สุชาติ
อาจารย์ สุชาติ สุชาติ สุขราช

การคิดวิพากษ์


การคิดวิพากษ์ หมายถึง ความสามารถในการพิจารณา ประเมินและตัดสินสิ่งต่างๆหรือเรื่องราวที่เกิดขึ้น ที่มีข้อสงสัยหรือ ข้อโต้แย้ง โดย การพยายามแสวงหาคำตอบที่มีความสมเหตุสมผล โดยการคิดวิพากษ์นั้นจะเกิดขึ้น เมื่อมีการเผชิญสถานการณ์แปลกๆ ที่ไม่คาดหวัง การพบปัญหาที่ยากๆ เกิดความสงสัยหรือเกิดข้อโต้แย้ง ในเหตุผลหรือข้ออ้างนั้น การที่ต้องการตรวจสอบ และสืบค้นความจริง

ทฤษฎีด้านการคิดเชิงวิพากษ์มีพื้นฐานมาจากผลงานของ เบนจามิน บลูม (Benjamin Bloom) ในปี 1956 ที่ได้จัดหมวดหมู่พฤติกรรม การเรียนรู้ด้านสติปัญญา โดยพัฒนาวัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ให้ชัดเจนและให้ครูทดลองปฏิบัติในการสอนเป็นเวลาสองทศวรรษ แนวความคิดของเขาเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางและใช้สอนในโปรแกรมการฝึกหัดครูทั่วสหรัฐอเมริกาจนถึงปัจจุบัน ในประเทศอื่นรวมทั้งประเทศไทยก็นำแนวคิดของบลูมมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเช่นเดียวกัน
บลูม ได้แบ่งพฤติกรรมการเรียนรู้ ออกเป็น 6 ประเภท จากระดับแรกที่เรียกว่า ความรู้ จนถึงระดับของการประเมิน แต่ละประเภท เกี่ยวกับ การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลที่ซับซ้อน ที่ใช้ความสามารถทางสติปัญญาในระดับสูง และเพื่อให้สอดคล้องกับ พฤติกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว บลูมได้แบ่งวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเป็น 6 ประเภท ดังต่อไปนี้

วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมของบลูม

  1. ความรู้ (Knowledge) – เน้นการจำและการอ้างอิงข้อมูล คำกริยาเชิงพฤติกรรมที่ใช้ เช่น ระบุ บอกรายการ บอกชื่อ ตั้งชื่อ ให้คำจำกัดความ บอกแหล่งที่ตั้ง จับคู่ จำได้ และทำใหม่
  2. ความเข้าใจ (Comprehension) – เน้นการเชื่อมโยงและจัดการข้อมูลที่ได้เรียนมา คำกริยาที่ใช้ เช่น อธิบาย เชื่อมโยง กำหนดหลักเกณฑ์ สรุป พูดใหม่ เรียงข้อความใหม่ สาธิต
  3. การประยุกต์ใช้ (Application) – เน้นการใช้ข้อมูล โดยการนำเอากฎหรือหลักการมาประยุกต์ใช้ คำกริยาที่เกี่ยวข้องเช่น แก้ปัญหา เลือก ตีความ ทำ สร้าง เอามาไว้ด้วยกัน เปลี่ยน ใช้ ผลิต แปล
  4. วิเคราะห์ (Analysis) – เป็นการคิดเชิงวิเคราะห์ส่วนประกอบและหน้าที่ของสิ่งต่างๆ คำกริยาที่ใช้ เช่น วิเคราะห์ เปรียบเทียบ จัดประเภท แยกส่วนประกอบ หาข้อแตกต่าง สำรวจ แบ่งเป็นส่วยย่อย แยกแยะ หาข้อขัดแย้ง
  5. สังเคราะห์ (Synthesis) – เน้นการคิดในการนำเอาส่วนประกอบปลีกย่อยหรือรายละเอียดมารวมกันสร้างสิ่งใหม่ คำกริยาที่เกี่ยวข้อง เช่น ประดิษฐ์ สร้าง(Create) รวมกัน ตั้งสมมุติฐาน วางแผน ริเริ่ม เพิ่มเติม จิตนาการ ทำนาย
  6. การประเมิน (Evaluation) – เน้นการประเมินและการตัดสินโดยใช้ข้อมูลเป็นฐาน คำกริยาที่ใช้ เช่นประเมิน(Assess) แนะนำว่าดี (Recommend) วิพากษ์วิจารณ์ หาข้อดีและข้อเสีย ให้น้ำหนัก และตัดสินคุณค่า


อ้างอิง : http://www.novabizz.com/NovaAce/Intelligence/Critical_Thinking.htm#ixzz2EqokNS9B
คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 511787เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มกราคม 2013 00:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท