เส้นทางสู่ความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ (2)


โมเดลของภาวะผู้นำ(Leadership Model)

  โมเดลของภาวะผู้นำช่วยให้เราเข้าใจ ผู้นำควรทำอะไร วิธีการที่เขาทำในสถานการณ์ที่แน่นอน ความคิดนี้มิได้สกัดกั้นท่านในรูปแบบพฤติกรรมที่อภิปรายในโมเดลนี้ แต่เพื่อให้เข้าใจความจริง ความจริงว่าทุกสถานการณ์ต้องใช้วิธีการหรือพฤติกรรมที่แสดงออกต่างกันทั้ง 2 โมเดลจะอธิบายใน 4 โครงร่างและตารางการบริหาร

    ใน 4 โครงร่าง โบลแมนและดีล Bolman and Dealแนะนำว่าผู้นำแสดงพฤติกรรม

ผู้นำใน 4 แบบคือ โครงสร้าง ทรัพยากรมนุษย์ การเมือง และสัญญลักษณ์

สไตล์การนำอาจมีประสิทธิผลหรือไม่มีประสิทธิผลขึ้นอยู่กับการเลือกพฤติกรรมในสถานการณ์ที่ชัดเจน

    โครงสร้าง(Structure Framework) ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้นำคือ สถาปนิกทางสังคม สไตล์ผู้นำมีการวิเคราะห์และการออกแบบในสถานการณ์ผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผล ผู้นำแบบเผด็จการเล็กน้อย ใจแคบ สไตล์ผู้นำเน้นรายละเอียด ผู้นำแบบโครงสร้างมุ่งเน้นโครงสร้าง กลยุทธ์ สิ่งแวดล้อม การดำเนินการ การทดลองและการปรับตัว

      ทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Framework)ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้นำเป็นผู้กระตุ้นให้เกิดผลและรับใช้ สไตล์ผู้นำเป็นลักษณะสนับสนุน ส่งเสริม และให้สิทธิอำนาจ ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผล ผู้นำเป็นลักษณะเน้นเรื่องงาน สไตล์ภาวะผู้นำแบบละทิ้งและฉ้อฉลผู้นำแบบทรัพยากรมนุษย์เชื่อในตัวบุคคล และสื่อความเชื่อของเขา เขาพบเห็นและเข้าพบได้ง่าย เขาให้สิทธิอำนาจ เพิ่มการมีส่วนรวม สนับสนุน แลกเปลี่ยนข้อมูล ให้หน่วยล่างตัดสินใจ

      การเมือง (Political Framework) ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลผู้นำเป็นลักษณะส่งเสริมสไตล์ภาวะผู้นำ เป็นลักษณะสร้างความร่วมจิตร่วมใจและการผนึกกำลัง ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผลจะทำการอย่างไร้ยางอาย สไตล์ผู้นำแบบบงการ ผู้นำแบบการเมืองจะบอกว่าต้องการอะไรและต้องเอาให้ได้ เขาประเมินแบ่งสรรอำนาจ แบ่งปันผลประโยชน์ สร้างเครือข่ายเพื่อผู้มีส่วนได้เสียคนอื่นๆ ใช้วิธีชักจูงโน้มน้าวก่อน แล้วจึงใช้การเจรจาต่อรองและหรือใช้วิธีบังคับถ้าจำเป็น

      สัญญลักษณ์ (Symbolic Framework) ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล ผู้นำรู้เหตุการณ์ สไตล์ผู้นำแบบการสร้างแรงบันดาลใจ ในสถานการณ์ภาวะผู้นำที่ไม่มีประสิทธิผล ผู้นำแบบกระตือรือร้นอย่างคลั่งไคล้ หรือเบาปัญญา สไตล์ผู้นำไม่ชัดเจนไม่มีความหมาย องค์การที่มีแนวคิดที่มีผู้นำแบบสัญญลักษณ์ เหมือนกับเวทีละครหรือโรงละคร แสดงบทบาทให้เกิดความประทับใจ ผู้นำเหล่านี้ใช้สัญญลักษณ์เพื่อดึงดูดความสนใจ เขาพยายามกำหนดกรอบประสบการณ์ เพื่อจัดให้ประสบการณ์ให้ตีความดูท่าทีมีเหตุผลเป็นไปได้ เขาค้นหาและสื่อวิสัยทัศน์

      โมเดลนี้เสนอแนะว่า ผู้นำควรใช้สไตล์หนึ่งในสี่ลักษณะและมีหลายครั้งที่อาจไม่เหมาะสมถ้าใช้วิธีการเดียวในวิธีการต่างๆเหล่านี้อาจไม่เพียงพอ เราควรรู้ทั้งสี่วิธีมิใช่วิธีเดียว ตัวอย่างในช่วงที่องค์การมีการเปลี่ยนแปลง สไตล์แบบมีโครงสร้างอาจมีประสิทธิผลกว่าสไตล์ผู้นำแบบวิสัยทัศน์ ในช่วงเวลาที่องค์การกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วสไตล์ผู้นำแบบมีวิสัยทัศน์น่าจะเหมาะสมกว่า เราต้องเข้าใจด้วยตัวของเราเองในแต่ละสถานการณ์แทนที่จะใช้วิธีการที่เราเคยชอบ เราต้องรู้ตลอดเวลาและตระหนักถึงข้อจำกัดในวิธีการที่เราชอบใช้

      ตารางการบริหารของ เบลคและมูตัน The Blake and Mouton Managerial Grid

ใช้ 2แกน “แกนตั้งให้ความสนใจกับคน” “แกนนอนให้ความสนใจกับงาน”  ทั้งสองแกนใช้อัตราส่วน 1ถึง 9 ความคิดนี้มี 2 มิติอธิบายเป็นกราฟหรือตาราง

         

คนส่วนใหญ่อาจตกอยู่ส่วนใกล้ตรงกลางของทั้งสองแกน แต่ก็มีพวกสุดโต่ง นั่นคือ คนที่มีคะแนนที่อยู่ปลายสุดของเสกลเรามาดูรูปแบบต่างๆของผู้นำกัน

          ผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ(งาน  9 ,คน 1 )ผู้นำทีม(งาน 9,คน 9)ผู้นำแบบลูกทุ่ง(งาน1, คน 9)และผู้นำแบบย่ำแย่(งาน 1คน 1)

          ผู้นำแบบมีอำนาจเบ็ดเสร็จ (Authoritarian Leader) มุ่งงานสูง,สัมพันธ์ตำ่9,1:บุคคลที่มีอัตราส่วนคะแนนแบบนี้มุ่งงานมาก และให้คนทำงานอย่างหนัก (อัตตาธิปไตย)ความร่วมมือและความร่วมจิตร่วมใจมีน้อย คนที่มีลักษณะนี้มุ่งงานอย่างหนัก แสดงความเข้มงวดกวดขัน กำหนดตารางการทำงาน เขาคาดหวังให้บุคลากรทำงาน สั่งการบุคลากร โดยไม่ให้ตั้งคำถามหรือโต้แย้งเมื่อเกิดสิ่งผิดพลาด มีแนวโน้มที่จะมุ่งไปโทษบุคคลมากกว่าที่จะค้นหาว่าสิ่งใดผิดและหาวิธีป้องกัน ไม่อดทนต่อส่ิงที่เขาเห็นว่าไม่ตรงกับของตนเองซึ่งอาจจะเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของบางคน ยากที่จะทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชา มีส่วนร่วมและพัฒนาตนเอง

          ผู้นำทีม (Team Leader)มุ่งงานสูง ,ความสัมพันธ์สูง 9,9:ผู้นำแบบนี้ นำโดยทำเป็นตัวอย่างที่ดี พยายามสร้างสิ่งแวดล้อมเป็นทีมงาน ซึ่งสมาชิกทีมทุกคนสามารถทำงานได้เต็มศักยภาพ ทั้งสมาชิกทีมและปัจเจกบุคคลเขาส่งเสริมทีมทำงานให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิผลเท่าที่เป็นไปได้ ทำงานอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยในบรรดาสมาชิกต่างๆเขาสร้างทีมและเพิ่มผลผลิตของทีมได้มากที่สุด

            ผู้นำแบบลูกทุ่ง(Country Club)งานต่ำ,สัมพันธ์สูง 1,9 : ผู้นำแบบใช้อำนาจและการให้รางวัลครอบงำไว้ก่อน เพื่อการรักษาวินัยและส่งเสริมให้ทีมทำงานให้บรรลุเป้าหมายในทางกลับกันเกือบจะไม่สามารถใช้อำนาจการบังคับหรือการลงโทษ หรืออำนาจทางกฏหมายเลย ผลลัพธ์จากการไม่มีความสามารถของผู้นำที่กลัวการใช้อำนาจที่จะทำลายความสัมพันธ์สมาชิกทีม

          ผู้นำที่ยำแย่ (Impoverished Leader) งานต่ำ สัมพันธ์ต่ำ1,1:บุคคลผู้นี้ใช้สไตล์การบริหารแบบมอบอำนาจแล้วหายตัว เพราะเขาไม่มุ่งงานหรือไม่สนใจความสัมพันธ์ ปล่อยให้ทีมทำสิ่งที่เคยทำตามปรารถนาและความชอบแยกตัวเองออกจากกระบวนการของทีม โดยปล่อยให้ทีมตกระกำลำบากและปล่อยให้ต่อสู้เอง

          จุดที่ปรารถนาสำหรับผู้นำ ก็คือ ผู้นำแบบทีม อย่างไรก็ตามไม่ปล่อยทิ้งไปใน3แบบ ในสถานการณ์ที่แน่นอน อาจใช้แบบใดแบบหนึ่งในสามแบบในบางครั้งตัวอย่างเช่น เล่นบทผู้นำมุ่งงานต่ำ มุ่งสัมพันธ์ต่ำ ยอมให้ทีมของท่านเพิ่มความเชื่อมั่นในตนเองเล่นแบบผู้นำแบบอำนาจเบ็ดเสร็จ เพื่อค่อยๆสอนความมีวินัยในบุคลากรที่ขาดแรงจูงใจ ต้องพยายามศึกษาสถานการณ์อย่างรอบคอบและนึกถึงแรงกดดันที่จะเกิดขึ้น ท่านจะรู้ว่าจุดไหนของแกนที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์ตามที่ปรารถนา

        กระบวนการของผู้นำที่ยิ่งใหญ่

เส้นทางสู้ความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ ผู้นำที่ประสบความสำเร็จทั่วๆไป

 _กระบวนการที่ท้าทาย ประการที่ 1.ค้นหากระบวนการที่ท่านเชื่อว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้ดีขึ้นมากท่ีสุด 

_สร้างวิสัยทัศน์ร่วมกันให้เกิดแรงบันดาลใจ ลำดับต่อไปสร้างวิสัยทัศน์ร่วมด้วยคำที่ทำให้เกิดความเข้าใจกันของผู้ตาม 

_ให้บุคลากรคนอื่นได้แสดงความสามารถใช้เครื่องมือและวิธีการต่างๆในการแก้ปัญหากับเขา

_ทำตนเป็นแบบอย่าง เมื่อกระบวนการเกิดความยุ่งยากก็ยอมให้มือเปื้อนบ้าง เจ้านายสั่งการให้คนอื่นทำงาน ผู้นำจะแสดงให้ลูกน้องเห็นว่า เขาก็สามารถทำได้

_ให้กำลังใจ ให้การยกย่อง สรรเสริญลูกน้องของท่านจากใจและเก็บความเจ็บปวดไว้ในใจ

      ความเป็นผู้นำขึ้นอยู่กับการฝึกฝน มิได้เป็นมาเเต่เกิด ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ก่อนอื่นใดท่านต้องรู้จักตนเองว่าท่านเป็นใคร ท่านรู้อะไร ท่านสามารถทำอะไรได้ดี แล้วพัฒนาส่วนที่เป็นจุดแข็งของท่าน คิดดี มีความรู้สึกท่ีดีการกระทำก็จะดีตาม  ท่านคิดอย่างไรท่านก็จะเป็นเช่นนั้น

       

           

                      ✥✥✥✥✥✥✥✥✥✥✥✥✥✥✥✥

                              เอกสารอ้างอิง

1.Bass, Bernard,  Stogdill  ‘s Handbook of Leadership:A Survey of Theory and Research, New York:Free Press,1989.and Bass,Bernard,From Transformational Leadership:Learning

to Share the Vision,Organizational Dynamics,Winter 1990.

2.U.S.Army Handbook(1973)Military Leadership.

      Return

3.Bolman,Lee and T.Deal(1991) Reframing Organizations.San Francisco:Jossey -Bass 

4.Blake,Robert R.and Jane S.Mouton(1985).Houston:Gulf Publishing Co.

5.James M.Kouzes &Barry Z.Posner (1987).The LeadershipChallenge SanFrancisco:Jossey-Bass.

หมายเลขบันทึก: 511784เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 22:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 ธันวาคม 2012 20:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท