โรคเหงาทำเรา_เอ๋อ(เสี่ยงสมองเสื่อม)



.
Dailymail ตีพิมพ์เรื่อง 'Feeling lonely could double the risk of Alzheimer's - even if you have lots of friends'
= "(ความรู้สึก)เหงาเพิ่มเสี่ยง(โรคสมองเสื่อม)อัลไซเมอร์ 2 เท่า - แม้ว่าคุณจะมีเพื่อนมาก", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.

.
ภาพที่ 1: แผนที่โลกแสดงความชุกของกลุ่มโรคสมองเสื่อม (ส่วนใหญ่เป็นอัลไซเมอร์) ต่อประชากร 100,000 คนในปี 2004/2547, สีแดงแสดงความชุกสูงกว่าสีเหลือง, สีเข้มแสดงความชุกมากกว่าสีจาง
.
โรคสมองเสื่อมพบมากในแคนาดา สหรัฐฯ ยุโรป ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หรือกลุ่มประเทศที่มีชาวตะวันตก (ฝรั่ง) อยู่มาก
.
เอเชียเป็นทวีปที่มีคนสูงอายุเพิ่มขึ้นเร็วมาก... ประเทศใดมีโรคแบบนี้มากจะเสียเปรียบในการแข่งขันกับนานาชาติมากกว่าประเทศที่มีโรคแบบนี้น้อย [ wiki ]
.

.
ภาพที่ 2: แสดงห้องที่จัดให้อะไรเป็นแบบเดิมๆ เช่น กลางคืนจะเปิดไฟเหมือนเดิม ทิ้งไว้ทั้งคืน ฯลฯ เพื่อให้คนไข้คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงจะทำให้คนไข้เครียด หงุดหงิดมากขึ้น
.
เมืองไทยน่าจะทำไฟแบบนี้ขายทั่วโลก จะเป็นแบบใส่น้ำมีฟองอากาศ หรือเป็นแบบหลอด LED กระพริบก็ได้ (ควรมีระบบป้องกันไฟช็อต-ไฟดูด)
.
กล่าวกันว่า คนสูงอายุมักจะหงุดหงิด งอแงง่ายคล้ายเด็กเล็ก ทว่า... ต่างกันอย่างหนึ่ง คือ ดูแล้วไม่น่ารัก ทำให้คนสูงอายุที่จนด้วย ขี้บ่นด้วย ถูกทอดทิ้งมากขึ้นเรื่อยๆ
.
ถ้ารวยอาจจะมีคนดูแล... เผื่อจะได้มรดกมากขึ้น แต่ก็ไม่แน่เหมือนกัน เพราะอาจถูกฟ้องศาลให้เป็นคนหมดสภาพ รีบตั้งผู้จัดการสินทรัพย์ ได้เงินแล้วทอดทิ้งเลยก็เป็นได้

การศึกษาใหม่จากอัมสเตอดัม ทำในกลุ่มตัวอย่างคนสูงอายุมากกว่า 2,000 คน ติดตามไป 3 ปี (J Neurol. Neurosurg. Psychiatry)
.
ผลการศึกษาพบว่า คนขี้เหงา (lonely people) เพิ่มเสี่ยงอัลไซเมอร์มากเป็น 2.35 เท่า แถมยังพบว่า การมีเพื่อนมากไม่ได้หมายความว่า จะไม่เหงาอีกต่อไป
.
เรื่องนี้ตรงกับคำกล่าวว่า "เพื่อนดี 1 คนมีค่ามากกว่าเพื่อนเลว 1 ล้านคน, เพื่อนสนิท 1 คนมีค่ามากกว่าเพื่อนผิวเผิน 1 พันคน"
.
ต้นฉบับท่านว่า 'feeling lonely' = "ความรู้สึกโดดเดี่ยว เหงา" ไม่เหมือนกับ 'being alone' = "การอยู่คนเดียว" เพราะความเหงาอันตรายมากกว่าการอยู่คนเดียว
.

.
เพราะคนหลายๆ คนอยู่คนเดียวแบบ "มีเครื่องอยู่" เช่น มีงานอดิเรก ศึกษาหาความรู้ใหม่ เล่นกับน้องหมา สวดมนต์ ปฏิบัติธรรม ฯลฯ ไม่เหงา
.
ตรงกันข้าม, คนบางคนอยู่กับเพื่อนเยอะแยะ ทักทายคนโน้นคนนี้ แต่หัวใจข้างในกลวง เหงา
.
การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การปลีกตัว ไม่พบปะผู้คนนานๆ เพิ่มเสี่ยงสมองเสื่อม และความจำเสื่อม
.
อังกฤษ (UK) ซึ่งมีประชากรใกล้เคียงกับไทย มีคนเป็นโรคอัลไซเมอร์มากกว่า 800,000 คน
.

.
ปัญหาใหญ่ของโรคนี้ คือ ทำให้ความต้องการคนดูแลที่บ้าน หรือสถานดูแลคนชราเพิ่มขึ้นมากมายมหาศาล
.
ประสบการณ์จากต่างประเทศพบว่า ถ้าจ้างพยาบาลจะเสียเงินมาก... จนล้มละลายได้ภายในไม่กี่เดือน หรือไม่กี่ปี
.
วิธีที่ใช้กันมาก คือ จ้างผู้ช่วยพยาบาลที่ผ่านการฝึกอบรมมาตรฐานไปดูแล ทำให้ธุรกิจการสอนผู้ช่วยพยาบาล การจัดหาผู้ช่วยพยาบาลบูมขึ้นมาก
.
สหรัฐฯ มีการฝึกอบรมนักอนามัยช่องปาก (dental hygienist) หลักสูตร 2 ปี ซึ่งทำฟันง่ายๆ เช่น ขูดหินปูน ฯลฯ ได้, ให้คำแนะนำโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง ฯลฯ ได้... อาชีพนี้กำลังมาแรง
.

.
CNN นำเสนอข่าวธุรกิจใหม่ในญี่ปุ่น คือ ให้ยืมสัตว์เลี้ยง เช่น แมว ฯลฯ, ให้เช่าเพื่อนเป็นรายชั่วโมง นับเป็นธุรกิจสำหรับคนขี้เหงา
.
อ.เจซซิกา สมิต จากสมาคมอัลไซเมอร์แนะนำวิธีที่มีหลักฐานสนับสนุนแล้วว่า ป้องกันสมองเสื่อมได้ คือ
.
(1). ออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ และไม่นั่งนานเกิน 1-1.5 ชั่วโมง/ครั้ง
.
(2). กินอาหารสุขภาพขนาดพอดี (อาหารสุขภาพกินมากไปก็เพิ่มน้ำหนักได้)
.
(3). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป
.

.
เร็วๆ นี้มีการศึกษาพบว่า มลภาวะในอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นควันขนาดจิ๋วที่เรียกว่า 'PM10' หรือฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน = 10/1,000 มิลลิเมตร = 1/100 มิลลิเมตร (พบบ่อยจากการเผา) เกิน 40-50 หน่วยทำให้ไอคิวต่ำลงได้
บ้านเรามีปัญหาการเผาไร่นา เผาป่า เผาขยะ-ใบไม้ โดยทางเหนือกับจังหวัดชายแดนตะวันตกจะเผามากเป็นพิเศษ
.
ถ้าเราปล่อยให้เด็กไทยที่ไอคิวต่ำจากการขาดไอโอดีน + ธาตุเหล็กตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ + โดนสารตะกั่วจากหม้อซุป-หม้อก๋วยเตี๋ยว-ตู้น้ำกดที่ใช้ตะกั่วเชื่อมอยู่แล้ว, ไอคิวต่ำลงจากหมอกควันอีก... ไทยคงจะแข่งขันกับนานาชาติไม่ได้ในระยะยาว
.

.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 11 ธันวาคม 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
หมายเลขบันทึก: 512223เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 12:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท