ตกงาน_ทำร้ายหัวใจเรา


 

.

สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง Jobless 'face increased heart attack risk =
"(ภาวะ)ตกงานเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจกำเริบ", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

การศึกษาใหม่จากสหรัฐฯ (ตีพิมพ์ใน Archives of Internal Medicine) ทำในกลุ่มตัวอย่างคนตกงานอายุ 50s (= 50-59 ปี) & 60s (= 60-69 ปี) จำนวนมากกว่า 13,000 คน ติดตามไปเกือบ 20 ปี

.

ผลการศึกษา พบว่า การตกงานเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจมากพอๆ กับการสูบบุหรี่ โดยเพิ่มตั้งแต่ 3 เดือนแรก และเพิ่มเสี่ยงมากขึ้นตามระยะเวลา คือ ยิ่งตกงานนาน-ยิ่งเสี่ยงโรคหัวใจ

.

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า งานเครียดๆ (stressful job) เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจได้

มูลนิธิโรคหัวใจอังกฤษ (BHF) แนะนำว่า ความเครียดไม่ได้เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจโดยตรง

.

ทว่า... น่าจะเพิ่มเสี่ยงทางอ้อม เช่น "เครียด-เศร้า-เหงา-เซง" ทำให้กินมากขึ้น นอนน้อยลง ออกแรง-ออกกำลังน้อยลง นั่งนานขึ้น

.

การศึกษาใหม่พบว่า ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจได้แก่

  • สูบบุหรี่
  • น้ำหนักเกิน
  • ออกแรง-ออกกำลังน้อย หรือไม่ออกกำลังเลย
  • สูงอายุ
  • ความดันเลือดสูง
  • เบาหวาน

.

ถ้าตัดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ออกไป, การตกงานเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจดังนี้

  • ตกงานครั้งแรก > เพิ่มเสี่ยง 27%
  • ตกงานครั้งที่ 4-5 > เพิ่มเสี่ยง 63%

ถ้าตัดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ออกไป, การสูบบุหรี่เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ = 44%

.

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ทักษะอย่างหนึ่งที่คนเราควรพัฒนาไว้ ไม่ว่าจะตกงานหรือไม่ คือ การออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ เช่น เดินให้บ่อย เดินให้เร็วขึ้น ปั่นจักรยาน ขึ้นลงบันไดตามโอกาส ฯลฯ

.

.

การออกแรง-ออกกำลังเป็นประจำ ยังคงเป็นวิธีคลายเครียดที่ดีมากในคนส่วนใหญ่ ทำได้ง่าย และทำได้ทุกวันด้วย

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 20 พฤศจิกายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.


หมายเลขบันทึก: 510104เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2012 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท