Walk My Way หัวใจของผม...บริสุทธิ์


Walk My Way
หัวใจของผม...บริสุทธิ์



(อ้างอิงรูปภาพจาก : http://www.madu-dvd.com/catalog.php?idp=1673 )
 
             จากที่ดิฉันได้รับชมภาพยนต์เรื่อง "Walk My Way  หัวใจของผม...บริสุทธิ์" ที่ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในราวิชาการศึกษาเเบบเรียนรวม  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ดิฉันคิดว่าภาพยนต์เรื่องนี้เป็นภาพยนต์อีกเรื่องหนึ่งที่ให้ข้อคิดและทัศนคติที่ดีมากๆ  สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันของผู้ที่รับชมได้อย่างดีเยี่ยม  ทั้งในส่วนของผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรงกับผู้ป่วยออทิสติก  เพื่อใช้แนวคิดที่ได้ปรับทัศนคติ  และปรับตัวให้เข้ากับผู้ป่วยได้   และที่สำคัญในส่วนของคุณครูหรือผู้ที่กำลังศึกษาเพื่อประกอบวิชาชีพครู  เพื่อนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  เพื่อทำความเข้าใจกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ  สอนให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีสุข
เรื่องย่อ
             เทรุอากิเป็นชายหนุ่มอายุ 31 ปีที่มีอาการออทิสติค เขาสามารถท่องรายชื่อผู้ชนะรายการตูเดอฟรองซ์ได้ หรือ จำคำพูด ทวนประโยคใดประโยคหนึ่งซ้ำ ๆ ได้โดยไม่ผิดเพี้ยน แต่เมื่อเป็นคำถามตรรกะ หรือ คำถามที่มีลักษณะเป็นนามธรรม เช่น สบายดีไหม ? ไปไหนมาเหรอ ? เทรุอากิกลับตอบไม่ได้ ความสามารถทางสติปัญหาเท่ากับเด็กสิบขวบเท่านั้น สิ่งเหล่านี้เป็นปัญหาให้เทรุอากิมากมาย คนรอบข้างเข้าใจผิด การดำเนินชีวิตดูจะลำบากยากเข็น  เพราะ อาการออทิสติคดูท่าทางไม่ได้เป็นโรคที่ทำให้สภาพร่างกายทรุดโทรมน่าสงสาร เหมือนกับโรคอื่น ๆ อาการของเทรุอากินั้นทำให้เขาไม่เหมือนกับคนธรรมดาทั่วไปในเรื่องการดำเนิน ชีวิต หรือ มุมมองต่อโลกใบนี้ ทำให้โลกของเทรุอากิ และ คนทั่ว ๆ ไปคล้ายแยกออกจากกัน
              แต่การดำเนินชีวิตของเทรุอากิ มุมของของเทรุอากิต่อโลกภายนอก บางครั้งบางครากลับกลายเป็นมุมมองที่สดใหม่ เหมือนเป็นคำแนะนำไร้เสียงให้กับคนรอบข้าง เป็นตัวอย่างของการมองชีวิตอีกรูปแบบหนึ่ง ที่เพียงแต่แปลกแต่ไม่ได้ผิดที่ตรงไหน ซึ่งค่อนข้างต่างจากซีรีย์ที่มีแกนหลักเกี่ยวกับโรคร้ายทั่ว ๆ ไปซึ่งมักจะเน้นที่อาการป่วย เน้นที่การเปลี่ยนแปลงสภาพร่างกาย แต่เรื่องนี้กลับชี้ให้เห็นว่าคนที่เรียกตัวเองว่าคนปกติสมบูรณ์นั้น ... ยังมีอะไรที่ต้องเรียนรู้อีกมากมายจากคนที่เราตัดสินว่าเขาต่างจากเรา

               น้ำตาที่มีให้เทรุอากิไม่ได้มาจากความสงสาร หรือเห็นใจ แต่มีให้เพราะชื่นชมในความกล้าหาญที่เดินชนปัญหา และ โลกภายนอก การเติบโต และ เป็นอิสระสำหรับผู้ที่มีอาการออกทิสติคนั้นออกจะยาก แต่เทรุอากิก็สรรหาวิธีการรับมือกับโลกภายนอก และ ก้าวไปในหนทางของตัวเอง (อ้างอิงเรื่องย่อจาก : http://www.thaipr.net/general/265779)

-----------------------------

พฤติกรรมของออทิสติกที่พบในเรื่อง

       1.  ทำกิจกรรมความสนใจที่ซ้ำๆ ยากต่อการเปลี่ยนแปลง เช่น กินอาหารแต่เพียงบางอย่างซ้ำๆ  ในเรื่องเทรุอากิ  ชอบกินแกงกระหรี่ไก่  กิริยาบางอย่างซ้ำๆซากๆ เป็นต้นว่า พูดประโยคเดิมซ้ำๆ เป็นประโยคที่เหมือนเดิมเปะ   กิจกรรมความสนใจเหล่านี้สะท้อนออกซึ่งความผิดปกติ

       2.  มีความฉลาด ไอคิวสูง  แต่ไม่สามารถเข้ากับสังคมได้  มีปัญหาด้านการสื่อสารและการสื่อความหมาย  ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง  โดยปกติคนทั่วไปจะเรียนรู้การสื่อสารและท่าทางการแสดงออจากคนรอบข้าง  แต่ผู้ป่วยออทิสติกจะความสนใจที่หมกหมุ่นซ้ำซากดังที่กล่าวข้างต้น  จนปิดกั้นและจำกัดพวกเขาจากการสังเกตุผู้คนรอบข้าง  เมื่อไม่สังเกตไม่สนใจก็ไม่เกิดการเลียนแบบ ถ้าไม่ได้รับการฝึกฝนจะทำให้ผู้ป่วยออทิสติกไม่สามารถสื่อสารได้

      3.  การสูญเสียทางด้านสังคม  เมื่อไม่รู้ภาษาไม่รู้การแสดงออกทางสังคมทำให้ไม่สามารถเข้ากับสังคมได้  เป็นปัญหาที่สำคัญมากที่ควรได้รับการดูแลฝึกฝน 

 พฤติกรรมของบุคคลรอบข้างที่ควรปฏิบัติ

     1.  เข้าใจในความผิดปกติของผู้ที่มีอาการของออทิสติก  ว่าพฤติกรรมที่เขาแสดงออกเกิดจากความผิดปกติของสมอง  ไม่ใช่สิ่งที่เขาตั้งใจแสดงออกมา  โดยเฉพาะครอบครัว  รวมไปถึงบุคคลรอบข้างด้วย

     2.  ให้คำแนะนำช่วยเหลือ  เพื่อให้เขาสามารถพัฒนาตนเองได้  ควรให้คำแนะนำที่ชัดเจน  ไม่ควรใช้คำพูดที่คุมเคลือเพราะเขาจะไม่เข้าใจ  และไม่สามารถตอบคำถาม  หรือทำตามที่เราแนะนำได้

     3.  ไม่ควรใช้คำพูดที่บั่นทอนกำลังใจ เช่น  ทำไมแค่นี้ทำไม่ได้  หรือใช้คำพูตวาดเขา เพราะนอกจากจะไม่ทำให้เกิดการพัฒนาไปในทางที่ดีแล้ว  ยังส่งผลในทางลบกับผู้ที่มีอาการออทิสติกด้วย  ในทางตรงกันข้าม  ควรให้กำลังใจ  เมื่อเขาทำสิ่งที่น่าชื่นชมแม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อยก็ควรกล่าวชื่นชมเขา  เพื่อให้เกิดกำลังใจ  และกล้าที่จะพัฒนาตนเองต่อไป

              สิ่งที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยออทิสติกคือ  บุคคลรอบข้าง  คนในครอบครัว  ควรให้ความรักความเข้าใจ เอาใจใส่ให้มาก  แนะนำดูแลให้เขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้  และมีพัฒนาการที่ดีขึ้น  สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข    สังคมควรให้โอกาสบุคคลเหล่านี้ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมสังคมให้มากขึ้น  ให้โอกาสทางการศึกษา  โอกาสด้านการแสดงออก  ให้เขามีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  ดิฉันเชื่อว่าทุกสังคมต้องมีผู้ที่มีอาการออทิสติกอย่างแน่นอน  และยังเชื่ออีกว่าเป็นเรื่องที่ไม่ยากเกินไปที่คนรอบข้างจะทำให้เขาอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข  เพียงเริ่มที่ตัว "เรา" เปลี่ยนทัศนคติ  เปลี่ยนมุมมอง  เรียนรู้ที่จะปรับตัว  สังคมจะน่าอยู่อย่างแน่นอน
  


 

หมายเลขบันทึก: 510706เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2012 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 กรกฎาคม 2013 13:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท