ทฤษฎีกระจกแตก (Broken Windows Theory)


  ทฤษฎีกระจกแตกเขียนโดย James Q. Wilson and George L. Kelling 

  ทฤษฏีนี้มีรากฐานมาจากการทดลองของศาสตราจารย์ด้านจิตวิทยา Dr. Philip Zimbardo ในขณะที่เขาสอนอยู่ที่ Yale และ New York University ในปี 1969 เขาได้ทดลองเอารถ Oldsmobile คันหนึ่งจอดทิ้งไว้บนถนนที่ตรงข้าม Bronx Campus ของ New York University และอีกคันจอดทิ้งไว้บนถนนในเมือง Palo Alto, California ใกล้กับมหาวิทยาลัย Stanford โดยเขต Bronx ก็เป็นอันรู้ๆกันเรื่องสภาพแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี และเขต Palo Alto ก็เป็นอันรู้ๆกันถึงสภาพแวดล้อมที่ดี เนี้ยบ ผู้ดี อำมาตย์ ภายใน 3 วัน รถที่จอดทิ้งไว้ที่ Bronx ถูกงัดแงะเปิดเปิงเรียบร้อย ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามาจากการงัดแงะทำลายรวม 23 ครั้งด้วยกัน ส่วนรถที่ Palo Alto กลับอยู่ในสภาพเรียบร้อยเป็นเวลากว่าสัปดาห์ก่อนที่อาจารย์ซิมบาร์โด้และศิษย์อีกสองคนจะลองทุบรถคันนี้ดูแล้วดูว่าเกิดอะไรขึ้นพวกเขาก็พบว่า พอรอยบุบสลายเกิดขึ้นกับรถคันนี้แล้วในที่สุด รถคันนี้ก็จะมีสภาพเดียวกับรถใน Bronx เช่นกัน

  ทฤษฏีนี้ ว่าด้วยเรื่องของจุดด่าง หรือความไม่ดี หรือความไร้ระเบียบ แม้เพียงเล็กน้อย ก็สามารถสื่อความหมายได้ว่า ไม่มีคนดูแล เป็นเหตุให้เกิดความไม่ดี หรือหายนะที่ใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มความกลัว ทำให้ชุมชนอ่อนแอลง และเพิ่มแนวโน้มพฤติกรรมทางอาชญากรรมถ้าไม่ได้รับการแก้ไขให้เข้าที่เข้าทางตั้งแต่มันยังเป็นจุดเล็กๆอยู่

 หลักการของทฤษฎี  อาจอธิบายได้จากสถานการณ์ตัวอย่างดังต่อไปนี้  กล่าวคือ  เมื่อตำรวจผู้ปฏิบัติพบเห็นอาคารที่กระจกหน้าต่าง ประตู  ฝาบ้าน  รั้ว ฯลฯ ต้องแตกหรือเสียหายจากการขว้าง/ปา ทุบตี พ่นสีสเปรย์ใส่ฯ ลฯ อย่างใดอย่างหนึ่ง หากอาคารนั้นมีผู้อาศัยอยู่ตำรวจควรสอบถามถึง สาเหตุความเป็นมา ถ้ารู้ตัวผู้กระทำผิด ก็ต้องจัดการตามขั้นตอนของกฎหมาย  หากไม่รู้ตัวผู้กระทำผิด ก็ควรแนะนำให้ทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพปกติ แต่ถ้า กรณีอาคารที่เสียหายเป็นอาคารไร้ผู้อยู่อาศัย  ก็ควรติดต่อเจ้าของหรือผู้เกี่ยวข้องให้มาจัดการแก้ไข  ทั้งนี้ด้วยเจตนาที่ไม่ต้องการปล่อยให้สิ่งเสียหายเบื้องต้นนั้น  เป็นเหตุเชิญชานให้มีการกระทำผิดซ้ำ(เช่น บุกรุกเข้าไปก่ออาชญากรรมในอาคาร)  การปฏิบัติลักษณะนี้ อยู่บนพื้นฐานความเป็นจริงที่ว่า ถ้าปล่อยให้ มีการละเมิดกฎหมายโดยไม่จัดการ ก็ต้องละเมิดเพิ่มครั้งขึ้นเรื่อย ๆ (เพราะเห็นว่าไม่เป็นไร)  แม้คนที่ไม่เคยคิดจะละเมิดมาก่อน ก็เกิดความรู้สึกคล้อยตาม-พลอยทำการละเมิดบ้าง โดยมักคิดให้เหตุผลผิด ๆ แก่ตนเองว่า   การกระทำผิดอย่างนั้นเป็นความท้าทาย   ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อทำการละเมิดเรื่องเล็ก ๆ แล้วไม่เป็นไร  ต่อไปก็จะหันไปทำการละเมิดเรื่องใหญ่ ๆ ที่ให้ผล-เป็นความเสียหายมากกว่า นอกจากนี้  ความเสียหายและความเสื่อมโทรมที่เกิดจากฝีมือของนักทำลายที่ไร้เหตุผล  ยังมีส่วนทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎระเบียบ  และ กฎหมายในสังคมเสื่อมถอยลงอีกด้วย   เหตุผลสำคัญอีกประการหนึ่งคือ เมื่อปล่อยให้ความเสียหายเพิ่มมากขึ้นกระทั่งมีสภาพเป็นแหล่งเสื่อมโทรม  สุจริตชนคนดีก็มักหลีกเลี่ยงที่จะเข้า  ใกล้/เกี่ยวข้องกับพื้นที่นั้น ๆ  ในที่สุด พื้นที่ดังกล่าวก็ถูกยึดครองโดยกลุ่มมิจฉาชีพหรือกลุ่มคนผู้ชอบทำตัวถ่วง สังคม เหตุนี้ หลักปฏิบัติสำคัญอีกประการหนึ่งของทฤษฎี  จึงกำหนดการดำเนินการของตำรวจ ด้วยการ-พยายามเปิดโอกาสให้ประชาชนคนดีเข้าครอบครองพื้นที่ให้ได้มากที่ สุด ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการยึดครองของคนทุจริตไปในตัวด้วย (แนวทางของทฤษฏีนี้คล้ายกับ คำพังเพยของไทยที่ว่า “ ตัดไฟเสียแต่ต้นลม” )

คำสำคัญ (Tags): #Broken Windows
หมายเลขบันทึก: 512218เขียนเมื่อ 16 ธันวาคม 2012 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ธันวาคม 2012 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท