ครูต้นแบบในอุดมคติ (1)



ครูต้นแบบในอุดมคติ

              “ครู” หมายถึง ผู้จัดการเรียนรู้ หรือจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ .ศ .2542 หมวด 4 มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า  ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถ เรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด เนื่องจากครูได้ นำเอานวัตกรรมและเทคนิควิธีการใหม่ๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้จนเป็นที่เชื่อถือและยอมรับของเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา

               ดังนั้นจึงเป็นที่มาของคำว่าครูต้นแบบในด้านการปฏิรูปการเรียนรู้ และทำหน้าที่พัฒนาเครือข่าย           ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญหรือด้านการจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ รวมถึงด้านการพัฒนา   หลักสูตรสถานศึกษาแก่เพื่อนครูในโรงเรียน จะมีครูซักกี่คนที่ได้เป็นครูต้นแบบดังที่เรานึกคิด 



                ครูต้นแบบ หมายถึง ครูแกนนำดีเด่นมีการพัฒนาเครือข่าย เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเป็นต้นแบบปฏิรูปการเรียนรู้ ด้านการจัดการเรียนรู้ หรือด้านการจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษา รวมทั้งด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา โดยมีผลงานเป็นแบบอย่างและมีผลการพัฒนาเครือข่ายในโรงเรียน และ/หรือเขตพื้นที่การศึกษา และ/หรือจังหวัดอย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ โดยผ่านเกณฑ์      การประเมิน การพัฒนาครูต้นแบบเป็นยุทธศาสตร์ปฏิรูปการเรียนรู้ของศึกษา โดยใช้ครูเป็นฐาน ใช้ศักยภาพครูในพื้นที่เน้นการพัฒนาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจากการปฏิบัติจริง เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงเจตคติและพัฒนาการเรียนการสอนอย่างถาวร ซึ่งจะเป็นกระบวนการพัฒนาครูที่ยั่งยืนและสามารถเข้าถึงครูอย่างรวดเร็ว 



                  จากความหมายครูต้นแบบข้างต้นจะเห็นว่าในการจะเป็นครูที่ดีได้นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเพียบพร้อมทั้งในด้านความรู้ควบคู่กับคุณธรรม ดัง พระบรมราโชวาท ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร                  มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เมื่อวัน 24 เดือนมิถุนายน พุทธศักราช 2532 ที่ว่า.....ส่วนครูนั้น ควรจะได้ฝึกฝนตนเองให้แตกฉานและแม่นยำ ชำนาญ ทั้งในวิชาความรู้และวิธีสอน เพื่อสามารถสอนวิชาทั้งปวงได้ อย่างถูกต้อง กระจ่างแจ้งและสมบูรณ์ครบถ้วน อีกข้อหนึ่ง จะต้องมี ความสุจริตซื่อตรง สุภาพเรียบร้อย อยู่ในระเบียบวินัย       ขยันอดทนและเมตตากรุณา ซึ่งจะต้องนำมาปฏิบัติให้เห็นชัดในหน้าที่โดยสม่ำเสมอ ศิษย์จะได้เห็นได้เข้าใจแจ่มแจ้งลึกซึ้งถึงความรู้และความดีของครู แล้วมีศรัทธายึดถือเชื่อฟังด้วยเต็มใจ ก็จะทำให้งานให้การศึกษาที่แต่ละคนอุตส่าห์ กระทำมาด้วยความเหน็ดเหนื่อยนั้น ดำเนินก้าวหน้าไปได้ด้วยความสะดวกราบรื่นบรรลุผลอันสมบูรณ์บริบูรณ์น่าพึงพอใจสมเจตนา.....


                   

ครูต้นแบบ เป็นบุคคลที่ได้รับการยกย่องจากผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานต้นสังกัดในการจัดการเรียนรู้หรือการจัดกิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4 การพัฒนาตน การครองตน รวมถึงด้านการประสานงานชุมชน ซึ่งเกียรติภูมิที่ได้รับนั้นย่อมเป็นคุณค่าทางจิตใจที่ประมาณราคามิได้ โดยเฉพาะเมื่อครูแกนนำ ครูต้นแบบได้มีโอกาสเผยแพร่ผลงาน ความรู้     ความสามารถในวิชาชีพตน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับบุคคลต่าง ๆ ตลอดจน ได้แนะนาช่วยเหลือเพื่อนครูอื่น ๆ ตามความเชี่ยวชาญของตน ก่อให้เกิด ความมั่นใจในความรู้ความสามารถ และศักยภาพของตนที่มีอยู่


อ้างอิงบทความของ : บุญยืน ทูปแป้น  มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย

คำสำคัญ (Tags): #ครูต้นแบบ#“ครู”
หมายเลขบันทึก: 510274เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2012 20:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 19:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท