อบรม เพื่อนผู้ให้คำปรึกษา Youth Counselor ตอนที่ 3 : ทักษะชีวิต อาวุธที่มองไม่เห็น : การจัดการอารมณ์ การแก้ปัญหา และการปฏิเสธ


ทักษะชีวิต ตัวต่อมา คือทักษะการจัดการอารมณ์กับความเครียด


เรื่องนี้ เป็นสิ่งที่น้อง ๆ หรือคนทุกคนต้องเจอบ่อย ๆ 

เริ่มจากเราให้ความหมายของคำว่า อารมณ์ก่อนว่าหมายถึงอะไร ( ต้องมีสิ่งมากระตุ้นก่อนแล้วเราถึงจะมีปฏิกิริยาออกไป ) ยกตัวอย่างเหตุการณ์ และให้เขาวิเคราะห์ทางเลือกว่า จะปฏิบัติอย่างไรกับสิ่งที่เกิดขึ้น และสังเกตผลกระทบ

สำหรับเรื่องของอารมณ์นี้มีทั้งด้านบวก ( สนุก ดี มีความสุข ) และด้านลบ ( เศร้า เหงา เบื่อ เกลียด โกรธ)

ทักษะเรื่องนี้ คือ

อันดับแรก เข้าใจก่อนว่า การมีอารมณ์เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้หลังจากที่เราได้รับสิ่งที่มากระทบ

ต่อมา เราต้องใช้สมองคิดว่า สิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เรารู้สึกอย่างไรกับมัน ( เพื่อยับยั้งกลไกการทำงานของสมองไม่ให้ส่วนที่ทำงานด้านอารมณ์ทำงานไปเรื่อย ๆ เราต้องคิด วิเคราะห์เพื่อเป็นการหยุดอารมณ์นั้นก่อน )

เมื่อเราเริ่มรู้ ( มีสตินั่นแหละ ) ว่า " เรากำลังรู้สึกอย่างไร " *** ตรงนี้สำคัญมาก ๆ นะ ขอย้ำกับน้อง ๆ 

ให้เราคิดต่อไปอีกนิดว่า " แล้วเราควรจะทำอย่างไรต่อไปดี"  ( โดยเฉพาะอารมณ์ด้านลบ ) เพื่อให้อารมณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเบาลง หายไป ซึ่งตรงนี้มีได้หลายวิธี  

ถ้าเราโกรธ เราตบกันดีมั้ย หรือจะนับ 1 - 10 หายใจลึก ๆ เดินหนีไป ออกไปชกลม วิ่ง อาบน้ำ หรือทำอะไรก็ได้ที่เป็นการระบาย แต่ไม่ทำให้ใครเดือดร้อน

ถ้าเราเหงา เศร้า เราจะอยู่คนเดียว  นั่งซึม นั่งร้องไห้อย่างนี้ หรือเราควรไปหาอะไรทำ โทรหาเพื่อน ....

แล้วสุดท้ายก็ลงมือทำ

จบด้วยการตรวจสอบอารมณ์ที่เกิดขึ้นอีกครั้ง

เรื่องนี้ต้องมีการฝึกบ่อย ๆ เพื่อให้สมองเราเกิดเส้นทาง เมื่อใดที่เราเกิดอารมณ์ขึ้นมา จะได้ไวในการจับความรู้สึก จะได้ปฏิบัติถูก


ทักษะต่อมา

คือทักษะการแก้ปัญหา


เรื่องนี้ เราสามารถใช้ลูกเล่นได้เยอะ หากิจกรรมมาให้เด็ก ๆ ช่วยแก้ปัญหาก่อน แล้วก็เฉลย

หลังจากนั้นก็ใส่เนื้อหาเข้าไปว่า

หลักในการแก้ปัญหา ( สากล ) ที่เขาสามารถนำไปใช้ได้กับทุกเรื่อง แม้จะขณะเป็นวัยรุ่น หรือโตเป็นผู้ใหญ่แล้วก็คือ

เมื่อมีปัญหา ก่อนอื่นต้องมีสติดี หมายถึง ให้ตัวเองได้ผ่อนคลายความเครียดทั้งหมดก่อน อาจใช้วิธีการคลายเครียดอะไรก็ได้

1. การพิจารณาทางเลือกในการแก้ปัญหาให้มากที่สุด ซึ่งถ้าเป็นเด็ก ๆ ทางเลือกก็มีไม่มาก เช่น ไป ไม่ไป เอา ไม่เอา ทำ ไม่ทก

2. แต่ละทางเลือกที่มี ให้พิจารณาข้อดีข้อเสีย ของทุกทางเลือก

3. เลือกทางที่ข้อเสียนั้นเราจัดการได้ หรือยอมรับได้

4. ลงมือทำ

5. ประเมินผล และยอมรับ

เรายกตัวอย่างให้เขาช่วยกันคิด เรื่อง ถ้าเกิดตั้งท้องในวัยเรียน จะทำอย่างไร น้อง ๆ ก็ช่วยกันคิดนะ

ทางเลือกมี 2 ทาง คือ ทำแท้ง กับเก็บเด็กไว้

ถ้าทำแท้ง ข้อดีคือ ไม่เสียอนาคต บางทีพ่อแม่ไม่รู้

ข้อเสีย คือ บาป อาจตาย เปลืองเงิน

ถ้าเก็บเด็กไว้ 

ข้อดี คือได้เรียนต่อ ไม่บาป ไม่ตาย

ข้อเสีย คือถูกพ่อแม่ดุ โดนประนาม ไม่ได้เรียนต่อ 

แล้วทีนี้ให้น้อง ๆ พิจารณาว่า ข้อเสียอันไหนที่เขารับได้ ส่วนใหญ่เด็กก็จะเลือกเก็บเด็กไว้ทั้งนั้น เพราะเห็นว่าข้อเสียยังพอรับได้ 

แค่นี้เขาก็พอมองเห็นลู่ทางในการแก้ปัญหาแล้ว

ทักษะสุดท้าย คือทักษะการปฏิเสธ ( สอนอันนี้สนุกที่สุด )


เราได้บอกหลักการปฏิเสธไป คือ

1. แสดงความรู้สึกออกไป(อย่าใช้เหตุผล ) เช่น ฉันไม่สบายใจ กลัวแม่เป็นห่วงถ้ากลับบ้านดึก

2. ปฎิเสธ ( ด้วยท่าทาง น้ำเสียง จริงจัง ) เช่น ขอไม่ไปนะ

3. ถามความเห็น เช่น เธอคงเข้าใจนะ เธอคงไม่ว่าอะไรนะ

และถ้าเพื่อนยังเซ้าซี้

1. ปฏิเสธซ้ำ ( ไม่ต้องบอกเหตุผลใด ) เช่น ไปไม่ได้จริง ๆ แค่นี้นะ

2. เดินหนี

3. หรือต่อรอง ไว้คราวหน้า

และเมื่ออธิบาย และยกตัวอย่างแล้ว เราก็มีเหตุการณ์ให้เด็ก ๆ แล้วให้เขาจับกลุ่มแสดงละคร เกี่ยวกับการปฏิเสธ

ซึ่งตรงนี้ เด็ก ๆ ทุกคนต้องนำหลักการไปแสดง มีการเขียนบทแต่งเรื่องราว และแสดง ได้อารมณ์และสนุกมาก

และสุดท้าย เรายังให้เด็ก ๆ โหวตเลือกกลุ่มที่แสดงได้ถูกใจเขา และมอบรางวัลให้ด้วย

เป็นการจบฉากความรู้เรื่องทักษะชีวิตได้อย่างสวยงามจริง ๆ 

โปรดติดตามตอนต่อไป เรื่อง หลักการให้คำปรึกษาเพื่อน

หมายเลขบันทึก: 510979เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2012 23:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท