จุดที่สะอาดน้อยที่สุดในบ้านเรา


 

.

สำนักข่าว BBC ตีพิมพ์เรื่อง 'Is the toilet seat really the dirtiest place of the home?'
= "ที่นั่งส้วมเป็นที่ที่สกปรกที่สุดในบ้านจริงไหม", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

.

ศ.ดร.ชัค เกอร์บา จากมหาวิทยาลัยอะริโซนา สหรัฐฯ ทำการศึกษาแหล่งเชื้อโรคในบ้านคนอเมริกัน

.

การศึกษา นี้เน้นตรวจหาเชื้อ "อี. โคไล (E. coli)" ที่พบมากในลำไส้ใหญ่-อุจจาระ (อึ) ซึ่งใช้เป็นตัวชี้วัดการปนเปื้อนที่ดี และเชื้อ "สตาฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus)" หรือเชื้อที่ทำให้เกิดอาหารเป็นพิษ ฝีหนอง ปอดบวม ฯลฯ

.
ผลการศึกษาพบว่า ส่วนต่างๆ ในบ้านมีเชื้อมากน้อยไม่เท่ากันดังนี้ (หน่วยแบคทีเรียก = ตัวต่อตารางนิ้ว)

  • ที่นั่งชักโครก = 50
  • เขียง (cutting board) = 10,000
  • ผ้าเช็ดจาน (dishcloth) = 1,000,000
  • ฟองน้ำล้างจาน (sponge) = 10,000,000

ศ.จอฮ์น ออกซ์ฟอร์ด จากมหาวิทยาลัยลอนดอน กล่าวว่า ฟองน้ำล้างจานเป็นแหล่งแพร่เชื้อที่พบบ่อยทั่วโลก

.

การศึกษาใหม่ เก็บตัวอย่างของใช้ในบ้านจาก 9 ประเทศ พบว่า ผ้าเช็ดจานในครัว 21% ปนเปื้อนเชื้อโรค

.

ผลการศึกษาพบเชื้อ E. coli ที่ตู้เย็น 95% ในซาอุดี อาระเบีย

.

ทว่า... ในอาฟริกาใต้กลับพบเชื้อ E. coli ปนเปื้อนที่จุกอุดอ่างอาบน้ำมากเกือบ 2/3, และพบเชื้อรา 40% ทำให้เรารู้ว่า แต่ละประเทศมีจุดสะอาด-สกปรกต่างกัน โดยแคนาดากับออสเตรเลียได้คะแนนนำด้านความสะอาด

.

.

เรื่องของเรื่อง คือ พื้นที่ที่คนคิดว่า สะอาด เช่น ผิวโต๊ะด้านบน (desktop) มักจะมีเชื้อมากเป็น 400 เท่าของที่นั่งชักโครก
รถเข็นช็อปปิ้งซูเปอร์มาร์เก็ตมักจะไม่สะอาด, ถุงลดโลกร้อนแบบที่นำไปใช้ซื้อของที่ร้านของชำหลายครั้งปนเปื้อนเชื้อโรคประมาณ 1/2

.

เชื้อ อี. โคไล มักจะใช้เป็นตัวชี้วัดว่า มีการปนเปื้อนเชื้อจากอุจจาระ (อึ) หรือไม่

.

วิธีป้องกันเชื้อโรคที่บ้านได้แก่

.

(1). ทำที่ล้างมือด้วยสบู่ไว้หน้าบ้าน > ล้างมือก่อนเข้าบ้านทุกคนทุกครั้ง

.

(2). ล้างมือด้วยสบู่ หรือถูมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ 20 วินาทีขึ้นไป > ก่อนกินอาหาร-ดื่มน้ำ-ก่อนนอน, หลังใช้ห้องน้ำ-ของใช้ร่วมกับคนอื่น-สัมผัสหรือเล่นกับสัตว์เลี้ยง

.

(3). ใช้ฟองน้ำล้างจานอย่างน้อย 3 ชิ้นหมุนเวียนกัน, นำฟองน้ำล้างจานออกไปตากแดด-ตากลม

.

ฟองน้ำ 3M มีห่วงสำหรับแขวนกับไม้แขวนเสื้อได้, ถ้าไม่มีห่วง... ให้ใช้สายเอ็นพลาสติก หรือเชือกร้อยก่อนแขวนไว้นอกบ้าน

.

ถ้าไม่มีโอกาสนำฟองน้ำไปตากแดด-ตากลม, ให้นำไปต้มทุกสัปดาห์ ทิ้งไว้ในน้ำที่ต้มจนเย็น ก่อนบิดน้ำทิ้ง

.

ทิ้งฟองน้ำที่ใช้นานเกิน 1 เดือนไป (แนะนำให้ใช้รองกระถาง หรือฝังไว้ที่โคนต้นไม้ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ต้นไม้)

.

(4). ใช้เขียงพลาสติก และทำความสะอาดก่อนใช้ทุกครั้ง (ฟอกด้วยน้ำยาล้างจาน)

.

หลังใช้เขียงหั่นเนื้อหรือเครื่องในสัตว์, ให้รีบทำความสะอาดทันที

.

(5). ใช้ฟองน้ำล้างจานฟอกผิวไข่ เปลือกผลไม้ก่อนนำไปปรุงอาหารทุกครั้ง (เชื้อท้องเสียติดมากับไข่ เปลือกผลไม้ได้)

.

(6). หลีกเลี่ยงการกินไข่ที่ไม่สุกและไ่ข่ดิบ เพื่อป้องกันเชื้อท้องเสียที่ติดมากับไข่

.

(7). ทำความสะอาดโต๊ะ คีย์บอร์ด-เมาส์คอมพิวเตอร์ ลูกบิดประตู ที่เปิด-ปิดตู้เย็น ลูกบิดประตูเป็นประจำ

.

.

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

> [ Twitter ]

  • Thank > http://www.bbc.co.uk/news/magazine-20324304
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 20 พฤศจิกายน 55. ยินดีให้ท่านนำบทความไปใช้ได้ โดยอ้างที่มา และไม่จำเป็นต้องขออนุญาต... ขอบคุณครับ > CC: BY-NC-ND.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค; ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูง จำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.


หมายเลขบันทึก: 510103เขียนเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2012 17:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 ธันวาคม 2012 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท