กิจกรรมบำบัดศึกษา – การใช้ ICF เพื่อการบำบัดรักษา


ทบทวนเรื่อง ICF ( International Classification of Functioning, Disability and Health)

เป็น บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงานความพิการและสุขภาพ ใช้อธิบายสุขภาพในมิติการทำงานของร่างกาย โครงสร้าง กิจกรรม และการมีส่วนร่วม

        ICF สนใจใน 3 มิติ คือ การรักษาร่างกาย การทำกิจกรรม และการมีส่วนร่วม (ซึ่งการทำกิจกรรมและการมีส่วนร่วมนั้นจัดเป็น area of occupation ) ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่เราสนใจนั้นประกอบไปด้วย ทางกาย ทางสังคม และทางความคิด

        จากการได้เรียนเกี่ยวกับ ICF แล้ว ในวันนี้อาจารย์ป๊อบได้ยกตัวอย่างกรณีของผู้ป่วย 3 กรณี ดังนี้

กรณีที่ 1 คนไข้เป็นโรคหัวใจมีเครื่องหมาย ICF code ว่า หัวใจโตเกินไป ทำ ADL ไม่ได้ มีสิ่งแวดล้อมในบ้านไม่เหมาะสม

กรณีที่ 2 คุณยายเป็นโรคมะเร็ง จะตายภายใน 3 เดือนนี้ อยู่โรงพยาบาลตลอด

กรณีที่ 3 นักศึกษาปีที่ 1 ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ แต่อยากเป็นหมอ

จากนั้นอาจารย์ให้วิเคราะห์ 3 กรณีนี้โดยใช้ ICF ที่เรียนมาประกอบ โดยดิฉันวิเคราะห์ในแต่ละกรณีได้ดังนี้

กรณีที่ 1 วิเคราะห์ถึงความบกพร่องของร่างกาย ว่าเกิดจากอะไรประเมินถึงกิจกรรมที่ทำ ว่าทำกิจกรรมได้มากน้อยเพียงใด อาจจะต้องทำการปรับสิ่งแวดล้อมภายในบ้านเพื่อให้ตรงกับความต้องการของเขา ในการทำกิจกรรมของเขาเองอาจจะมีอุปกรณ์เสริมมาช่วยในการผ่อนแรงในการทำกิจกรรม เพื่อไม่ให้คนไข้เหนื่อยง่าย และส่งผลในการทำกิจกรรมของคนไข้ได้สะดวกขึ้น และนอกจากปรับสิ่งแวดล้อมภายนอกแล้ว ต้องปรับสิ่งแวดล้อมภายในด้วย อย่างเช่น การปรับสิ่งแวดล้อมภายในตัวเอง คือจิตใจ อาจจะประเมินความสุขในการทำกิจกรรมของเขา เพื่อนำมาวางแผนกิจกรรมการรักษาต่อไป เราควรปรับให้ทุกอย่างสมดุลกันทั้งหมด

กรณีที่ 2 ในกรณีนี้ควรปรับสิ่งแวดล้อมทางจิตใจของผู้ป่วย ให้ญาติผู้ป่วยให้กำลังใจผู้ป่วย เพื่อกระตุ้นให้มีกำลังใจที่จะอยู่ต่อไป ใช้เวลาที่เหลืออยู่ให้คุ้มค่าที่สุด หากิจกรรมที่คุณยายชอบ ที่คุณยายสนใจที่จะทำ เพื่อไม่ให้ต้องคิดมาก มองที่ความสุขในการใช้ชีวิตของคุณยาย ปรับสิ่งแวดล้อมให้คุณยายไปเจอกับโลกภายนอก ไม่อยู่แต่ในโรงพยาบาล

กรณีที่ 3 ควรพิจารณาถึง body function ว่าเขาบกพร่องในเรื่องอะไร และอาจจะดูถึงพฤติกรรมของเขา จากนั้นหากิจกรรมให้เขาได้รู้จักตนเอง มองสิ่งที่ทำว่าส่งผลดีหรือผลเสียต่อตนเอง ต่อผู้อื่นอย่างไร อาจจะหากิจกรรมที่ทำให้เขาใจเย็นขึ้น  เปลี่ยนทัศนคติ อยากให้เห็นถึงคุณสมบัติของหมอ ถ้าเขาทำไม่ได้ก็ไม่สามารถเป็นหมอได้ อธิบายถึงเหตุ ถึงผลให้เขาเข้าใจ อาจจะถามความต้องการที่แท้จริงของเขาว่าอยากจะเป็นหมอเพราะอะไร ให้รู้ถึงเจตจำนงที่แท้จริงของตนเอง และใช้เจตจำนงที่เขามีอยู่เป็นตัวกระตุ้น นอกจากนั้น ควรจะดูจากสิ่งแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในของเขา สิ่งแวดล้อมภายนอกอย่างเช่น ครอบครัวของเขา ว่ามีปัญหาไรในครอบครัวหรือไม่ ควรให้กำลังใจ และคอยดูแลเขาออย่างใกล้ชิด

คำสำคัญ (Tags): #icf#กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 510657เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2012 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 23:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากๆ มาเขียนบ่อยๆนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท