เส้นทางสู่ความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่ (1)


เส้นทางสู่ความเป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่(1)

                                                            ประชุม โพธิกุล

ผู้จัดการทำสิ่งต่างๆให้ถูกต้อง ในขณะที่ผู้นำทำสิ่งที่ถูกต้อง

                                                                    วอเรน เบนนิส

บทนำ 

ภาวะผู้นำที่ดีต้องฝึกฝน มิใช่เป็นมาแต่เกิด ถ้าท่านมีความปรารถนาหรือมีกำลังใจ ท่านสามารถที่จะเป็นผู้นำที่มีประสิทธิผลได้ การพัฒนาความเป็นผู้นำเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด เป็นเรื่องของการศึกษาด้วยตนเอง เข้ารับการศึกษาหรือหาประสบการณ์ก็ได้ ข้อแนะนำต่อไปนี้เป็นกระบวนการช่วยท่านได้

      เพื่อดลใจให้บุคลากรของท่านเป็นทีมได้ดีขึ้น แน่นอนมีหลายสิ่งที่ท่านต้อง เป็น ต้องรู้ และทำได้ สิ่งเหล่านีี้มิใช่เป็นธรรมชาติ แต่ต้องศึกษาและทำงาน ผู้นำที่ดีทีสุดต้องศึกษาและทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อการปรับปรุงทักษะของผู้นำ

      ก่อนเริ่มต้นศึกษา ขอนิยามคำว่า “ภาวะผู้นำ” ก่อน ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างซับซ้อน เป็นสิ่งที่คนใช้อิทธิพลต่อคนอื่น เพื่อทำให้ภารกิจ งานและวัตถุประสงค์ต่างๆขององค์การบรรลุผล เป็นวิธีทำให้เกิดความเชื่อมโยงและประสานสามัคคี การที่บุคคลดำเนินการให้กระบวนการดำเนินการได้ เป็นเรื่องของคุณลักษณะของผู้นำ (ความเชื่อ ค่านิยม จริยธรรม คุณลักษณะความรู้และทักษะต่างๆ)ถึงเเม้ตำแหน่งของท่านจะเป็นผู้จัดการ หัวหน้างาน ผู้นำ ฯลฯ ใช้อำนาจหน้าที่(authority)ท่านทำงานให้สำเร็จบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การอำนาจเหล่านี้ ก็มิได้ทำให้ท่านเป็นผู้นำ  ท่านเป็นเพียงเจ้านาย ภาวะผู้นำทำให้บุคลากรมีความปรารถนาอยากทำงานให้เสร็จตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ในทางกลับกันเจ้านายจะสั่งการให้คนทำงานให้เสร็จ

        บาส Bass มีทฤษฎีภาวะผู้นำที่สามารถอธิบายได้ 3 วิธีการ ว่าบุคคลจะกลายเป็นผู้นำได้อย่างไร

        1.บุคลิกภาพของบุคคลบางคน ทำให้เขามีบทบาทของผู้นำตามธรรมชาติ นี่คือ ทฤษฎีคุณลักษณะ(Trait Theory)

        2.ภาวะวิกฤติ หรือเหตุการณ์สำคัญ ทำให้บุคคลมีโอกาสดึงคุณลักษณะภาวะผู้นำจากบุคคลธรรมดา นั่นคือ ทฤษฎีเหตุการณ์สำคัญ(The Great Event Theory)

        3.บุคคลสามารถเลือกเป็นผู้นำ บุคคลสามารถเรียนรู้ทักษะ ภาวะผู้นำนี่คือ ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนโฉม (The Transformation Theory) ทฤษฎีนี้เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน

        เมื่อบุคลากรตัดสินใจที่จะยอมรับท่าน เป็นผู้นำ เขามิได้คำนึงถึงคุณลักษณะของท่าน เขาจะเฝ้าสังเกตว่าท่านทำอะไร เพื่อเขาจะสามารถรู้ว่า ท่านเป็นใครอย่างแท้จริง เขาใช้วิธีการสังเกตเพื่อให้รู้ว่าท่่านน่าเคารพนับถือ หรือใช้อำนาจหน้าที่ในทางที่ผิดเพื่อให้ดูดี หรือเพื่อความก้าวหน้า ผู้นำที่ทำเพื่อตัวเองมิใช่ผู้นำที่มีประสิทธิผลบุคลากรเพียงเชื่อฟังท่านแต่ไม่ปฏิบัติตามท่าน เขาจะประสบความสำเร็จในหลายด้าน เพราะเขาสร้างภาพลักษณ์ที่ดี เพื่อให้เจ้านายหน่วยเหนือเห็นจากการใช้บุคลากรของเขา

      พื้นฐานของภาวะผู้นำที่ดี ก็คือ มีความน่าเชื่อถือและไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ในสายตาของบุคลากร ภาวะผู้นำของท่าน คือทุกส่ิงทุกอย่างที่ท่านทำที่มีผลต่อองค์การ ผู้นำที่น่านับถือมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่ท่านเป็นอยู่ (ความเชื่อและคุณลักษณะ) ส่ิงที่ท่านรู้(งานกลุ่มงาน ธรรมชาติของมนุษย์)และสิ่งที่ท่านทำ (การดำเนินการ แรงจูงใจ การกำหนดทิศทางขององค์การ)

      อะไรที่ทำให้บุคลากรต้องการปฏิบัติตามท่าน บุคลากรต้องการบุคคลที่เขาเคารพนับถือ ชี้นำทิศทางที่ชัดเจนให้เขา การที่จะบรรลุถึงทิศทางก็ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ที่ดี

สิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ 2 ประการ

        จากการศึกษาของHay ’sองค์ประกอบที่ทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจ มากกว่า75 องค์ประกอบเขาพบว่า

          ✥ความไว้เนื้อเชื่อใจ และความมั่นใจของผู้นำระดับสูงเป็นตัวพยากรณ์ที่น่าเชื่อถือมากที่สุด ที่สร้างความพึงพอใจให้กับบุคลากรในองค์การ

          ✥การสื่อสารที่มีประสิทธิผลของผู้นำ ซึ่งสร้างความไว้เน้ือเชื่อใจและเกิดความมั่นใจใน 3 ด้านที่ทำให้องค์การชนะคู่แข่ง คือ

            _ช่วยให้บุคลากรเข้าใจกลยุทธ์ขององค์การโดยภาพรวม

            _ช่วยให้บุคลากรเข้าใจวิธีการที่เขามีส่วนร่วมในการกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อ

ความสำเร็จขององค์การ

          _ร่วมปันข้อมูลกับบุคลากร ถึงวิธีการที่บริษัทกำลังดำเนินการ หรือวิธีการที่บุคลากรกำลังดำเนินการในแผนกของตนเอง

          โดยพื้นฐาน ท่านต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ และสามารถสื่อสารวิสัยทัศน์ว่าท่านกำลังจะไปไหน ข้อที่น่าสังเกตหลักการของภาวะผู้นำในช่วงต่อไปซึึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับส่วนนี้

หลักการของผู้นำ

        เพื่อช่วยให้ท่านรู้ว่าท่านเป็นใคร ท่านรู้อะไร ท่านสามารถทำอะไรได้ ต่อไปนี้เป็นหลักการ 11 ข้อ ของภาวะผู้นำคือ (ตอนต่อไปจะขยายความให้ชัดเจน ถึงหลักการและจัดเตรียมเครื่องมือในการปฏิบัติ)

        1.รู้จักตนเองและปรับปรุงพัฒนาตนเอง เพื่อให้รู้จักตนเองท่านต้องเข้าใจว่าท่านเป็นใคร ท่านรู้อะไร และสามารถทำอะไรได้  มีคุณลักษณะอะไร การปรับปรุงพัฒนาตนเอง หมายถึง การพัฒนาคุณลักษณะที่เป็นจุดเเข็งของท่านจะบรรลุผลได้ ก็โดยการอ่าน การศึกษาด้วยตนเอง หรือศึกษาต่อ

        2.มีเทคนิควิชาชีพ ในฐานะผู้นำ ท่านต้องรู้งาน เข้าใจและคุ้นเคยงานของลูกน้องเป็นอย่างดี

        3.รับผิดชอบและแสวงหาความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ค้นหาวิธีการ คือจะชี้นำองค์การให้เจริญก้าวหน้า ด้วยวิธีการใหม่ๆและเมื่อมีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้นก็อย่าโทษคนอื่น วิเคราะห์สถานการณ์ หาแนวทางแก้ไข และมุ่งไปสู่สิ่งท้าทายต่อไป

        4.ตัดสินใจอย่างดีและทันกาล ใช้วิธีแก้ปัญหาที่ดี ตัดสินใจและมีเครื่องมือในการวางแผน

        5.ทำตนเป็นแบบอย่างที่ดี แสดงบทบาทเป็นแบบอย่างที่ดีต่อบุคลากรเขาทั้งหลายไม่ต้องการเพียงได้ยินว่าเขาทุกคนคาดหวังอะไร แต่เขาต้องการเห็นข้อเท็จจริง

        6.รู้จักบุคลากรและเอาใจใส่ดูแล รู้ธรรมชาติของมนุษย์ สิ่งสำคัญก็คือดูแลเอาใจใส่บุคลากร

        7.ให้ข้อมูลบุคลากร รู้วิธีการที่จะสื่อสารกับบุคลากร หัวหน้าหน่วยเหนือ และบุคลากรหลักในองค์การ

        8.พัฒนาจิตสำนึกความรับผิดชอบ พัฒนาคุณลักษณะที่ดีของบุคลากรช่วยให้เขามีความรับผิดชอบในวิชาชีพของเขา

        9.ทำให้แน่ใจว่าทุกคนเข้าใจงาน มีการนิเทศ และทำงานให้สำเร็จ การสื่อสารเป็นกิจกรรมหลักที่ต้องรับผิดชอบ

        10.ฝึกบุคลากรให้ทำงานเป็นทีม ถึงแม้ว่าเราจะเรียกว่าผู้นำขององค์การ ฝ่าย ส่วน ว่าเป็นทีม แต่ก็มิใช่เป็นทีมที่แท้จริง เขาเหล่านั้นเป็นแค่คนที่ทำงานร่วมกัน

          11.ใช้ศักยภาพให้เต็มที่ในองค์การท่าน ถ้าพัฒนาจิตวิญญาณของทีม ท่านจะใช้ศักยภาพได้เต็มที่ในฝ่าย ในส่วนหรือทั้งองค์การ

      มนุษยสัมพันธ์

      1.หกคำที่มีความสำคัญมากที่สุด

          “ ผมยอมรับ ผมผิดเอง”

        2.ห้าคำที่สร้างแรงจูงใจ

          “คุณทำงานดีมาก”

        3.สี่คำที่บอกความรู้สึกลึกซึ้ง

          “คุณคิดอย่างไร’’

          4.สามคำที่ควรจำ เพื่อขอความช่วยเหลือ

            “โปรดกรุณา”

          5.สองคำที่ต้องติดปากเสมอ

            “ขอบคุณ”

          6.หนึ่งคำที่ต้องพูดให้บ่อยๆ

            “เรา”

        7.หนึ่งคำที่ควรพูดให้น้อย

          “ฉัน”

องค์ประกอบของภาวะผู้นำ 

ปัจจัยสำคัญ4ประการ ของภาวะผู้นำ

1.ผู้ตาม บุคลากรแต่ละคนต้องการสไตล์ภาวะผู้นำต่างกัน ตัวอย่างเช่น บุคลากรใหม่ต้องการการนิเทศมากกว่าบุคคลที่มีประสบการณ์มาก บุคลากรที่มีเจตคติไม่ดีต้องการวิธีการที่แตกต่างกว่าบุคลากรที่มีแรงจูงใจสูง ผู้นำต้องรู้จักบุคลากรของท่าน จุดเริ่มต้นพื้นฐาน คือท่านต้องทำความเข้าใจให้ดีถึงธรรมชาติของมนุษย์ รู้ความต้องการ อารมณ์และแรงจูงใจ ท่านต้องรู้จักบุคลากรของท่านว่าเขาเป็นใคร เขารู้อะไร เขาทำอะไรได้บ้างเขามีคุณลักษณะอย่างไร

2.ผู้นำ ท่านต้องมีความเข้าใจอย่างแท้จริงว่า ท่านเป็นใคร ท่านรู้อะไร ท่านสามารถทำอะไรได้  ผู้ที่ตัดสินความเป็นผู้นำที่ประสบความสำเร็จอยู่ที่ผู้ตามมิใช่ผู้นำ ถ้าผู้ตามไม่ไว้เนื้้้อเชื่อใจหรือไม่มั่นใจในตัวผู้นำ เขาก็จะไม่มีแรงบันดาลใจ ถ้าท่านต้องการเป็นผู้นำที่ดีประสบความสำเร็จ ท่านต้องมั่นใจในตัวผู้ตาม มิใช่ในตัวท่านหรือหัวหน้าของท่าน เป็นสิ่งสำคัญที่ท่านต้องปฏิบัติ

3.การสื่อสาร ท่านต้องสื่อสาร 2 ทาง ใช้ภาษาท่าทางให้มากขึ้นตัวอย่างเช่น ท่านต้องทำเป็นตัวอย่าง ที่จะสื่อไปถึงบุคลากรของท่านซึ่งท่านอาจจะไม่ได้ขอร้องให้เขาปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งท่านอาจจะไม่ค่อยเต็มใจ ท่านจะสื่ออะไร หรืออย่างไรที่จะไม่ทำลายสัมพันธภาพระหว่างท่านกับคนของท่าน

4.สถานการณ์ ทุกสถานการณ์แตกต่างกัน สิ่งที่ท่านทำในสถานการณ์หนึ่ง อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ในอีกสถานการณ์หนึ่ง  ท่านต้องใช้ดุลยพินิจของท่าน ในการตัดสินใจปฏิบัติอย่างดีที่สุด และสไตล์ของผู้นำต้องสอดคล้องกับเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่นท่านอาจจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับบุคลากรในพฤติกรรมไม่เหมาะสม แต่ถ้าการเผชิญหน้าช้าหรือเร็วเกินไป รุนแรง หรืออ่อนแอเกินไป อาจทำให้ไม่เกิดประสิทธิผลก็ได้

อำนาจต่างๆจะมีผลต่อปัจจัจต่างๆเหล่านี้ ตัวอย่างต่างๆของอำนาจเป็นเรื่องของความสัมพันธ์ของท่านกับหัวหน้าของท่าน ทักษะของคนของท่าน ผู้นำที่ไม่เป็นทางการในองค์การของท่าน

      คุณลักษณะ (Attributes)

    ถ้าท่านเป็นผู้นำที่สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ บุคลากรที่อยู่รอบๆท่านก็จะนับถือท่าน เพื่อการเป็นผู้นำที่ดี มีสิ่งต่างๆที่ท่านต้องเป็น ต้องรู้ ต้องทำสิ่งต่างๆอยู่ภายใต้กรอบของภาวะผู้นำ

      1.เป็นมืออาชีพ ตัวอย่างมีความจงรักภักดีต่อองค์การ ปฏิบัติงานโดยไม่หวังผลประโยชน์ส่วนตน มีความรับผิดชอบ

      2.บุคลิกภาพดีเหมาะสมกับวิชาชีพ ตัวอย่างเช่นมีความจริงใจมีสมรรถนะ มีความเปิดเผย มีความมุ่งมั่น มีความซื่อสัตย์ กล้าหาญ ตรงไปตรงมา มีจินตนาการ

    3.รู้ปัจจัยต่างๆของภาวะผู้นำ ผู้ตาม ผู้นำ การสื่อสาร สถานการณ์

    4.รุ้จักตนเอง เช่น รู้จุดแข็งและจุดอ่อนของตน ความรู้และทักษะ ต่างๆ

    5.รู้ธรรมชาติของมนุษย์ เช่นมนุษย์มีความต้องการ มีอารมณ์และการตอบสนองความเครียด

    6.รู้งาน รู้งานอย่างมืออาชีพและฝึกฝนงานให้คนอื่นได้

    7.รู้จักองค์การ เช่น จะขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน บรรยากาศองค์การและวัฒนธรรมเป็นอย่างไร ใครเป็นผู้นำแบบไม่เป็นทางการในองค์การ

    8.กำหนดทิศทาง เช่นกำหนดเป้าหมาย การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การวางแผน

    9.การดำเนินการ เช่นการสื่อสาร การประสานงาน การนิเทศ การประเมินผล

    10.แรงจูงใจ เช่นสร้างขวัญกำลังใจ และพัฒนาสติปัญญาในองค์การ ฝึกอบรมการสอนงาน การให้คำปรึกษา

  สิ่งแวดล้อม( Environment)

ทุกองค์การมีสิ่งแวดล้อมในการทำงานตามปรกติ ซึ่งเป็นเหมือนคำสั่งที่ทรงอำนาจ เพื่อเป็นข้อที่ต้องคำนึงถึงวิธีการ ที่ผู้นำจะตอบสนองต่อปัญหาหรือโอกาส สิ่งแวดล้อมนำไปเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของผู้นำในอดีตและผู้นำในปัจจุบัน ผู้นำใช้อิทธิพลกับสิ่งแวดล้อม 3แบบ คือ

    _เป้าหมายและมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ผู้นำกำหนด

    _ค่านิยมต่างๆที่ผู้นำกำหนดสำหรับองค์การ

    _แนวคิดเรื่องบุคคลและธุรกิจที่เขากำหนด

    องค์การที่ประสบความสำเร็จต้องมีผู้นำที่ดี ที่กำหนดมาตรฐานที่สูงและมีเป้าหมายต่างๆที่รวมความคิดต่างๆเช่นกลยุทธ์ ผู้นำทางด้านการตลาด แผนงาน การนำเสนอ การควบคุมคุณภาพ และมีความน่าเชื่อถือ

      ค่านิยมสะท้อนถึงความใส่ใจในองค์การที่มีไว้สำหรับบุคลากร ลูกค้า นักลงทุน คนขายสินค้า และชุมชนรอบด้าน ค่านิยมเหล่านี้กำหนด วิธีการทำงาน วิธีดำเนินการทางธุรกิจและธุรกิจอะไรที่จะดำเนินการ

      แนวคิดกำหนดว่า ผลผลิตหรือบริการอะไรที่องค์การจะนำเสนอ วิธีการต่างๆและกระบวนการต่างๆและกระบวนการต่างๆเพื่อการดำเนินกิจกรรม เป้าหมาย ค่านิยมและแนวคิดเหล่านี้ทำให้เกิด   “ บุคลิกภาพขององค์การ” ลักษณะเฉพาะขององค์การที่สามารถสังเกตเห็นได้ทั้งภายในและภายนอก บุคลิกกำหนดบทบาท ความสัมพันธ์ รางวัล และพิธีกรรมที่เกิดขึ้น

      บทบาทกำหนดขึ้นจากความคาดหวังเชิงพฤติกรรมของคนที่ดำรงตำแหน่งอยู่แต่ละบทบาทจะมีชุดของงาน และความรับผิดชอบที่อาจจะหรืออาจจะไม่ได้ระบุไว้ บทบาทมีพลังอำนาจต่อพฤติกรรม เพราะเงินเดือนที่จ่าย  จ่ายตามการปฏิบัติงานในบทบาท มีเกียรติและศักดิ์ศรีรวมอยู่ในบทบาทนี้ด้วยมีความหมายความสำเร็จ และสิ่งท้าทายรวมอยู่ในบทบาทด้วย

      ความสัมพันธ์เกิดจากงานในแต่ละบทบาท บางคนทำคนเดียว แต่งานส่วนมากสัมพันธ์กับคนอื่น การวินิจฉัยงานอันเกิดจากผู้อยู่ในบทบาทนั้นว่าต้องสัมพันธ์กับใคร บ่อยแค่ไหน ดำเนินไปสู่จุดหมายอย่างไร ความสัมพันธ์ทำให้เกิดเครือข่าย สิ่งนี้เองที่นำไปสู่สัมพันธภาพบ่อยขึ้น พฤติกรรมมนุษย์ยากนักที่ใครจะไม่ติดต่อกับคนอื่น มนุษย์แสวงหาความสัมพันธ์อยู่แล้ว เขาชอบอยู่แล้ว มนุษย์มีเจตจำนงเพื่อทำในสิ่งที่เขาจะได้รางวัลเสมอ มิตรภาพเป็นรางวัลที่ทรงคุณค่า

      งานหลายอย่างและพฤติกรรมต่างๆสัมพันธ์กับบทบาทที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ผู้ดำรงตำแหน่ง มีความคาดหวังในงานและพฤติกรรมใหม่ เพราะว่าความสัมพันธ์ที่ดีเป็นเรื่องที่พัฒนาขึ้นมาจากอดีต ทั้งผู้ที่อยู่ในตำแหน่งและผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนแล้ว

      มีอำนาจ 2 อย่างที่เด่นชัด ที่มีพลังต่อวิธีการปฏิบัติภายในองค์การคือวัฒนธรรมและบรรยากาศองค์การ

      แต่ละองค์การมีวัฒนธรรมเฉพาะของตน เป็นเรื่องที่หลอมรวมผู้ค้นพบ ผู้นำในอดีต ผู้นำในปัจจุบัน ภาวะวิกฤต เหตุผลสำคัญต่างๆประวัติองค์การและขนาดขององค์การผลอันนี้อยู่ในพิธีกรรม งานประจำต่างๆพิธีการและวิธีการในการทำสิ่งต่างๆ“พิธีกรรมเหล่านี้มีผลกระทบพฤติกรรมของปัจเจกบุคคลที่ทำให้เกิดบรรทัดฐานการปฏิบัติและส่งผลต่อพฤติกรรมเหมาะสมในแต่ละสถานการณ์”

      บรรยากาศเป็นความรู้สึกขององค์การ ปัจเจกบุคคลและการร่วมปันการรับรู้ ตลอดจนเป็นเจตคติของสมาชิกต่างๆในองค์การ ในขณะที่วัฒนธรรมเป็นธรรมชาติที่ลงรากลึกอยู่ในองค์การ เป็นผลจากระบบต่างๆที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการระยะยาว กฎเกณฑ์ ธรรมเนียมและประเพณี  บรรยากาศ เป็นปรากฏการณ์ระยะสั้น  เกิดจากภาวะผู้นำในปัจจุบัน บรรยากาศเป็นสิ่งที่เป็นตัวแทนความเชื่อ เกี่ยวข้องกับ “ความรู้สึกขององค์การ”มาจากความเชื่อของคนซึ่งเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นในองค์การ กิจกรรมต่างๆเหล่านี้มีอิทธิพลทั้งปัจเจกบุคคล และแรงจูงใจของทีมและความพึงพอใจด้วย รวมทั้งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้ 

      _ผู้นำกำหนดเป้าหมายและอันดับความสำคัญอย่างไรในองค์การความคาดหวังของเราคืออะไร

      _ระบบที่ได้รับการยอมรับ รางวัลและการลงโทษในองค์การทำอะไรกันบ้าง

      _ สมรรถภาพของผู้นำเป็นอย่างไร

      _ผู้นำมีอิสระในการตัดสินใจหรือไม่

      _อะไรจะเกิดขึ้นถ้าทำผิดพลาด

      บรรยากาศองค์การมีผลโดยตรงจากภาวะผู้นำ และสไตล์การบริหารของผู้นำ บนพื้นฐานของผู้นำ คุณลักษณะ ทักษะต่างๆและการปฏิบัติและรวมไปถึงสิทธิพิเศษของผู้นำ บรรยากาศทางจริยธรรม นั่นก็คือ “ความรู้สึกขององค์การ” เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆที่มีเน้ือหาทางด้านจริยธรรม หรือความคาดหวังในสิ่งแวดล้อมของงาน ซึ่งทำให้เกิดผลทางจริยธรรม บรรยากาศทางจริยธรรมเป็นความรู้สึกที่เกี่ยวกับว่า เราทำสิ่งต่างๆให้ถูกต้องหรือความรู้สึกที่ว่าเรามีพฤติกรรมไปตามวิถีทางที่ควรปฏิบัติอย่างนั้น พฤติกรรม(คุณลักษณะ)ของผู้นำเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีผลกระทบต่อบรรยากาศอีกด้านหนึ่ง วัฒนธรรมเป็นปรากฏการณ์ที่ซับซ้อนและยาวนาน วัฒนธรรมเป็นตัวเเทน การร่วมปันความคาดหวัง และภาพลักษณ์ขององค์การ ค่านิยมที่สมบูรณ์แบบ ทำให้เกิด “ธรรมเนียมประเพณี  ”และเป็น “วิถีขององค์การ” วิสัยทัศน์ร่วมหรือวิถีประชา ซึ่งกำหนดในสถาบันเป็นสิ่งสะท้อนวัฒนธรรม ผู้นำแต่ละคนไม่อาจทำให้เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมอย่างง่ายดาย เพราะวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งขององค์การวัฒนธรรมมีอิทธิพลต่อคุณลักษณะต่างๆของบรรยากาศ ซึ่งมีผลจากการปฏิบัติและกระบวนการ การคิดของผู้นำแต่ทุกสิ่งที่ทำให้ฐานะผู้นำจะมีผลต่อบรรยากาศขององค์การ

หมายเลขบันทึก: 511778เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ธันวาคม 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท