AAR


AAR : After Action Review

ถ้าจะให้พูดถึง AAR อย่างง่ายและรวบรัดที่สุด คงเป็นประมาณ "ตีเหล็กเมื่อร้อน" ที่ว่ามันเป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า AAR เป็นกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ทันทีภายหลังสมาชิกปฏิบัติภารกิจกิจกรรมต่างๆ เสร็จสิ้นลง ที่จริงมันก็คงเหมือนกับการประเมินกิจกรรมนั่นแหละ แต่การประเมินแบบ AAR นอกจากจะช่วยผู้จัดกิจกรรมตอบคำถามหรือแก้ปัญหาในการจัดงานแล้ว AAR จะยังมุ่งทบทวนตรวจสอบผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละคนว่าสิ่งที่ได้รับไปในวันนี้ ท่านจะทำอะไรต่อไป

แม้ว่าการบันทึก AAR จะไม่เชิงเป็นพันธสัญญา (commitment) ของผู้บันทึกที่มีต่อใคร แต่มันคงพอมีสภาพเป็นสัญญาใจที่มีต่อตัวเอง ก็คงเหมือนกิจกรรมต้นไม้ความดีถวายพ่อหลวงที่หลายหน่วยงานทำขึ้น หนึ่งคำสัญญาหรือความดีที่เราตั้งใจเขียนลงในกระดาษ แล้วเอาไปติดในต้นไม้จำลองนั่นแหละ ไม่มีใครรู้หรอกว่าเราเขียนอะไรหรือเราเป็นใคร มีแต่ตัวเราเท่านั้นเองที่รู้และพึงรับผิดชอบในสิ่งนั้น ซึ่งมันก็เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยคำว่า "ลงมือทำ"

ตัวอย่างคำถามที่มักใช้ในการทำ AAR ก็ได้แก่ ข้อคำถามเหล่านี้

- ท่านคาดหวังอะไรบ้างจากการทำกิจกรรม หรือทำภารกิจในครั้งนี้
- มีอะไรบ้างที่ท่านสมหวัง บรรลุเป้าตามที่ท่านตั้งใจไว้
- มีอะไรบ้างที่ท่านยังไม่บรรลุ หรือสมหวังดังที่คิดไว้
- หากจัดภารกิจหรือทำกิจกรรมแบบนี้อีก ครั้งหน้าท่านเห็นว่าควรปรับปรุงในขั้นตอนใดบ้าง
- หลังเสร็จภารกิจหรือกิจกรรมครั้งนี้แล้ว ท่านจะกลับไปลงมือทำอะไรบ้าง
       ฯลฯ

ซึ่งหากจะมีใครนำเอาข้อคำถามประเภทนี้ไปใช้ในทุกๆ กิจกรรมที่จัดขึ้น ก็น่าจะเป็นการช่วยกระตุ้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมตื่นตัวในการเรียนรู้ และองค์กรมีสภาพเป็นองค์กรเรียนรู้มากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #aar
หมายเลขบันทึก: 51253เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2006 10:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท