้ประมวลข้อความอันเป็นเรื่องแวดล้อมภาวะของการตรัสรู้เป็นพระสัมมา

สัมพุทธเจ้าของพระองค์มาจนหมดจดแล้วจะได้เริ่มเนื้อความที่เป็นท้องเรื่อง

ติดต่อเป็นลำดับกันสืบไปอีกดังนี้ :-

  ประวัติผู้รวบรวมเรียบเรียงเขียน

ชื่อสกุล  นายธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท